1. ส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ได้รับจะ มากจะน้อยให้นำไปฝากเข้าบัญชีธนาคารทุกๆ เดือนแล้วอย่าไปยุ่งกับบัญชีนั้นเด็ดขาด ถ้าจำเป็นต้องถอนเงินส่วนนี้ให้ถือว่ากำลังกู้เงิน เวลาคืนต้องคืนทั้งต้นทั้งดอก
2. เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก เปิดอีกบัญชีสำหรับเงินหยอดกระปุก อย่าดูถูกการสะสมเงินเล็กเงินน้อย จากก้อนเล็กๆ เติบโตกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ในอนาคตได้เชียวนะ
3. เก็บเงินคืนที่ได้รับจากเรื่องต่างๆเข้าบัญชีธนาคาร เช่น เงินคืนตามโปรโมชั่นการซื้อสินค้าเงินคืนเบี้ยประกัน รายได้เบี้ยใบ้รายทางต่างๆ ให้รวมเป็นบัญชีเดียวแล้วทำบัญชีไว้ คุณจะได้รู้ว่า ณสิ้นปีรายรับที่ได้จากเงินคืนพวกนี้มันมากขนาดไหนรายรับพวกนี้เป็นรายรับ ไม่ต้องเสียภาษี น่าเสียดายที่จะใช้ทิ้งๆ ขว้างๆ
4. จ่ายเงินค่างวดผ่อนสิ่งของต่างๆที่ผ่อนหมดแล้ว เข้าบัญชีตัวเองด้วยเงินจำนวนเท่าเดิมวิธีนี้คุณไม่ต้องเดือดร้อน เพราะคุณเคยชินกับภาระการผ่อนนั้นๆ อยู่แล้วทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าคุณไม่มีภาระผ่อนอะไรใหม่ๆ เข้ามาอีกนะ
5. หยุดนิสัยฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย ตัดทิ้งให้หมด ทำรายการขึ้นมาว่าต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง หลายคนแปลกใจว่ายิ่งคิดยิ่งตัดได้เรื่อยๆ
6. เพิ่มผลตอบแทนการลงทุนไม่ควรยอมรับผลตอบแทนดอกเบี้ยต่ำเงินออมที่มีอยู่ ควรไปสร้างเงินต่อด้วยการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสมดุลในการรับความเสี่ยงด้วย
7. เป็นสมาชิกสหกรณ์ เป็นวิธีง่ายสุดของการออมเงิน พร้อมทั้งเป็นแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกต่างหาก
8. ซื้อพันธบัตรรัฐบาล สำหรับประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการออกพันธบัตรประเภทต่างๆ ให้ผู้สนใจ ถ้าสนใจเข้าไปดูที่ www.bot.or.th การจำหน่ายพันธบัตรให้กับประชาชน สิ่งที่ต้องดูคือประเภทพันธบัตร อัตราดอกเบี้ย และวันจ่ายดอกเบี้ย
9. ใช้ประโยชน์จากการโอนเงินบัญชีธนาคาร เมื่อเงินเดือนถูกนำฝากเข้าในบัญชีของคุณแล้ว คุณควรให้มันอยู่ในบัญชีธนาคารให้นานที่สุด (ฮา)
10. เข้าร่วมแผนออมเงินของบริษัท แผนการออมของบริษัทเป็นแผนออมเงินแบบปลอดภาษี และนายจ้างช่วยจ่ายสมทบ เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกจ้าง
11. ใช้การเสียภาษีให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้เรื่องภาษี ประโยชน์ที่คุณไม่ควรเสียและประโยชน์ที่คุณควรได้ (เรื่องลดหย่อนนั่นเอง)
12. เข้าโครงการออมเงินที่น่าสนใจ เปิดหูเปิดตาให้กว้าง อาจมีโปรแกรมออมที่นึกไม่ถึง
13. ส้มหล่นอย่าเพิ่งกินหมดในคราวเดียว เงินก้อนใหญ่ไม่มาบ่อยครั้ง เช่น มรดกรางวัลเกมโชว์ ลอตเตอรี่ เงินปันผลกองทุน ฯลฯเงินก้อนนี้ควรนำไปใช้ในการออมหรือลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ทั้งนี้อย่าลืมปรึกษามืออาชีพด้านภาษีด้วย
14. รัดเข็ดขัดชั่วคราวอยากได้อะไรมากๆ ลองรัดเข็มขัดในช่วงเวลาหนึ่งๆเพื่อออมเงินให้มากกว่าปกติ เก็บเงินได้เท่าราคาของแล้วจึงค่อยกลับสู่การดำเนินชีวิตปกติ
15. ฝากเงินเข้าบัญชีส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุสัปดาห์ละครั้ง ในต่างประเทศนิยมมากมีการทำบัญชีฝากสะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายก้อนใหญ่ เพียงครั้งเดียวสำหรับเมืองไทยมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งนายจ้างจ่ายสมทบ ให้
16. ให้นำเงินเดือนส่วนที่เพิ่มไปฝากถ้า รับเงินเป็นรายสัปดาห์หรือราย 2 สัปดาห์อาจเป็นได้ว่าบางเดือนคุณจะได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติ เช่นถ้าได้รับเงินเป็นรายสัปดาห์ จะมี 4 เดือนที่ได้รับเงินมากครั้งกว่าปกติหรือถ้าได้รับเงินเป็นราย 2 สัปดาห์ จะมี 3 เดือนที่คุณได้เงินเดือน 3ครั้ง ครั้งที่เกินมาให้นำไปเข้าบัญชีเงินออม (ทันที)
17. เก็บเงินเบิกรายการต่างๆส่วนที่เกินจากรายจ่ายจริงเข้าบัญชีเงินออมค่า เดินทางหรือรายจ่ายอื่นที่เบิกบริษัทได้ควรเก็บส่วนเกินจากรายจ่ายจริงไว้ หรือคุณอาจได้ค่าล่วงเวลาควรเก็บเงินส่วนนี้มาออมเช่นกัน เช่น ได้ค่าล่วงเวลาเดือนละ 2,000 บาท ถึงสิ้นปีจะมีเงินก้อน 2.4 หมื่นบาทสามารถนำมาใช้จ่ายในกรณีพิเศษโดยไม่ต้องไปถอนเงินออมหลัก
18. ยืมมาออมบางคนประสบความสำเร็จในการกู้เงินธนาคารแล้วนำกลับไปฝากใน บัญชีเงินออมของตนเองอีกทีหนึ่งวิธีนี้ใช้ได้ผลกับคนที่กำลังมีค่าหักลด หย่อน (เช่น กู้ซื้อบ้าน)และใช้ได้กับช่วงเวลาที่ดอกฝากมากกว่าดอกกู้ (หลังภาษี) เท่านั้นซึ่งปัจจุบันไม่ต้องพูดถึง
19. นำเงินปันผลและดอกเบี้ยไปต่อเงินโดยอัตโนมัติเมื่อลงทุนหรือฝาก เงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดจัดการให้เงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถนำฝากหรือ ลงทุนต่อได้อัตโนมัติในระยะยาวจะเห็นผลน่าพอใจ
20. ทิ้งเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวันให้น้อยที่สุดมีคนจำนวนมากทิ้งเงิน ไว้ในกระแสรายวัน (เพราะปลอดดอกเบี้ย)แต่หารู้ไม่ว่ากำลังพลาดโอกาสในการทำเงินที่ควรก็คือมี เงินในกระแสรายวันให้พอกับรายจ่ายรายเดือนหากเงินเหลือให้โอนไปยังบัญชีเงิน ฝากที่มีดอกเบี้ยหรือโอนไปลงทุนในผลิตภัณฑ์การเงินที่มีดอกเบี้ยดีสุดในเวลา นั้น