10 อันดับ เรือที่โด่งดังในประวัติศาสตร์

 

 

 

 

 

ประวัติศาสตร์ของเรือมีมาอย่างยาวนาน และมีเรืออยู่ไม่กี่ลำที่มีคนรู้จัก จนถึงทุกวันนี้ วันนี้มีทีมงาน Toptenthailand.com ขอเสนอ "10 อันดับ เรือที่โด่งดังในประวัติศาสตร์"

ที่มา : toptenthailand

10. The Santa Maria

ซานตามาเรีย เป็นเรือสินค้าของสเปน คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้ใช้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของโลก โดยใช้ออกเดินทางจากยุโรปข้ามมหาสมุทร์แอตแลนติก เพื่อสำรวจดินแดนใหม่ ทำให้เขาได้ค้นพบหมู่เกาะเวสต์อินดีส ในปี ค.ศ. 1492

9. C.S.S. Hunley

C.S.S. Hunley เป้นเรือดำน้ำ ที่ใช้ในสงครามกลางเมือง ของอเมริกา ( Amarican civil war )

8. U.S.S. Monitor และ C.S.S. Virginia

การรบระหว่างเรือเหล็กครั้งแรกของโลก เป็นการรบระหว่าง USS Monitor กับ CSS Virginia โดยทั้งคู่เป็นของสหรัฐทั้งคู่ แต่เป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ตามลำดับ เพราะเกิดขึ้นในยุคสงครามการเมือง การรบที่เกิดขึ้น ทั้งสองฝ่ายสูสีกัน ไม่มีใครเพลี่ยงพล้ำกันเลยครับ แต่ก่อนหน้านี้ เรือ CSS Virginia สอยเรือรบไม้ที่ดีที่สุดของฝ่ายเหนือไปได้ถึง 3 ลำ ก่อนที่ USS Monitor จะมาช่วยไว้ได้ทัน

7. U.S.S. Constitution

เรือรบหนักในตำนานแห่งราชนาวีสหรัฐอเมริกา มีอายุกว่า 213 ปี หลังจากที่ถูกสร้าง

6. U.S.S. Missouri

ยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) ("ไมท์ตีโม" หรือ "บิกโม") เป็นเรือประจัญบานชั้นไอโอวาของกองทัพเรือสหรัฐ และเป็นเรือลำที่สี่ของกองทัพเรือสหรัฐที่ใช้ชื่อรัฐตามรัฐมิสซูรี มิสซูรี เป็นเรือประจัญบานลำสุดท้ายที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐและเป็นที่เซ็นสัญญายอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในตอนจบของสงครามโลกครั้งที่สอง มิสซูรี สั่งต่อเรือในปี ค.ศ. 1940 และขึ้นระวางประจำการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 ในสมรภูมิมหาสมุทรแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง เรือได้เข้าร่วมการรบที่อิโวะจิมะและโอะกินะวะ และล้อมแผ่นดินแม่ญี่ปุ่น และเรือยังเข้าร่วมในสงครามเกาหลีในระหว่างปี ค.ศ. 1950 ถึง 1953 เรือปลดประจำการในปี ค.ศ. 1955 กลายเป็นกองเรือสำรองของกองทัพเรืออเมริกา แต่ได้รับการนำกลับเข้าประจำการและปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ. 1984 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกองเรือ 600 และให้การยิงสนับสนุนในระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทรายในเดือนมกราคม / กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 มิสซูรี ได้รับ 11 ดาวยุทธการจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี และ สงครามอ่าวเปอร์เซีย สุดท้ายเรือได้รับการปลดประจำการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1992 แต่ยังคงชื่อไว้กองทัพเรือจนกระทั่งชื่อถูกจำหน่ายออกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 ในปี ค.ศ. 1998 เรือถูกบริจาคให้กับสมาคมอนุสรณ์ ยูเอสเอส มิสซูรี และกลายเป็นพิพิธภัณฑ์เรือที่ท่าเรือเพิร์ลในรัฐฮาวาย

5. HMS Victory

เอชเอ็มเอสวิกตอรี HMS Victory ซึ่งมีความยาว 175 ฟุตของกองทัพเรืออังกฤษที่อับปางลงเมื่อปี ค.ศ. 1744 จากการชนหินโสโครกที่บริเวณช่องแคบอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1744 การอับปางครั้งนั้นทำให้มีทหารเสียชีวิต 1,100 นาย ทองมูลค่ามหาศาลปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท ยังจมหายไปกับเรือด้วย

4. U.S.S. Maine

1895 รัฐบาลสเปนได้ส่ง General Valeriano Weyler y Nicolau เพื่อที่จะปราบปรามพวกกบฏคิวบา นายพลคนนี้รู้จักกันในอเมริกาว่า Butcher ซึ่งจากวิธีของนายพลคนนี้ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนอาหารในคิวบาและทำให้คนคิวบาตายไปกว่าหมื่นคน ทำให้สหรัฐเริ่มเข้ามาแทรกแซงเพื่อยุติสภาวะเช่นนี้โดยการให้รัฐบาลสเปนในคิวบาเรียกตัวนายพลคนนี้กลับ และเปิดการเจรจากับฝ่ายกบฏ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่งฝ่ายสนับสนุนนายพลคนนี้ได้ยุยงให้เกิดการจลาจลขึ้นในต้นปี 1898 จนทำให้รัฐบาลสหรัฐโดยปธน McKinley ได้ส่งเรือ USS Maine เพื่อที่จะคุ้มกันคนอเมริกันในคิวบา ในตอนค่ำของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ USS. Maine ก็ได้ระเบิดขึ้นตรงส่วนล่างของเรือทำให้กลาสีเรือต้องเสียชีวิตทันที 260 คน และเสียชีวิตภายหลังอีกหกคน ซึ่งในภายหลังก็ได้มีการเปิดเผยของทีมงานสอบสวนว่าการระเบิดเกิดจากดินปืนของปืนใหญ่จำนวนห้าตัน หลังจากการระเบิด เจ้าหน้าที่สเปนและเรือ City of Washington ก็ได้รุดมาช่วยเหลือคนเจ็บ ซึ่งตอนนั้นก็ได้มีการสงสัยกันว่าจะเป็นการก่อวินาศกรรม ถึงขนาดกัปตันของ USS Maine, Captain Charles Sigsbee ได้ลงท้ายในรายงานทางโทรเลขว่า อย่าเพิ่งให้ความเห็นใดๆต่อสาธารณะในตอนนี้จนกว่าจะมีรายงานความคืบหน้าเข้ามา เนื่องจากความตึงเครียดระหว่างสเปนและสหรัฐที่มีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ทันทีที่เกิดเหตุ กระทรวงทหารเรือได้จัดตั้งทีมงานสอบสวนสาเหตุของเหตุการณ์นี้ซึ่งใช้เวลาประมาณสี่อาทิตย์ แต่เนื่องจากซากเรือที่ยังอยู่ใต้น้ำที่ยังกู้ไม่ได้ ประกอบกับความไม่ชำนาญในทางเทคนิคของทีมงานสอบสวน ทำให้มีการสรุปออกมาว่ามีการระเบิดเกิดจากการจุดระเบิดของทุ่นระเบิดใต้น้ำ แต่ทีมงานไม่ได้ระบุว่า ทุ่นระเบิดใต้น้ำนั้นได้ถูกวางที่ตรงไหน หลังจากรายงานได้ออกไปสู่สาธารณะ ก็ได้มีการกล่าวหาว่ารัฐบาลสเปนได้อยู่เบื้องหลังการวินาศกรรมครั้งนี้ ปธน.สหรัฐได้ปิดล้อมน่านน้ำคิวบาในวันที่ 21 เมษายน และตามด้วยการประกาศสงครามกับสเปนในวันที่ 23 เมษายน 1898 หลังจากนั้นในปี 1911 ทีมงานสอบสวนเหตุการณ์นี้ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอีกชุดหนึ่ง หลังจากทีสภาของสหรัฐได้ให้งบประมาณในการกู้ซากเรือ USS Maine ซึ่งจากการสำรวจจุดที่ระเบิด ทีมสอบสวนก็ได้สรุปว่า ทุ่นระเบิดใต้น้ำได้ระเบิดตรงแผงบรรจุลูกปืนสำรองขนาดหกนิ้ว ซึ่งเป็นสาเหตุของการระเบิดของเรือ USS Maine และทำให้จมลง ในเวลาเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคมีความเห็นไม่ตรงกับข้อสรปของทีมสืบสวน เขาเชื่อว่าการเผาไหม้เองของถ่านหินในถังใส่ถ่านหินที่อยู่ติดกับแผงบรรจุลูกปืนน่าจะเป็นสาเหตุหลักมากกว่าที่จะเป็นการก่อวินาศกรรม ซึ่งความเห็นนี้ก็ได้รับการสนับสนุนจากทีมสอบสวนอิสระของ Admiral Hyman G. Rickover ผู้เขียนหนังสือ How the Battleship Maine Was Destroyed ในปี 1976 แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ปฏิเสธผลสรุปของผู้เชี่ยวชาญ และ ท่านจอมพลคนนี้โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปไม่ได้ที่ผู้รับผิดชอบในส่วนของห้องเก็บถ่านหินจะไม่เห็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น แต่ว่าในส่วนของบทสรุปที่มีทุ่นระเบิดใต้น้ำมาเกี่ยวข้องหลักฐานสนับสนุนก็มีน้อยมากเช่นกัน

3. Battleship Bismarck

เรือประจัญบาน บิสมาร์ค (อังกฤษ: Bismarck) เป็นเรือประจัญบานเต็มรูปแบบ ลำแรกของกองทัพเรือนาซีเยอรมัน (Kriegsmarine) และเป็นเรือประจัญบานที่โด่งดังที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการสำแดงพลัง จมเรือลาดตะเวณประจัญบาน "ฮู้ด" ของอังกฤษ จมในยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก

2. U.S.S. Arizona

เรือประจัญบานของสหรัฐอเมริกาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดนเครื่องบินญี่ปุ่นทิ้งระเบิดจมที่ Perl Habor

1. RMS Titanic

อาร์เอ็มเอส ไททานิก (อังกฤษ: RMS Titanic) หรือ โรยาล เมล ชิป ไททานิก (อังกฤษ: Royal Mail Ship Titanic) คือ ชื่อเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์ (อังกฤษ: White Star Line) เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. 1909 สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1911 ที่เบลฟาสท์, ไอร์แลนด์ พร้อม ๆ กับเรือคู่แฝดที่ชื่อว่า อาร์เอ็มเอส โอลิมปิก (อังกฤษ: RMS Olympic) ซึ่งเบากว่าไททานิกถึง 1,000 ตัน ซึ่งครั้งหนึ่งเรือคู่นี้เคยเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Credit: http://board.postjung.com/744481.html
16 ก.พ. 57 เวลา 16:34 2,355 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...