คุณป้าตัวเขียวถือคบเพลิงใหญ่ มาจากไหน
อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty) รูปปั้นสไตล์นีโอคลาสสิกขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนเกาะเสรีภาพ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นของขวัญจากฝรั่งเศส ที่มีไอเดียอยากจะสร้างโปรเจกต์ยักษ์ร่วมระหว่างสองประเทศ เนื่องในวันประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ครบรอบ 100 ปี เมื่อวัน 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 และส่งมอบอนุสาวรีย์เสร็จสมบูรณ์เมื่อ ค.ศ. 1886
แต่เดิมนั้น สหรัฐอเมริกามักแสดงรูปปั้นผู้หญิงสองคน ในฐานะสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ คนซ้ายเธอชื่อ "โคลัมเบีย" มาจากชื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา ส่วนคนขวาเธอคือ "เจ้าหญิงอินเดียนแดง" เป็นสัญลักษณ์ประเทศ
โดยรูปปั้นผู้หญิงนั้น อเมริกาได้แนวคิดจากธรรมเนียมอังกฤษ ที่เรียกว่า "บริสแทนเนีย (Britannia)" หรือเทพีแห่งเกาะอังกฤษ และ "มารียาน (Marianne)" สตรีผู้เป็นตัวแทนแห่งเสรีภาพและเหตุผลของฝรั่งเศส อเมริกาจึงรับอิทธิพลเหล่านี้ในช่วงต้นประวัติศาสตร์ และต่อมาได้สร้างรูปปั้นแห่งอิสรภาพบนยอดโดมอาคารรัฐสภา ระหว่าง ค.ศ. 1857-1862 ก่อนที่โปรเจกต์เทพีเสรีภาพจะผุดขึ้นมาเมื่อ ค.ศ. 1865
ศิลปินในช่วงศตววรษที่ 18-19 เป็นยุคสมัยของการต่อสู้ในแนวคิดสาธารณรัฐนิยม โดยเฉพาะในฝรั่งเศส และใช้เทพีเสรีภาพเป็นสัญลักษณ์เชิงเปรียบเทียบ อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพจึงมาจากแนวคิดฝรั่งเศส ถูกออกแบบโดย "Bartholdi" เป็นโครงร่างที่ไม่ซับซ้อนแต่แข็งแรง แสดงให้เห็นรูปผู้หญิงสวมเสื้อสโตลา (stola) หรือเสื้อคลุมหญิงโรมัน เพราะเธอเป็นเทพีโรมันแห่งอิสรภาพ (Libertas) มงกุฎสวมว่าเธอนั้น สวย สง่า เจ็ดแฉกเสมือนรัศมีดวงอาทิตย์ เปรียบได้กับเจ็ดทะเลหรือเจ็ดทวีป ส่วนมือขวาเธอถือคบเพลิง และมือซ้ายถือแท็บเล็ต หรือแผ่นจารึก ""JULY IV MDCCLXXVI (4 ก.ค. 1776)" วันประกาศอิสรภาพของอเมริกา
ตอนแรกอนุสาวรีย์ถูกสร้างด้วยบรอนซ์ สีทองแดง และใช้เวลาหลายปีผ่านแดดผ่านฝนจึงกลายเป็นคุณป้าตัวเขียวอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยความโดดเด่นนี้ เธอจึงถูกประกาศว่า เธอเป็นมรดกของโลก เมื่อ ค.ศ. 1984
ภาพที่ 1 อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ
ภาพที่ 2 รูปปั้นผู้หญิงสองคน สัญลักษณ์อเมริกาในยุคต้น
ภาพที่ 3 บริสแทนเนีย เทพีแห่งเกาะอังกฤษ
ภาพที่ 4 มารียาน เทพีแห่งอิสรภาพของฝรั่งเศส ค.ศ. 1848 ต้นแบบถูกเสนอให้เป็นอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ
ภาพที่ 5 รูปปั้นแห่งเสรีภาพ อาคารรัฐสภา กรุงวอชิงตัน ดีซี
ผู้ใดสนใจเรื่องราวของศิลปะ ติดตามได้ที่
https://www.facebook.com/artforhistory