ในความหมายทางกายภาพ
การนอนหลับ หมายถึง
การที่บุคคลหนึ่งอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้สึกตัว แต่สามารถถูกปลุกให้ตื่นได้ด้วยการกระตุ้นประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ถ้าคุณยังรู้สึกตัวอยู่ หรือคุณไม่รู้สึกตัว และไม่สามารถถูกปลุกให้ตื่นได้ (เช่น ตอนเมา-kate) ก็หมายความว่า คุณไม่ได้นอนหลับ
ระดับของการนอน
การนอนแบ่งได้เป็นสองระดับแตกต่างกัน
ระดับแรก
เรียกว่าการหลับลึก การหลับในระดับคลื่นช้า หรือ การหลับแบบ non-REM การนอนหลับในระดับนี้เป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อน กิจกรรมของสมองส่วนกลางลดน้อยลง อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ระดับการหายใจ และการใช้พลังงานของร่างกายลดลงจากเวลาปกติประมาณ 30%
ระดับที่สอง เรียกว่า
การหลับแบบ REM (Rapid Eyes Movement- การเคลื่อนไหวของดวงตาขณะหลับ ซึ่งสมองสร้างกระแสไฟฟ้าโวลท์ต่ำ แต่มี activity สูง และสั่งการออกมาให้ดวงตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว-kate) ซึ่งการนอนหลับในระดับนี้จะมีช่วงของการฝัน และมีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดและการหายใจ
ผลการศึกษา EEG
(Electroencephalograph-การใช้ electrodes ติดกับหนังศรีษะของผู้นอนเพื่อวัดกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของสมอง-kate) พบว่า ในการนอนหลับระดับนี้ สมองมีกิจกรรมคล้ายกับเมื่อตื่น และการนอนหลับในระดับนี้ ผู้นอนจะรับรู้การกระตุ้นจากภายนอกได้น้อยกว่า (คือ ปลุกให้ตื่นได้ยากกว่านั่นเอง-kate)
การเปลี่ยนระดับการนอนหลับ
ในการนอนหลับ จะมีการเปลี่ยนระดับการหลับทั้งสองระดับไปมาตลอดระยะเวลาของการนอน ในช่วงชั่วโมงแรกของการนอนหลับ จะเป็นการหลับในระดับแรก คือการหลับลึก และต่อมาจะเปลี่ยนเข้าสู่การหลับระดับ REM ซึ่งมีช่วงเวลาสั้นกว่า (ตั้งแต่ประมาณ 5 นาทีขึ้นไป) และเปลี่ยนกลับมาสู่การหลับลึก วนเช่นนี้ตลอดคืน การนอนหลับ 8 ชั่วโมง จะเป็นการหลับในระดับ REM ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละคน
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์