(จากซ้ายไปขวา) แฟรงค์ มอร์ริส, คลาเรนซ์และจอห์น แองกลิน
แต่ นั่นก็ไม่อาจหยุดยั้งเจ้าหน้าที่สหรัฐฯเพื่อสืบหานักโทษ 3 ราย ที่หลบหนีออกจากที่นี่เมื่อกว่า 50 ปีก่อน ตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ ต่างชี้ว่า แฟรงค์ มอร์ริส รวมถึง 2 พี่น้อง จอห์น และคลาเรนซ์ แองกลิน ต่างเสียชีวิตจากการต้องว่ายน้ำข้ามทะเลที่ตคลื่นแรงจัดและกระแสน้ำที่เย็น เฉียบของอ่าวซานฟรานซิสโก
แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่คิดว่าพวกเขาสามารถว่ายน้ำขึ้นฝั่งได้สำเร็จ และปกปิดตัวตนนับตั้งแต่นั้น
ข่าว ลือก็คือ ทั้งสามอาจกลับไปยังเกาะดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เนื่องในโอกาสครบรอบการหลบหนีครบ 50 ปี แม้ว่าจะยังเลือนรางว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นหรือไม่ แต่ทางการก็ได้เตรียมพร้อมแล้ว หากมีสิ่งใดๆที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
นัก โทษส่วนใหญ่ที่พยายามหลบหนี จาก"เดอะ ร็อค" หรือเกาะที่เป็นที่ตั้งของอัลคาทราส ถ้าไม่ถูกจับได้ พวกเขาก็ถูกวิสามัญ หรือไม่ก็จมน้ำตาย อัลคาทราซได้ชื่อว่าเป็นคุกที่ไมมีใครจะหลบหนีออกมาได้ ตลอดเวลาการใช้งาน 29 ปี ตั้งแต่ปี 1934 มีนักโทษที่พยายามหลบหนีออกจากเกาะอัลคาทราซทั้งสิ้น 36 คน แต่ไม่เคยมีใครทำสำเร็จ มี 2 คนที่พยายามถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ นักโทษ 23 คนถูกตามจับกลับมาและโดนทรมานปางตาย 6 คน ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการหลบหนี
แต่การหลบหนีในครั้งนั้น ซึ่งถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ท้าทายต่อมาตรการรักษาความมั่นคงของรัฐอย่าง ยิ่ง มีเพียงอุปกรณ์ช่วยเพียงไม่กี่ชิ้น ซึ่งรวมถึง ช้อน กระดาษเปเปอร์มาเชที่ปั้นเป็นรูปศีรษะ และชุดกันฝนที่ทำจากยาง
ภ
ารกิจการ หลบหนีครั้งประวัติศาสตร์เริ่มขึ้นจากการค่อยๆใช้ช้อนเจาะผนังคอนกรีตรอบๆ ท่อระบายอากาศในคุกที่พวกเขาถูกจองจำ และอุปกรณ์ทำมือที่ทำจากเครื่องดูดฝุ่น
เสียงการเจาะ ผนังถูกกลบด้วยเสียงการซ้อมแอคคอร์เดียน และกระดาษแข็งที่ค่อยๆถูกนำมาแปะข้างฝาอย่างแนบเนียน เมื่อช่องที่ผนังมีขนาดใหญ่ขึ้น และสบู่ที่ถูกนำมาเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการถอนหมุด
เมื่อจังหวะเหมาะมาถึง พวกเขาค่อยๆบีบตัวแทรกผ่านช่องที่เจาะไว้ และปีนขึ้นไปยังช่องลมบนเพดาน
ขณะ ที่ผู้คุม ที่มักจะตรวจเช็คนักโทษเป็นระยะๆ เข้าใจว่าทั้งสามนอนหลับตามปกติ เนื่องจากทั้งสามได้ใช้หน้ากากเปเปอร์มาเช วางไว้บนหมอน โดยได้นำเศษผมที่รวบรวมได้จากร้านตัดผมมาติดไว้ เพื่อตบตาว่าตนเองกำลังนอนหลับตามปกติ
กระทั่งทั้งสามปีนขึ้นไปอยู่บนหลังคา โดยไม่สนใจถึงไฟสป็อตไลท์ที่สอดส่องตลอดทั้งคืน ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปยังบริเวณรั้วไฟแรงสูง ในจุดที่เป็นจุดบอดที่แสงไฟส่องไปไม่ถึง ก่อนที่จะใช้เครื่องสูบลมที่ทำขึ้นเอง สูบลมเข้าไปในอุปกรณ์ที่คล้ายแพ ที่ทำจากชุดกันฝนยาง
ผู้หลบหนีคนที่สี่ไม่สามารถออกจาก ช่องลมได้ทัน เมื่อออกมาได้แล้วก็พบว่า 3 คนก่อนหน้านี้ ได้หลุดรอดออกไปยังอ่าวซานฟรานซิสโกแล้ว แต่พวกเขาจะได้เจอกับความตายหรืออิสรภาพ ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละคน เศษซากแพยางถูกพบบนเกาะที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ชะตากรรมของทั้งสามคนไม่ปรากฏนับตั้งแต่นั้น
พล.อ.ไม เคิล ไดค์ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ซึ่งยังคงคิดตามคดีดังกล่าวมานานกว่า 10 ปี แสดงความเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ทั้งหมดจะมีชีวิตรอด แต่ก็เป็นเรื่องที่พูดยาก ทางการจำเป็นต้องเปิดคดีนี้ไว้นับตั้งแต่เกิดเหตุ และเนื่องจากหมายจับยังคงมีผลบังคับใช้ ทางการจึงจำเป็นต้องสืบสวนคดีนี้ต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีการพบร่างของทั้งสาม และหลักฐานที่ได้รับส่วนใหญ่ก็ขาดน้ำหนักและความน่าเชื่อถือที่มากพอ โดยกว่า 99% เป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ
แต่หนึ่งเดือนหลังจากกรกฎาคม 1962 เจ้าหน้าที่เรือขนส่งสินค้าจากนอร์เวย์ พบเห็นศพหนึ่งลอยอยู่ในทะเล ห่างจากสะพานโกลเด้นเกตไปราว 15 ไมล์ โดยยังคงสวมเสื้อสีกากี และกางเกงทรงหลวม เช่นเดียวกับนักโทษ และไม่มีรายงานผู้สาบสูญระหว่างช่วงเวลานั้น เขาเชื่อว่านั่นอาจเป็นศพของแฟรงค์ มอร์ริส โดยเชื่อว่าสองพี่น้องแองกลินอาจจำเป็นต้องช่วยเหลือกันและกัน
ความ ลางเลือนของประวัติศาสตร์ในช่วงนั้น ได้ก่อให้เกิดเรื่องราวและตำนาน รวมถึงหนังสือและสารคดี ที่ยังคงตั้งคำถามต่อการหายสาบสูญของพวกเขา ว่าจมน้ำเสียชีวิตหรือรอดชีวิต ในปี 1979 ได้มีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Escape from Alcatraz โดยมีคลินต์ อีสต์วู้ด รับบทเป็นแฟรงค์ มอร์ริส ขณะที่รายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ได้จำลองสถานการณ์การหลบหนี และสรุปได้ว่าทั้งหมดอาจมีชีวิตรอด
พล.อ.ไดค์ ยังคงต้องเดินทางไปเกาะอัลคาทราซเป็นระยะๆ เช่นเดียวกับญาติของทั้งสามที่เหลืออยู่ไม่มากนัก เพื่อเตรียมพร้อมจับกุมได้ตลอดเวลา หากพวกเขาปรากฏตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวาระครบรอบ 50 ปี การหลบหนีของพวกเขา
ก่อน ที่จะปิดท้ายว่า ตำนานมักเริ่มมาจากที่ใดที่หนึ่ง และไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหน ตำนานเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เขาไม่คิดว่าจะเกิดเช่นนี้ขึ้นอีก
ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339488736&grpid=03&catid=03