นักวิจัยจากเกษตรศาสตร์พบ 'หมึกยักษ์นักพราง' ครั้งแรกในประเทศไทย เป็นพวกหากินตอนกลางวัน ชาญฉลาดในการหลอกล่อเหยื่อ
คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานในวารสาร Phuket Marine Biological Center Research Bulletinว่า สามารถจับตัวหมึกยักษ์ที่เรียกว่า mimic octopus ได้ในอ่าวไทย ที่ผ่านมา หมึกยักษ์ชนิดนี้พบในน่านน้ำของอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
การได้ตัวในครั้งนี้ช่วยให้นักชีววิทยาทางทะเลได้ศึกษาความสามารถในการพรางตัวของมันอย่างละเอียด โดยเฉพาะสีสันและพื้นผิว ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
แคเธอรีน ฮาร์มอน เคอเรจ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับหมึกยักษ์ บอกในเว็บบล็อกของนิตยสาร Scientific American ว่า จุดเด่นของหมึกยักษ์นักพราง คือ มันจะฝังหนวด 6 หนวดไว้ในพื้นทราย โผล่ออกมาแค่ 2 หนวด ทำให้ดูคล้ายงูทะเล
หมึกยักษ์นักพรางเป็นหมึกชนิดเดียวที่ออกหากินเวลากลางวัน สะท้อนว่ามันเชี่ยวชาญในการอำพรางตัวจากการรับรู้ของเหยื่อ.
Source : Scientific American