ที่มา : toptenthailand
พายุฝุ่นที่เกิดบนดาวอังคารถือว่าเป็นพายุฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบ สุริยะ ครอบคลุมดาวเกือบทั้งดวง ขณะที่ฝุ่นถูกลมหอมขึ้นไปนั้นมันก็ดูดซับเอาพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ไป ด้วย ทำให้บรรยากาศโดยรอบละอองฝุ่นมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศจากบริเวณที่มีอากาศร้อน (ความกดอากาศต่ำ) ไปหาบริเวณที่มีอากาศเย็นกว่า (ความกดอากาศสูง) ยิ่งอุณหภูมิแตกต่างกันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ลมมีความรุนแรงมากขึ้นเท่า นั้น
ดาวอังคารเป็นดาวที่มีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ และยังมีมีหุบเขาที่ลึกและยาวที่สุดในระบบสุริยะอีกด้วย ภูเขาที่สูงที่สุดบนดาวอังคาร คือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) มีความสูง 27 กิโลเมตร คิดเป็น 3 เท่าของความสูงของยอดเขาเอเวอร์เรส ส่วนหุบเขาที่ลึกที่สุด คือ มาริเนริส (Marineris) ลึก 8-10 กิโลเมตร และยาวประมาณ 4000 กิโลเมตร
ดาวอังคารบางทีก็เรียกกันว่าดาวแดงเพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวดังคารเป็นสีชมพู เพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้ นั้นเอง
ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย
ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร
ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร
สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร
นักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือนาซา เปิดเผยข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการมีอยู่ของแหล่งน้ำจืดบนดาวอังคาร โดยล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า รถหุ่นยนต์"คิวริออซิตี" ที่นาซาส่งขึ้นไปสำรวจดาวอังคาร พบหลักฐานชี้ชัดว่า บริเวณ "เกลเครเตอร์" ซึ่ง "คิวริออซิตี" ร่อนลงจอดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 เคยเป็นทะเลสาบน้ำจืดโบราณที่มีขนาดความกว้าง 5 กิโลเมตร ยาว 50 กิโลเมตร และขนาดของมันอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละช่วงเวลา
ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร[3][4] นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเอง และฤดูกาล