ประโยชน์ของยาคูลท์ และ สงสัยไหมทำไมยาคูลท์ถึงมีแต่ขวดเล็ก
ยาคูลท์ (Yakult) เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์นับพันล้านตัว ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้มาจากการหมักนมกับน้ำตาลกลูโคส โดยใช้จุลินทรีย์ชิโรต้า ยาคูลท์ไม่ใช่เป็นเพียงนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต แต่เป็น “โพรไบโอติก (Probiotics)” หรืออาหารเสริมที่มีแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือ
แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ได้ถูกคัดเลือกมาโดยเฉพาะ เพราะมีความสามารถทนต่อสภาวะความเป็นกรดที่รุนแรงในกระเพาะอาหารของคนเรา และทนต่อความเป็นด่างที่รุนแรงของน้ำดี สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในลำไส้ และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้
สีที่เห็นเป็นสีเฉพาะตัวของยาคูลท์ เกิดจากปฏิกิริยาที่นมขาดมันเนยและน้ำตาลที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักของ กระบวนการผลิตยาคูลท์ได้ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยที่กรดอะมิโนในนมผงและน้ำตาลเมื่อถูกความร้อนก็จะทำให้สารละลายนมเปลี่ยน สีไปจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ เป็นปฏิกริยาทางเคมีเรียกว่า ปฏิกิริยา Caramelisation ส่วนรสชาติก็เป็นเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการหมักนมด้วยจุลินทรีย์ชิโรต้า นอกจากนี้การเติมน้ำตาลเข้าไปในยาคูลท์นั้น ก็เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่เหมาะสมแก่แบคทีเรีย ช่วยให้แบคทีเรียมีชีวิตอยู่ได้ระหว่างช่วงเวลาการเก็บรักษาจนถึงมือลูกค้า
ยาคูลท์ 1 ขาด ให้พลังงาน 71 kcal เเละมีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 3.5 ช้อนชา นอกจากนี้ที่ยาคูลท์มีแต่ขนาด 80 cc ขนาดเดียวเท่านั้น เป็นเพราะว่า ยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก
ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobaciius Balgaricu ร่วมกับStroptcoccus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต โดยปกติธรรมชาติแล้วจุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อย และหมักในทางเดินอาหาร ในส่วนที่ร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยได้ จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือ ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นกัน คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 cc. ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัส
โดยสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0 x 10 ( ยกกำลัง 9) ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดใหญ่พอๆ กับยาคูลท์ 6 ขวดเล็กรวมกันคงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่ เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450 cc. ขึ้นมาจริงๆ แล้ว ลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้ แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย
และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษได้ ปริมาณที่เเนะนำให้ทานวันเพียง 1 ขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่ว่าอะไร เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกต เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ยาคูลท์ คือ อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขวด และเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะทำงานให้เราได้ทันที