ภาพสะเทือนใจ

 

เรื่องราวที่มีเบื้องหลังของภาพคือ ความโหดร้ายที่มนุษย์มีต่อกันใน

อดีต ตั้งแต่การใช้อาวุธ การดูถูกเหยียดหยาม อุบัติเหตุจากโรงงาน

ที่มีสาเหตุมาจากคน รวมทั้งภัยพิบัติธรรมชาติที่หายนะให้กับชีวิต

และทรัพย์สิน แต่ในบางภาพยังมีเบื้องหลัง คือมุมหนึ่งของความ

เมตตา ความเอื้ออารี ที่มนุษย์พึงมีให้ต่อกันในระดับหนึ่งของการอยู่

ร่วมกัน...

 

A Protesting Buddhist Monk, 1963 พระภิกษุเผาร่างตนเอง 2506

 

ภาพโดย  Malcolm Browne. ได้รับรางวัล  Pulitzer

 

ในบางช่วงขณะคนภายนอกจะรู้สึกเสียใจ/เศร้าสลดมากกว่า ภาพนี้สะเทือนใจคนทั้งโลก

เพราะเหตุผลหนึ่งเดียวเท่านั้น คือการประท้วงรัฐบาลเวียตนามใต้ พระภิกษุศาสนาพุทธ

จุดไฟเผาตนเอง ท่านมรณภาพอย่างสงบไม่มีอาการทุรนทุรายหรือร้อนรนหนีจากไฟที่

ลุกไหม้

หมายเหตุ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2506 พระภิกษุ Thich Quang Duc ทิจ กวาง ดึ๊ก

เจ้าอาวาสวัดเทียนมู่ ได้จุดไฟเผาตัวเองเพื่อประท้วงประธานาธิบดี โง ดินห์ เดียม ที่นับ

ถือศาสนาคริสต์อย่างบ้าคลั่ง แล้วการกดขี่ข่มเหงเข่นฆ่าพระสงฆ์ แม่ชี ชาวพุทธ ทำลาย

ล้างวัดวาอาราม และพุทธศาสนา หลังพิธีฌาปนกิจศพแล้วหัวใจของท่านไม่ไหม้ไฟยัง

เก็บรักษาไว้เป็นที่เคารพสักการะ

 

 

 

An Iraqi War Prisoner, 2003 เชลยศึกสงครามอิรัค 2547  

 

นักโทษอิรัคพยายามปลอบโยนบุตรชายวัยสี่ขวบ เด็กน้อยหวาดกลัวที่เห็นพ่อถูกคลุมหัว

และถูกใส่กุญแจมือ นายทหารในกองทัพจึงยอมทำตามคำร้องของเขายอมไขกุญแจมือ

นักโทษเพื่อให้เขาโอบกอดปลอบลูกชายได้

 

 

Bhopal Disaster,1984 ภัยพิบัติ เมืองโภปาล  

 

หนึ่งในอุบัติเหตุที่เลวร้ายที่สุด การรั่วไหลของแก๊สที่เมืองโภปาล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ในอินเดียปี 2527 ทำให้คนนับพันเสียชีวิต ในภาพพ่อที่กำลังฝังศพลูกน้อย

อนุสรณ์สถานรำลึกภัยพิบัติ 

 

ถังก๊าซที่รั่ว

 

 

หมายเหตุ โศกนาฏกรรมที่โภปาล เมืองหลวงรัฐมัธยประเทศอินเดีย เป็นอุบัติเหตุจาก

โรงงานผลิตยาฆ่าแมลง บริษัท ยูเนียนคาร์ไบด์ เกิดขึ้นกลางดึกวันที่ 2 ธันวาคม 2527

ถังบรรจุก๊าซเมทิลไอโซไซยาไนด์ และสารพิษอื่นๆ เกิดการรั่วไหลส่งผลกระทบกับประ

ชาชนมากกว่า 500,000 คน หน่วยงานท้องถิ่นรัฐมัธยประเทศได้ยืนยันจำนวนผู้ตายเบื้อง

ต้น 2,259 คน และผู้ตายที่เกี่ยวเนื่องกับการรั่วไหลของก๊าซ 3,787 คน ในขณะที่หน่วย

งานอื่นรัฐบาลอินเดียประเมินจำนวนผู้ตาย 15,000 คน มีผู้ตายประมาณ 8,000 คนใน

สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุ ในเดือนมิถุนายน 2553 หลังเกิดเหตุแล้วถึง 24 ปี ศาลอินเดีย

ได้ตัดสินว่า อดีตพนักงานยูเนียนคาร์ไบด์เจ็ดคนรวมทั้ง นายวอร์เรน แอนเดอร์สัน อดีต

ประธานบริษัทมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตตัดสินให้ลงโทษ

จำคุกคนละสองปี พร้อมปรับคนละประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐ ตามบทลงโทษขั้นสูงสุด

ตามกฎหมายอินเดียแต่จำเลยทั้งแปดตายก่อนมีคำพิพากษา

 

Union Carbide CEO Warren Anderson

 

 

Dorothy's Frist Day,1957 วันแรกในโรงเรียนของโดโรธี 2500  

 

การเหยียดสีผิวจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนมัธยมศึกษาปลาย ทำให้โดโรธีต้องลาออกเลย

ในวันแรกของการเข้าเรียน (ในสหรัฐอเมริกาสมัยก่อนยังมีการเหยียดสีผิว)

 

  The Baby's Hand,1999 มือทารกน้อย 2542  

มือเด็กที่คลอดแบบปกติไม่ได้ 

ภายใต้อุ้งมือหมอที่ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดทำคลอดเด็ก

 

  Vulture Waiting for The Malnutritioned Child to Die,1994 อีแร้งรอกินศพเด็กที่อดอยากใกล้ตาย 2537

 

 

ภาพโดย Kevin Carter ไดัรับรางวัล Pulitzer ประเภทสารคดี1994

 

หนึ่งในภาพที่สะเทือนใจชาวโลก และก่อให้เกิดการวิพากวิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง

เกี่ยวกับนิยามมนุษยธรรม/จริยธรรมที่พึงมีของช่างภาพ ช่างภาพรายนี้ฆ่าตัวตายในภาย

หลังแม้ว่าจะได้รับรางวัลจากภาพนี้

 

ผิดพลาดขออภัย โปรดชี้แนะ จะกลับมาแก้ไข   ...ขอบคุณค่ะ...   ****************************************
Credit: http://www.oknation.net/blog/ravio/2013/08/22/entry-1
25 ก.พ. 57 เวลา 20:54 14,766 5 170
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...