เครื่องราชบรรณาการ สื่อไมตรีสยามสู่อังกฤษ-ฝรั่งเศส

 

 

 

 

 

 

แผ่นผ้ารูปพระแก้วมรกต ๓ ฤดู

หลังจากสยามมีนโยบายเปิดประเทศในรัชกาลที่๔ สยามประเทศจึงก้าวไปสู่สังคมใหม่ที่ต้องเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวตะวันตก พร้อมกับปรับปรุงวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวต่างชาติเคยดูถูกเหยียดหยามและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้าขายกับชาติตะวันตกให้ได้  อาทิตย์นี้ขอตามหาเครื่องราชบรรณาการที่คณะราชทูตไทยเดินทางไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีในประเทศยุโรปที่ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของประเทศนั้นๆ โดยสืบเนื่องมาจากสนธิสัญญาเบาว์ริง โดยพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษได้ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง(Sir John Bowring) ผู้ตรวจการค้าของอังกฤษจากฮ่องกง เป็นทูตเข้ามาเจรจาทำการค้ากับสยาม การเจรจาครั้งนั้นนับว่ามีความสำคัญในประวัติศาสตร์มาก ซึ่งทำให้มีข้อตกลงที่เสียสิทธิอำนาจการพิจารณาตัดสินคดีความต่างๆและยกเลิกภาษีแบบเก่าให้เก็บภาษีขาเข้าแทน โดยกำหนดให้รัฐบาลสยามเก็บได้เพียงร้อยละ ๓ของราคาสินค้าเท่านั้น ให้คนในบังคับอังกฤษมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาโดยเต็มที่ และสิทธิพิเศษต่าง ๆที่รัฐบาลสยามอนุมัติให้ประเทศอื่นอย่างใด จะต้องให้แก่รัฐบาลอังกฤษอย่างเดียวกันนั้นด้วย  สนธิสัญญานี้จะบอกเลิกไม่ได้ คือไม่มีกำหนดอายุเวลาและจะแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมพร้อมกัน

คณะราชทูตกับบาทหลวง

สาระสำคัญในสนธิสัญญาที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริงฉบับนี้ ทำให้สยามประเทศเสียเปรียบจำยอมทำสัญญา ซึ่งมีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๖ รวมระยะเวลาในการเจรจา ๘ วัน จากผลของสนธิสัญญากับอังกฤษครั้งนั้นได้ทำให้สยามเปิดประเทศ ด้วยเหตุนี้การแต่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ ทรงมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ ได้ทรงมีพระราชไมตรี ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง( Sir John Bowring) อัญเชิญพระราชสาส์นและนำเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายนั้นเห็นว่าจะได้ส่งคณะฑูตและเครื่องราชบรรณาการตอบแทน แต่เนื่องจากสยามไม่มีเรือที่สามารถเดินทางไปอังกฤษได้ จึงได้ขอให้อังกฤษส่งเรือมารับคณะทูตสยามไปยังประเทศอังกฤษ คราวนั้นได้โปรดฯ ให้พระยามนตรีสุริยวงศ์ ( ชุ่ม บุนนาค ) เป็นอัครราชทูตเจ้าหมื่นสรรเพชญภักดี เป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์ เป็นตรีทูตโดยมีหม่อมราโชทัย หรือ (ม.ร.ว. กระต่าย อิศรางกูร)เป็นล่าม อัญเชิญพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการไปถวาย สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๐ นับเป็นการส่งคณะทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีถึงทวีปยุโรปเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาชาติอื่นๆได้เห็นประโยชน์ทางการค้ากับสยาม จึงเข้ามาขอทำสัญญาอย่างเดียวกันกับอังกฤษตามลำดับดังนี้  พ.ศ.๒๓๙๙ ทำสัญญากับ สหรัฐอเมริกา และ ฝรั่งเศสพ.ศ.๒๔๐๑ ทำสัญญากับ เดนมาร์ก สันนิบาตแฮนซิเอติก และโปรตุเกส พ.ศ. ๒๔๐๓ไทยทำสัญญากับ ฮอลันดา และปรัสเซีย นอกจากนี้รัฐบาลสยามได้แต่งตั้งให้ เซอร์ยอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring) เป็นผู้แทนในการเจรจาทำสัญญากับเบลเยียม อิตาลี นอรเวย์ และสวีเดน อีกด้วย  ต่อมาวันที่๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๐รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ แต่งตั้งให้ เซอร์ยอห์น เบาว์ริง( Sir John Bowring )เป็นอัครราชทูตไทย ผู้มีอำนาจเต็มฝ่ายไทยประจำยุโรปคนแรก และ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ " ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯส่งคณะทูตสยาม ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส โดยให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ( แพ บุนนาค ) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ(เจิม แสงชูโต) เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิต(วร บุนนาค)เป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปฝรั่งเศสในปี พ.ศ.๒๔๐๔ โดยขบวนเรือของกองทัพฝรั่งเศส คณะฑูตสยามได้ทูลถวายพระราชศาสน์และเครื่องราชบรรณาการแด่พระเจ้านโปเลียนที่๓แห่งประเทศฝรั่งเศส (Napoleon III of France)

คณะราชทูตเข้าเฝ้าฯ พระเจ้านโปเลียนที่ ๓ ฝรั่งเศส

 

วอสีวิกา

การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างราชสำนักสยามกับอังกฤษและฝรั่งเศสครั้งนั้น ได้มีการจัดเครื่องราชบรรณาการ ทูลถวายเป็นพระเกียรติยศแด่พระเจ้าแผ่นดินทั้งสองประเทศ  เช่น พระมหามงกุฎ เครื่องราชูปโภคทองคำ พระราชยานกง พระกลด เครื่องมหัคฆภัณฑ์ต่างๆ เครื่องสูง  และอื่นๆ เป็นต้นนับเป็นการประกาศภูมิศิลปกรรมของช่างศิลป์แห่งสยามประเทศให้ปรากฏในทวีปยุโรปครั้งแรก  แตกต่างจากการส่งสินค้าแลกเปลี่ยนอย่างที่เคยมีมาแต่ครั้งอยุธยา เครื่องราชบรรณาการนี้จึงเป็นสื่อวัฒนธรรมที่นำประเทศเข้าสู่ประชาคมโลกว่ามีศิลปกรรมงดงามไม่แพ้ใคร

พระธำมรงค์ทอง

 

พระมหามงกุฎ

 

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

 

กริชฝักทอง

 

พระที่นั่งกง

 

พระยาศรีพิพัฒน์ฯ

 

หม่อมราโชทัย-ล่าม

 

พระเจ้ากรุงสยาม ร.๔

ที่มา: http://www.naewna.com/local/89559
Credit: http://board.postjung.com/743950.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...