ปลื้ม! ภาพคนไทย "จรวด ดาวตก ทางช้างเผือกเหนืออินทนนท์" โผล่เว็บนาซา



ปลื้ม! ภาพคนไทย “จรวด ดาวตก ทางช้างเผือกเหนืออินทนนท์” โผล่เว็บนาซา

 

 

 

   
 

 

สดร.ปลื้ม! ภาพคนไทย “จรวด ดาวตก ทางช้างเผือกเหนืออินทนนท์” โผล่เว็บนาซา เจ้าตัวเผยติดตามเว็บดังกล่าวมาตั้งแต่ ม.6 และเป็นแรงบันดาลใจให้เลือกเส้นทางอาชีพทางด้านดาราศาสตร์

สถาบัน วิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยว่า เว็บไซต์ APOD หรือ Astronomy Picture of the Day ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) หนึ่งในเว็บไซต์เกี่ยวกับภาพถ่ายดาราศาสตร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้เผยแพร่ภาพดาราศาสตร์ผลงานคนไทย

ภาพดังกล่าวชื่อ “จรวด ดาวตก และช้างเผือกเหนือน่านฟ้าประเทศไทย” เป็นผลงานของ มติพล ตั้งมติธรรม เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

​มติพล ได้บันทึกภาพดังกล่าวในบรรยากาศอันเงียบสงัดของเช้าวันที่ 7 ก.พ.57 ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนท์ ที่ขอบฟ้ามีดอยหัวเสือโผล่ขึ้นมาท่ามกลางแสงจากตัวเมืองเชียงใหม่ ท้องฟ้ายามก่อนรุ่งสางประดับไปด้วยแสงจากดาว มีดาวประกายพฤกษ์ และแสงจักรราศีเป็นผู้มาเยือนที่มาพร้อมกับรุ่งเช้า ทางช้างเผือกพาดเป็นทางอยู่เหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์

นอก จากนี้ในภาพของมติพลยังมีดาวตกซึ่งบังเอิญผ่านเข้ามาในภาพ แต่สิ่งที่น่าแปลกประหลาดที่สุดในภาพคือชิ้นส่วนของจรวด Ariane 5 ที่ถูกปล่อยออกมาจากฐานปล่อยจรวดใน French Guiana ที่ได้เดินทางพาดผ่านมายังน่านฟ้าประเทศไทย ก่อนที่จะตกลงในมหาสมุทรแปซิฟิก เหตุการณ์บังเอิญที่มาบรรจบกันในภาพถ่ายของคนไทย

​“ผม ได้รู้จักกับ APOD ตั้งแต่อยู่ ม.6 เมื่อเกือบ 15 ปีที่แล้ว ตั้งแต่นั้นมาผมก็ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนเพจนี้อยู่เป็นประจำ APOD เป็นแรงบันดาลใจให้ผม และมีส่วนให้ผมได้เลือกสายอาชีพดาราศาสตร์จนถึงทุกวันนี้ ผมไม่เคยคิดเลย ว่าวันหนึ่งผมจะได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่ง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารูปเล็กๆ ของผม อาจจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครคนอื่น เช่นเดียวกับที่ผมเคยได้รับแรงบันดาลใจมาในอดีต” มติพลกล่าว

​ ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบัน มีนักถ่ายภาพดาราศาสตร์ในเมืองไทยอยู่เป็นจำนวนไม่มากนัก ทางสถาบันฯ ได้จัดกิจกรรมสนับสนุน กระตุ้นและส่งเสริมการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ การจัดอบรมเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ การเผยแพร่บทความเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ฯลฯ มีนักดาราศาสตร์สมัครเล่น รวมทั้งผู้สนใจเข้ามาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี ทำให้วงการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ในเมืองไทยมีการตื่นตัวขึ้นมาอย่างเห็นได้ ชัด

“การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ที่มีคุณภาพต้องใช้เทคนิค ที่สูงทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ผลงานของคุณมติพล ใน APOD นับเป็นผลงานหนึ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งของคนไทยที่สามารถสร้างสรรค์ผล งานออกมาไม่น้อยหน้าชาวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะทำให้วงการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ของประเทศมี การตื่นตัว และพัฒนาทัดเทียมกับนานาชาติ” ดร.ศรัณย์กล่าว

 

 
 
 
ที่มา: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000017616
ที่มา: http://www.soccersuck.com/boards/topic/999560





 

 

 

Credit: http://board.postjung.com/745393.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...