ภาพเที่ยวบินสุดท้าย Concorde VS ปฐมบททะยานฟ้า Airbus A380

 

 

 

ภาพเที่ยวบินสุดท้าย Concorde VS ปฐมบททะยานฟ้า Airbus A380

 

เป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วสำหรับเครื่องบิน Concorde แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีเครื่องบินรุ่นใหม่มาทดแทนซึ่งโลกต่างตื่นเต้นกับ Airbus A 380
 
 
 
 
 ภาพอดีตของเครื่อง Concorde  ที่สนามบินเชียงใหม่
 
 
          ก่อนอื่นมารู้จักกับเครื่องบินที่กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้วคือ Concorde 
 
·         ผู้สร้าง: บริษัท บีเอซี/แอโรสปาติออง
 
·         ประเภท: เจ๊ตโดยสารความเร็วเหนือเสียง เจ้าหน้าที่ 3 นาย อัตราผู้โดยสาร 128 ที่นั่ง
 
·         เครื่องยนต์: เทอร์โบเจ๊ต รอลส์-รอยซ์/สเนคมา โอลิมปัส 593 หมายเลข 610 ให้แรงขับเครื่องละ 17,260 กิโลกรัม และเพิ่มแรงขับอีก 17% เมื่อใช้สันดาปท้าย จำนวน 4 เครื่อง พร้อมเครื่องเก็บเสียง และ อุปกรณ์กลับแรงขับ
 
·         กางปีก: 25.60 เมตร
 
·         ยาว: 62.17 เมตร
 
·         สูง: 12.19 เมตร
 
·         พื้นที่ปีก: 358.25 ตารางเมตร
 
·         น้ำหนักเปล่า: 78,700 กิโลกรัม
 
·         น้ำหนักบรรทุกปกติ: 11,340 กิโลกรัม
 
·         น้ำหนักบรรทุกสูงสุด: 12,700 กิโลกรัม
 
·         น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 185,065 กิโลกรัม
 
·         น้ำหนักร่อนลงสูงสุด: 111,130 กิโลกรัม
 
·         อัตราเร็วเดินทางขั้นสูง: 2.04 มัค (2179กิโลเมตร/ชั่วโมง)
 
·         อัตราไต่ที่ระดับน้ำทะเล: 1,525 เมตร
 
·         เพดานบินใช้งาน: ประมาณ 18,290 เมตร
 
·         อัตราเร็ววิ่งขึ้น: 397 กิโลเมตร/ชั่วโมง
 
·         อัตราเร็วร่อนลง: 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง
 
·         ระยะทางวิ่งขึ้นพ้น 10.7 เมตร: 3,410 เมตร
 
·         ระยะทางร่อนลงจาก 10.7 เมตร: 2,220 เมตร
 
·         พิสัยบิน: 4,900 กิโลเมตร เมื่อมีภารกรรมบรรทุกสูงสุด 7,215 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเชื้อเพลิงสูงสุด
          เครื่องบินคองคอร์ด เคยลงจอดที่ท่าอากาศยานกรุงเทพหลายครั้ง และเคยมีเที่ยวบินพิเศษ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2542
 
 
 
การบินเชิงพาณิชย์ของคองคอร์ด ดำเนินการโดยบริติชแอร์เวย์ (British Airways) และแอร์ฟรานซ์ (Air France) เริ่มต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1976และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และมีเที่ยวบิน “เกษียณอายุ” เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 เที่ยวบินลอนดอน-นิวยอร์ก และปารีส-นิวยอร์ก ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ยประมาณ 3.5 ชั่วโมง
 
 
 
เครื่องบินคองคอร์ด และเครื่องบินคู่แข่ง คือ ตูโปเลฟ ตู-144 มีข้อจำกัดในการออกแบบด้านพลศาสตร์ ซึ่งส่วนหัวของเครื่องบินจะต้องเชิดขึ้น ส่งผลให้ทัศนวิสัยของนักบินไม่ดี ผู้ออกแบบได้แก้ไขโดยเพิ่มกลไกปรับส่วนหัวของเครื่องบิน ให้กดลงมา เพื่อให้นักบินมองเห็นสนามบินขณะเครื่องบินขึ้น ลงจอด และขณะอยู่บนแทกซี่เวย์ ส่วนหัวของคองคอร์ดปรับทำมุมกดได้ 12.5°
 
 
เครื่องบินคองคอร์ด มีทั้งสิ้น 20 ลำ เป็นเครื่องที่ใช้ในการพัฒนา 6 ลำ ใช้งานเชิงพาณิชย์ 14 ลำ ตก 1 ลำ คองคอร์ดมีสถิติเกิดอุบัติเหตุตกเพียงครั้งเดียว คือ เที่ยวบิน 4590 ของแอร์ฟรานซ์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 หลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส มีผู้เสียชีวิต 113 คน
 
 


ผลการสอบสวนสรุปว่าสาเหตุการตก เนื่องจากมีชิ้นส่วนโลหะที่หลุดออกมาจากเครื่องบินดีซี-10 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ซึ่งบินขึ้นก่อนหน้านั้น 4 นาที กระแทกกับยางล้อด้านซ้ายของเครื่องเที่ยวบิน 4590 ขณะกำลังเร่งเครื่องเพื่อบินขึ้น ยางล้อเกิดระเบิดและมีชิ้นส่วนของยางกระเด็นไปกระแทกถังน้ำมัน และสายไฟ และเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น ในขณะนั้นเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้แจ้งนักบิน นักบินได้ตัดการทำงานของเครื่องยนต์ และพยายามยกเลิกการบินขึ้น แต่เครื่องบินเสียการทรงตัวและกระแทกพื้น เกิดการระเบิด ผู้โดยสาร 100 คน เจ้าหน้าที่บนเครื่อง 9 คน และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน 4 คน เสียชีวิต


มีการระงับการบินของคองคอร์ดทุกเที่ยวบินเพื่อสอบสวนหาสาเหตุและแก้ไข คองคอร์ดเที่ยวบินแรกหลังอุบัติเหตุ ทำการบินทดสอบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 และทำการบินพร้อมผู้โดยสารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 วันเดียวกับการเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544
 
ความตกต่ำของอุตสาหกรรมการบินหลังเหตุการณ์ 9/11 ทำให้แอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ ตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้งานเครื่องบินคองคอร์ดทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากมีผู้ใช้บริการน้อยและมีต้นทุนสูง
 
ภาพปฐมบทของ แอร์บัส A380
 
เครื่องบิน แอร์บัส A380 เป็นเครื่องบินห้องโดยสารสองชั้นขนาดใหญ่ ผลิตโดยแอร์บัสแอสอาแอส เครื่องบินสี่เครื่องยนต์ลำนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 800 คน หรือ 500 คนถ้าวางที่นั่งแบบ 3 ชั้นผู้โดยสารตามเครื่องบินพาณิชย์ปกติ เครื่องบินรุ่นนี้ได้ผ่านกำหนดการทดสอบการบินเที่ยวแรกในวันที่27 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบินขึ้นจากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และจะส่งมอบให้สายการบินพาณิชย์ต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2549
 
 
 
เที่ยวบินปฐมฤกษ์
 
 
 
 
 
ผู้คนต่างตื่นเต้น
 
 
สื่อสารมวลชนก็ให้ความสนใจมาก
 

 

 
เครื่องบินแอร์บัสรุ่นใหม่นี้ ในเบื้องต้นจะผลิตขาย 2 แบบด้วยกัน คือA380-800 เป็นแบบ 2 ชั้นสมบูรณ์แบบ สามารถจุผู้โดยสารได้ 555 คน ในชั้นท่องเที่ยว หรือถึง 800 คน ในชั้นประหยัด ในระยะการบิน 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กิโลเมตร) และแบบA380-800F เป็นเครื่องบินสำหรับบรรทุกโดยเฉพาะ บรรทุกสัมภาระได้ 150 ตัน สำหรับการบินระยะ 5,600 ไมล์ (10,400 กิโลเมตร)
 

 
สิ่งอำนวยความสะดวกเร้าใจ
 



เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศใน ยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย บริษัท BAE Systemsสร้างส่วนของปีก บริษัท CASA ของสเปน สร้างส่วนของแพนหาง บริษัท เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการ เองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent
 



สุดหรูและอำนวยความสะดวกเต็มที่


 
สิงคโปร์แอร์ไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และ บริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และPW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 ปอนด์ เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
 


 

 
 
 
 
ระบบไฮดรอลิกของ A380 จะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการใช้ระบบ 3000 psi. (ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน
 
 บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
 
o        บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง
 
o        บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่
 
o        บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน (evacuation systems) และระบบล้อประธาน (main landing gear) สำหรับ A380
 
o        บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัว
 
ลูกค้าที่สั่งจองเครื่องบินแอร์บัส A380 จำนวน 15 ราย ที่สั่งจองเครื่องบิน 154 ลำ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2548
 
 
 
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...