อุทธาหรณ์! เกือบตายเพราะ ยานอนหลับ

 

 

 

อุทธาหรณ์! เกือบตายเพราะ ยานอนหลับ

 

คนสมัยก่อนเข้านอนแต่หัวค่ำและตื่นแต่เช้า เพราะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติ ดังนั้น กายและใจจึงได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทว่าหนุ่มสาวยุคปัจจุบันมีวิถีชีวิตยุ่งยากซับซ้อน ทำให้หลายคนใช้ชีวิตอย่างหนักหน่วงและห่างไกลจากธรรมชาติ

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานบีบบังคับให้ต้องนอนดึก ตื่นเช้า หรืออาจไม่ได้นอนเลยทั้งคืน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างมหาศาล มาฟังกรณีคุณยี่หวา (นามสมมติ) อาชีพช่างแต่งหน้า ที่ทำงานที่มีเวลาไม่แน่นอน บางครั้งต้องทำงานดึก ๆ ดื่น ๆ รวมถึงเธอยังชอบไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ ในยามค่ำคืนเป็นประจำ ทำให้คุณยี่หวาต้องหันเหชีวิตไปพึ่ง ยานอนหลับ

 


เธอกิน ยานอนหลับ ตามวิธีของตัวเอง โดยคำนวณชั่วโมงในการนอนชัดเจน คือ ถ้ากลับถึงบ้าน 1.00 น. และต้องตื่นไปทำงาน 4.00 น. คุณยี่หวาจะกินยานอนหลับแค่ 1 ใน 4 ของเม็ดยา เพื่อให้หลับสนิท 2 ชั่วโมงพอดิบพอดี เพื่อตื่นมาทำงานได้เลยโดยไม่ง่วงนอน ดูเผิน ๆ การกระทำของเธอ คล้ายเป็นการแก้ปัญหาสุขภาพและการงานไปพร้อม ๆ กัน แต่ความจริงการกิน ยานอนหลับ ในลักษณะนี้ กลับเป็นต้นตอของปัญหาทุก ๆ ด้านในชีวิต กลายเป็นโศกนาฏกรรมสุขภาพที่เธอไม่อยากให้ผู้คนเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

 

 

เพราะ ยานอนหลับ ออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางให้สงบลง สามารถทำให้ผู้กินนอนหลับได้ทันที แต่การนอนหลับในลักษณะนี้ไม่ใช่การพักผ่อนที่ถูกต้อง และการกินยานอนหลับก็ไม่สามารถรักษาอาการที่เป็นได้ นอกจากนี้ การกินยาประเภทนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างมหาศาลจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ติด

 

ยานอนหลับ ทำป่วยอัลไซเมอร์

คุณยี่หวาเล่าว่า นับวันเธอยิ่งติดการกินยานอนหลับ ต้องกินทุกวันและต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้น หากกินในปริมาณน้อยหรือเท่าเดิมจะทำให้นอนหลับไม่สนิทหรือตื่นเร็วกว่าที่ควรจะเป็น รวมถึงในระยะหลังๆ เธอรู้สึกว่าตื่นเช้ามาด้วยความอ่อนเพลีย สมองมึนงง ความคิดสับสน ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ กระทั่งไม่สามารถขับรถและทำงานได้เลย อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่กว่าครึ่งวันจนกว่าฤทธิ์ยานอนหลับจะหมดไป อีกทั้งเธอถูกคนรอบข้างทักบ่อยๆ ว่า โมโหร้าย หงุดหงิดง่าย ไร้เหตุผล ซึ่งกระทบต่อชีวิตส่วนตัวและการทำงานเป็นอย่างมาก

 

อันตรายจากการกินยานอนหลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผู้กินยาจะต้องเพิ่มปริมาณยาเพราะอาจเกิดการดื้อยาหรือร่างกายทนต่อฤทธิ์ยานอนหลับ คือ กินในปริมาณน้อยกลับนอนไม่หลับเหมือนเดิมต้องเพิ่มขนาดยาหรือถ้าวันไหนไม่ได้กินยาจะนอนไม่หลับทั้งคืน ซึ่งอาการเหล่านี้หมายถึงภาวะติดยานอนหลับ

 

ผลข้างเคียงจากการติดยานอนหลับ คือ อาการแอมนีเซีย (Amnesia) คือ ไร้สติ ลืมว่าตนเองทำอะไรอยู่และไม่รู้สึกตัว เพราะฤทธิ์ยามีผลกระทบต่อเซลล์สมอง ระบบประสาท และความจำ

 

การกินยานอนหลับหรือยาที่ออกฤทธิ์กดประสาทต่อเนื่อง อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ทั้งนี้ นอกจากสภาวะของโรคทำให้เซลล์สมองตาย จำอะไรไม่ค่อยได้ เลอะเลือน และหลงลืมเรื่องสำคัญๆ แล้ว ยังพบว่าผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย สมองสับสน และหุนหันพลันแล่น

 

หากไม่เลิกพฤติกรรมผิดๆ ไม่หยุดกินยากดประสาท และไม่ได้รับการบำบัดที่เหมาะสม อาจทำให้เซลล์สมองถูกทำลายจนหมดและไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ “โรคแบบนี้ผู้ป่วยจะเหมือนคนตายแล้วทั้งเป็น”

 

Did you know? การหยุดยานอนหลับทันทีมีผลข้างเคียงรุนแรง

คือ ภาวะวิทดรอวอลซินโดรม (Withdrawal Syndrome) ผู้ป่วยมักนอนไม่ได้ วิตกกังวล กระวนกระวาย ปวดศีรษะ หรือครั่นเนื้อครั่นตัว ลักษณะคล้ายการหยุดยาเสพติดหรือสุรา ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ยานอนหลับได้จับกลุ่มและออกฤทธิ์ที่แกมมา – แอมิโนบิวไทริก แอซิด รีเซ็ปเตอร์ (Gamma-aminobutyric acid receptor) ซึ่งอยู่ในสมองนั่นเอง

 

กู้ชีวิตคืนมา หนียานอนหลับ

“เพราะการติดยานอนหลับส่งผลต่อสุขภาพและการงานที่รัก คุณยี่หวาจึงบอกตัวเองว่า ต้องเลิกกินยานอนหลับให้ได้ โดยใช้วิธีหักดิบ คือ หยุดกินทันที ซึ่งเธอเล่าว่า ช่วง 1 – 2 เดือนแรกที่หยุดกินเป็นช่วงที่ชีวิตทรมานมาก คือ ไม่สามารถนอนได้ทั้งคืน แม้ร่างกายจะเหนื่อยล้า อยากพักแต่ก็ไม่สามารถหลับได้” นอกจากเลิกกินยานอนหลับแล้ว สิ่งสำคัญที่เธอต้องทำร่วมด้วยคือ การจัดเวลาการทำงานใหม่เพื่อให้ได้พักผ่อนตามเวลาปกติ
ภายหลังที่คุณยี่หวาสามารถเลิกกินยานอนหลับและจัดเวลาพักผ่อนได้อย่างสมดุลแล้ว อาการผิดปกติต่างๆ ก็หายไปอย่างสิ้นเชิง


“เคยคิดว่ายานอนหลับเป็นมิตร แต่เพราะการใช้อย่างผิดวิธี ทำให้กลายเป็นศัตรูร้ายคุกคามสุขภาพเกือบ 10 ปี ทุกวันนี้ ตระหนักได้ว่า การกิน ทำงาน พักผ่อน ออกกำลังกาย และนอนให้เป็น สำคัญต่อสุขภาพร่างกายที่สุด“อย่าให้น้ำมือตนเอง ทำร้ายตนเอง…” คุณยี่หวากล่าวทิ้งท้าย”

 

แนะนำวิธีช่วยนอนหลับแบบชีวจิต

1. กลุ่มสารทริปโตแฟน (Tryptophan) เคลป์ (Kelp) และฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) มีมากในถั่วเหลือง งา เมล็ดฟักทอง ปลาทะเล กล้วยและสาหร่าย

 

2. กลุ่มสังกะสี (Zinc) โพแทสเซียม (Potassium) และไนอะซิน (Niacin) มีมากในข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว มะเดื่อ มันเทศ ส้มโอ มะเขือเทศ ปลาทะเล และผักใบเขียว

 

3. กลุ่มโฟลิก (Folic Acid) และวิตามินบีคอมเพล็กซ์ (Vitamin B-Complex) มีมากในข้าวซ้อมมือ ข้าวสาลีไม่ขัดขาว ข้าวโอ๊ต จมูกข้าว กะหล่ำปลี ผักใบเขียว แครอต ฟักทอง แคนตาลูป ถั่วแดง และถั่วเหลือง

 

สวดมนต์เป็นยา นอกจากอาหารแล้ว การสวดมนต์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ คลื่นเสียงจากการสวดมนต์คือยานอนหลับธรรมชาติ การสวดมนต์ประมาณ 15 – 20 นาที ทำให้สมองได้รับคลื่นเสียงช้า ๆ สม่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นบริเวณก้านสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายกับยานอนหลับ ช่วยลดความเครียด อาการซึมเศร้า และสารเมลาโทนิน (Melatonin) ช่วยยืดอายุของเซลล์ประสาทให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ยาวขึ้น อีกทั้งยังกระตุ้นการนอนหลับ บำรุงเซลล์ เสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย

 

ที่มา : http://health.mthai.com/howto/2146.html 

Credit: http://108thinks.blogspot.com/
16 ก.พ. 57 เวลา 11:12 2,147 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...