วันวาเลนไทน์ อันตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ในฐานะวันแห่งความรัก
ที่คู่หนุ่มสาว สามีภรรยา หรือพ่อแม่ลูก จะแสดงความรักต่อกันด้วยการมอบดอกไม้และของขวัญ ในรัสเซียก็เช่นกันวันวาเลนไทน์ ได้รับความนิยมมากขึ้นภายหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 2534
แต่มี อยู่เมืองหนึ่งในรัสเซียที่ไม่เห็นด้วยกับค่านิยมนี้ โดยรัฐบาลท้องถิ่นของ "เมืองเบลโกรอด" (belgorod) ทางภาคตะวันตกของประเทศ ประกาศห้ามการเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์ เพราะไม่ใช่วัฒนธรรม และจิตวิญญาณอันแท้จริงของรัสเซีย อีกทั้งวันวาเลนไทน์ยังไม่ส่งเสริมสำนึก และคุณงามความดีให้กับเยาวชนอีกด้วย
การสั่งห้ามจัดงานเฉลิมฉลองวัน วาเลนไทน์ ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในปี 2554 หลังจากประชาชน และอาร์คบิชอฟแห่งคริสตจักรรัสเซียนออร์โธดอกซ์ ได้เสนอกฎหมายดังกล่าว และได้รับการลงนามในที่ประชุมของเมืองในปี 2553 โดยให้เหตุผลว่าเป็นการปกป้องศาสนาและสังคมส่วนรวมของเมือง ทำให้กิจกรรมดังกล่าวที่มีแผนจะจัดขึ้นถูกยกเลิกโดยทันที
โฆษกประจำ เมืองเบลโกรอดกล่าวว่า เราเห็นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมในวันวาเลนไทน์ แต่ทางเมืองจะสนับสนุนการจัดเทศกาลวอดก้าแทน ส่วนอาร์คบิชอฟแห่งเมืองเบลโกรอดมองว่า ตามธรรมเนียมรัสเซียแล้ว "ความรัก" คือการให้ความรักแก่ครอบครัวและความศรัทธาในพระเจ้า ซึ่งวันวาเลนไทน์เป็นวันที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมบริโภคนิยมแบบตะวันตกมาก เกินไป
จากผลสำรวจการเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์ในรัสเซีย โดยเฉพาะหนุ่มสาวพบว่า ร้อยละ 40 มีการเตรียมตัวฉลองวันวาเลนไทน์ ซึ่งส่วนมากจะมีอายุน้อยกว่า 24 ปี แต่มีมากถึงร้อยละ 44 จะไม่ออกไปเฉลิมฉลองอย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลว่าวันวาเลนไทน์เป็นวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ใช่วัฒนธรรมรัสเซีย
ตาม ธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมายาวนาน รัสเซียมีวันผู้หญิงคือวันที่ 8 มีนาคม และวันผู้ชายคือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ซึ่งเหมาะสำหรับการให้ของขวัญ มอบดอกไม้ แสดงความรักระหว่างชายหญิงได้ดีกว่าวันวาเลนไทน์ ภายหลังสภาพโซเวียตล่มสลาย คริสตจักรรัสเซียนออร์โธดอกซ์ ซึ่งเป็นนิกายที่เคร่งครัด กลับมามีอิทธิพลทางการเมืองและสังคมอีกครั้ง และมีส่วนในการชี้นำสังคมอย่างเช่น กรณีการห้ามฉลองวันวาเลนไทน์ เป็นต้น
ซ้ำขออภัยค่ะ