คนไร้รูปร้ายนาม

 

Jang Song Thaek จาง ซอง เต๊ก

 

Jang Song-Thaek disappears in the photo on the right.

จาง ซอง เต๊ก หายไปจากรูปถ่ายด้านขวามือของผู้นำเกาหลีเหนือ

 

หลังจากข่าวการประหารชีวิตจางซองเต๊กในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว อาเขยคิมจองอุนและ

เคยเป็นที่ปรึกษาคนสนิท (เขาแต่งงานกับน้องสาวของพ่อคิม จอง อุน) สื่อมวลชนเกา

หลีเหนือได้ลบชายคนนี้ออกจากหน้าประวัติศาสตร์ ลบรูปเดิมของเขาหลายรูปที่เคย

ปรากฎในสื่อทางออนไลน์ มาตรการขั้นรุนแรงแบบนี้เป็นการลบรูปครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่

เกาหลีเหนือไม่เคยทำมาก่อน จากหน่วยงานสื่อของรัฐ KCNA และหนังสือพิมพ์

Rodong Sinmun โรดองซินนำ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ The Guardian เดอะ

การ์เดี้ยน เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยในการที่ผู้นำรัฐสั่งการให้ลูกน้อง

ปัดกวาดคนที่ไม่ชื่นชอบให้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์

 

ต่อไปนี้คือ อีก 5 คน ที่กลายเป็น "คนไร้รูปร้ายนาม"

 


Nikolai Yezhov

นิโคไล เยช็อป หัวหน้าตำรวจลับของสตาลิน

 

สตาลิน(คนกลาง) ถ่ายภาพร่วมกับนิโคไล เยช็อป

หลังเยช็อบถูกประหารชีวิต รูปของเขาก็หายไปจากภาพถ่าย

 

เยช็อปได้ฉายาว่า หัวหน้าอันตธาน (สาปสูญ) รูปถ่ายของเขาไม่ปรากฎอีกเลยในปี

1940 (2483) หายหน้าไปจากประวัติศาสตร์หลังถูกประหารชีวิต เดิมเขาคือผู้จงรักภักดี

ต่อลัทธิสตาลินอย่างถึงที่สุด เป็นหัวหน้าตำรวจลับช่วงการกวาดล้างครั้งใหญ่ในยุค

สตาลิน รับผิดชอบตรวจตราการจับกุมประชาชนจำนวนมากและการประหารชีวิตบุคคล

ที่ถูกระบุว่าไม่จงรักภักดีต่อรัฐโซเวียตรวมทั้งการเนรเทศไปทำงานหนักที่แคว้นไซบีเรีย

แต่ไม่นานเขากลับถูกจับกุมและลงโทษอย่างทารุณโหดร้าย ทำร้ายร่างกายและจิตใจ

อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาไม่จงรักภักดี สตาลินมีประวัติเสียมาก

อยู่แล้วในเรื่องทำลายร่องรอยคนที่เขาไม่ชอบหรือคนที่ไร้ประโยชน์ไร้ค่าต่อไปอีกแล้ว


หมายเหตุ  คนที่ถูกสตาลินกำจัดจำนวนมากกว่าฮิตเลอร์ฆ่าชาวยิวประมาณการว่าร่วม

40 ล้านคน เพราะการรบกับเยอรมันนีส่วนหนึ่งตายเพราะความอดหยากและหนาวเย็น

เป็นจำนวนมากอีกส่วนหนึ่งถูกนับว่าเป็นคนทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้าอีกคนหนึ่งตามนิยาม

ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค

 

 

Joseph Goebbels

โจเซฟ เกอะเบลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

โฆษณาชวนเชื่อ ของ อด็อฟ ฮิตเลอร์

 

เกอะเบลส์ (ที่ 2 จากขวา)

ถ่ายร่วมกับอดอฟ ฮิตเลอร์ และคนอื่นๆ ในปี 1937 (2480)

ที่บ้านของนักสร้างภาพยนต์ เลนี่ รีเฟนสไตน์ ภาพต่อมารูปเขาหายไป

 

เกอะเบลส์เป็นลูกน้องมือทองของฮิตเลอร์ ในด้านความกระตือรือล้น ความคิดยอดเยี่ยม

ความเกลียดชังชาวยิวอย่างรุนแรง ฮิตเลอร์ตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าทีมโฆษณาชวนเชื่อเผย

แพร่แนวความคิดลัทธินาซีไปทั่วประเทศ ปลุกระดมและสร้างขวัญและกำลังใจชาวบ้าน

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นคนเพียงไม่กี่คนที่อยู่วงในที่ใกล้ชิดกับฮิตเลอร์มากที่สุดที่

ไว้วางใจถึงขนาดให้เผาศพของฮิตเลอร์หลังยิงตัวตาย ฮิตเลอร์ไม่ต่างกับสตาลินในเรื่อง

ชื่อเสียมากในการทำลายร่องรอยคนที่ไม่ชื่นชอบ แต่ไม่ทราบเหตุผลในเรื่องนี้ว่า ทำไม

เกอะเบลส์จึงถูกลบรูปออกจากภาพนี้ซึ่งเป็นภาพที่มีชื่อเสียงมากในอดีตในปี 1937

(2480)


หมายเหตุ  ฮิตเลอร์มีชื่อเสียมากในการสั่งฆ่าชาวยิว ยิปซี คนพิการ คนจรจัดด้วยการยิง

เป้าและรมแก๊สพิษตายประมาณห้าล้านคน ส่วนที่ตายมากที่สุดคือการบุกรัสเซีย ทำให้

ทหารและประชาชนรัสเซียตายประมาณสิบล้านคน ส่วนมากตายเพราะความหิวโหยถูกนับ

ว่าเป็นคนทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้าอีกคนหนึ่งตามนิยามของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค

 

 

Leon Trotsky

ลีออน ทรอตสกี้ นักปฏิวัติชาวรัสเซีย

 

เดิมเป็นสหายคนสนิท ในภาพ ทรอตสกี้ อยู่ด้านซ้ายมือของ เลนิน

ช่วงปลุกระดมมวลชน ในภาพถัดมามีการลบรูปคนสองคนออกไป

รูปทรอตสกี้ถูกลบไปด้วย

 

ในช่วงแรกๆ ของการตั้งสหภาพโซเวียต เป็นผู้มีอิทธิพลมากในด้านการปราศรัยและชี้

นำทฤษฏีคอมมิวนิสต์ ทรอตสกี้ เป็นผู้นำช่วงแรกในการปฏิวัติของกลุ่มบอลเชวิค แต่ต่อ

มาย้ายไปร่วมเป็นพันธมิตรกลุ่มแมนเชวิคกลายเป็นพวกฝ่ายซ้ายปฏิกิริยาที่ต่อต้านแนว

ทางเลนิน สตาลินประกาศว่าทรอตสกี้คือคนทรยศ ในปี 1917 (2460) มีการลบรูปจำนวน

มากของเขาออกจากภาพถ่ายเดิม ทรอตสกี้ถูกเนรเทศอย่างถาวรจากสหภาพโซเวียต

แล้วถูกสายลับของสตาลินฆ่าตายในประเทศเม็กซิโก

 

 

Bo Gu

เป่ากู้ ผู้นำอาวุโส พรรคคอมมิวนิสต์จีน

 

เป่ากู้ (ซ้ายมือสุด) ถ่ายภาพร่วมกับ เหมาเจ๋อตุง และสหาย  

ภาพต่อมารูปเขาหายไป

 

ฉิน ปั้ง เชียน หรือรู้จักกันดีในชื่อว่า เป่ากู้ บุคคลที่มีความรับผิดชอบทั้งปวงของพรรค

คอมมิวนิสต์จีน เป็นคนที่เคยได้การไว้เนื้อเชื่อใจอย่างมากจากผู้นำ เหมาเจ๋อตุง อย่างไร

ก็ตาม ผลจากการสื่อสารข้อความที่ผิดพลาดทางด้านยุทธศาสตร์ของกองทัพประชาชน

ในการอารักขา/คุ้มครอง การประชุมที่ซุนเย่ ช่วงการเดินทัพไกลของเหมาเจ๋อตุง เป่ากู้

ถูกวิพากษ์ว่า ทำผิดทางการเมืองที่ร้ายแรงส่วนหนึ่งและมีคำสั่งที่ตามหลังมาจาก

จางเหวินเทียน ในปี 1935 (2478) ความผิดพลาดในการสื่อสารข้อความที่ผิดพลาด

อย่างชัดเจนแตกต่างกันอย่างมากกับความรับผิดชอบตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาหลาย

เรื่องแต่น่าจะเพราะเขากลายเป็นคนที่เหมาเจ๋อตุงไม่ชื่นชอบอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นนั่นคือ

เหตุผลสำคัญที่มีการลบรูปของเขาออกจากภาพถ่าย

หมายเหตุ กลุ่มนักเขียน/นักต่อต้านที่เกลียดชัง เหมาเจ๋อตุง ระบุว่าคนตายในช่วงเหมา

เจ๋อตุงมากกว่าสตาลินกำจัดคนในชาติรัสเซีย ประมาณการว่ามีคนตายร่วมหกสิบกว่าล้าน

คนนับรวมตั้งแต่ยุคแรกจนถึงวันตายเหมาเจ๋อตุง ตั้งแต่ยุคเริ่มต่อสู้กับญี่ปุ่นและจีนไต้หวัน

จนถึงยุคครองราษฏร์ มีการฆ่าฝ่ายศัตรูและฝ่ายปฏิกิริยาจำนวนนับล้านคนตายเพราะความ

อดหยากช่วงก้าวกระโดดของจีน เร่งพัฒนาประเทศจากเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหนักกับ

ตายเพราะการทำงานหนักในยุคปฏิว้ติวัฒนธรรม ถูกนับว่าเป็นคนทรยศต่อพระผู้เป็นเจ้าอีก

คนหนึ่ง ตามนิยามของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค เหมาเจ๋อตุง มีคนสรุปว่าเป็นคน

หลอกคนจน ปล้นคนรวย หลงเมียน้อย ปั่นหัวนักเรียนนักศึกษา (Red Guards) ขจัดฝ่าย

ตรงข้ามกับตนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นคนประเภทหน้าด้านใจดำ ปากคาบคัมภีร์

คอมมิวนิสต์ แต่ทางจีนยังคงไม่กล้าชำระประวัติศาสตร์เหมาเจ๋อตุง เพราะจะกระทบกระ

เทือนต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน และทำให้การเมืองการปกครองปั่นป่วนมาก

 

 

Grigoriy Nelyubov

เกกรอรี่ นีลยูโบว์ นักบินอวกาศโซเวียต

 

สมาชิกรุ่นก่อตั้ง หกโซชิ  รูปของนิลยูโบว์หายไปในภาพถัดมา

 

ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มคนชุดแรกที่ขึ้นสู่อวกาศในปี 1960 (2503) นิลยูโบว์เป็นคนดัง

ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศด้วยชื่อเสียงคนที่โดดเด่น นักบินที่เชี่ยวชาญ และนัก

กีฬา สมาชิกผู้ก่อตั้งทีมนักบินอวกาศที่สุดยอด หรือรู้จักกันว่า หกโซชิ นิลยูโบว์ได้รับการ

คัดเลือกเป็นคนลำดับที่สามหรือสี่ที่จะขึ้นไปสู่อวกาศ (แต่บางกระแสข่าวว่าเขาได้รับการ

คัดเลือกเป็นคนแรก) ต่อมาเขาถูกไล่ออกจากโครงการอวกาศของโซเวียตเพราะสาเหตุ

ทำตัวไม่เหมาะสมไปยุ่งเกี่ยวกับเหล้า ทำให้เขาถูกไล่ออกจากโครงการและลบรายชื่อ

สมาชิก นิลยูโบว์เสียชีวิตเพราะถูกรถไฟชนการตายของเขาถูกรัฐชี้ขาดว่าเขาฆ่าตัวตาย

----------------------------------------

ไร้รูป       หมายถึง ไม่มีรูปภาพคนนี้อีกต่อไปแล้ว

ร้ายนาม   หมายถึง เป็นคนมีชื่อเสียงเลวร้ายตามการโฆษณาชวนเชื่อ

 
หมายเหตุ ผลงานของรัฐที่ทำให้คนที่ไม่ต้องการกลายเป็นคนไร้รูปร้ายนามคล้ายคลึง

กับหนังสือเรื่อง  หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ หรือในภาษาอังกฤษว่า Nineteen Eighty-Four

(ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า 1984) เป็นนิยายที่เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ

ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1949 ในช่วงของการเกิดสงครามเย็น ภายหลังสงครามโลก

ครั้งที่สองเป็นวรรณกรรมแนวดิสโทเปีย (dystopia)หรือบางครั้งเรียกว่าเนกาทีฟยูโทเปีย

(negative utopia หรือตรงข้ามกับสังคมอุดมคติ) กล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.

1984 (พ.ศ. 2527) ในอนาคต 35 ปี หลังจากหนังสือตีพิมพ์ครั้งแรก (ปี 1949) เป็นเรื่อง

ของสังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จ โดยผู้ปกครองกลุ่มเล็กๆ ที่มีอำนาจล้นฟ้าเด็ดขาดอย่างสม

บูรณ์ในการควบคุมบงการประชาชนทั้งสังคม โดยที่ในสังคมนั้นไม่มีใครรู้ว่ากลุ่มผู้ปกครอง

นั้นเป็นใคร แต่อาจเรียกเขาในนาม พี่เบิ้ม ก่อนการตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือจะใช้ชื่อว่า The

Last Man in Europe แต่ผู้เขียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "1984" เพื่อให้ฟังดูน่าสงสัย และน่าติด

ตาม หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ฉบับภาษาไทยแปลโดย รัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย

ปฏิพัทธ์เผ่าพงษ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2525 และตีพิมพ์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550

 

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่

 

1984 กับประเทศไทย สังคมที่ไร้เสรีภาพทางความคิด Voice TV

Credit: http://www.oknation.net/blog/ravio/2014/02/06/entry-2
27 ก.พ. 57 เวลา 00:22 8,150 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...