ใครจะไปเที่ยวประเทศ "บราซิล" ควรทำความรู้จักกับ "โรคไข้เหลือง" (Yellow fever) และฉีดวัคซีน

 

 

 

 

 

ไข้เหลือง (Yellow fever)

 

 

 

 

 

ไข้เหลือง เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ในทวีปอัฟริกา และอเมริกา มาตั้งแต่ 400 ปีก่อน อาการของโรคมีได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงรุนแรงและเสียชีวิต  คำว่า “เหลือง” มาจากอการตัวเหลืองหรือดีซ่าน (Jaundice) ที่มักพบในผู้ป่วย ถึงแม้จะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลดีใช้มานาน 60 ปี แต่จำนวนของผู้ติดเชื้อในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาก็ยังเพิ่มขึ้น  ทำให้โรคไข้เหลืองกลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน

สาเหตุของโรค โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสไข้เหลือในกลุ่ม flavivirus ในอัฟริกา แยกตามพื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เป็น 2 genetic types ในอเมริการใต้มี 2 types  อย่างไรก็ตามนับแต่ปี ค.ศ.1974  ที่อเมริกาใต้พบเพียง type เดียวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เหลือง

อาการ เชื้ออาศัยอยู่ในร่างกายของคน โดยมีระยะฟักตัว 3-6 วัน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก (acute phase) จะมีอาการไข ปวดกล้ามเนื้อร่วมกับปวดหลัง  ปวดศีรษะ หนาวสั่น  เบื่ออาหาร คลื่นไส้  อาเจียน  พบบ่อยว่าผู้ป่วยจะมีไข้สูงร่วมกับชีพจรเต้นช้าผิดปกติ  หลังจาก 3-4 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น อย่างไรก็ตาม 15% ของผู้ป่วยจะข้าสู่ระยะสอง (toxic phase)  ภายใน 24 ชั่วโมง จะมีอาการไข้กลับ ตัวเหลือง ปวดท้อง  อาเจียน  มีเลือดออกจากปาก จมูก ตา กระเพาะอาหาร ทำให้อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด จนถึงไตวาย  มีโปรตีนปัสสาวะ (albuminuria)  และปัสสาวะไม่ออก (anuria) ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยระยะโลหิตเป็นพิษจะเสียชีวิตภายใน 10-14 วัน ที่เหลือจะหายเป็นปกติโดยอวัยวะต่างๆ ไม่ถูกทำลาย

การวินิจฉัยแยกโรคไข้เหลืองค่อนข้างยาก โดยเฉพาะในระยะแรกจะมีอาการคล้ายโรคมาลาเรียร  ไทฟอยด์ ริคเกตเซีย  ไข้ลาสสา (Lassa) ไข้เด็งกี่  เลปโตสไปโรซิส  ตับอักเสบ  หรือการได้รับสารพิษ เช่น  คาร์บอนเตตราคลอไรด์  การวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทำในรายที่สงสัยโดยการเจาะเลือดตรวจโดย serology assays  เพื่อหาแอนติบอดีต่อไข้เหลือ

พื้นที่เกิดโรค ในพื้นที่เขตร้อนแถบอัฟริการและอเมริกาที่มีไข้เหลืองเป็นโรคประจำถิ่น  จะมีเชื้อไวรัสคงอยู่ทั่วไปในระดับต่ำ แต่สามารถแพร่ขยายเกิดเป็นการระบาดได้ ในช่วงต้นของศตวรรษนี้  เคยมีการระบาดเกิดขึ้นในยุโรป  หมู่เกาะคาริบเบียน  อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง  ถึงแม้ปัจจุบันจะไม่ปรากฏเชื้อไวรัสในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว  แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดได้  มีประชากร 468 ล้านคนใน 33 ประเทศ บริเวณ 15 องศาเหนือ  ถึง 10 องศาใต้ จากเส้นศูนย์สูตรของทวีปอัฟริกาที่เสี่ยงต่อโรคไข้เหลือง ในทวีปอเมริกา ไข้เหลืองเป็นโรคประจำถิ่นใน 9 ประเทศแถบอเมริกาใต้ และที่หมู่เกาะคาริบเบียน ประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่  โบลิเวีย  บราซิล  โคลัมเบีย  เอกวดอร์  และเปรู  ประมาณว่ามีผู้ป่วย 200,000 ราย และเสียชีวิต 30,000 รายต่อปี  อย่างไรก็ตาม  จำนวนผู้ป่วยดังกล่าวเป็นเพียงส่วนน้อยที่มีการรายงาน  และยังมีการพบผู้ป่วยในประเทศที่ปลอดจากไข้เหลือง (imported cases) ถึงแม้ไม่เคยมีรายงานไข้เหลือในทวีปเอเซีย  แต่ทวีปนี้ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากยุงและลิง

การติดต่อ  การติดเชื้อเกิดในคนและลิง  โดยติดต่อจากคนสู่คน (horizontal transmission) และมียุง Aedes และ Haemogogus (พบในทวีปอเมริกาเท่านั้น)  ซึ่งสามารถปล่อยเชื้อผ่านไปยังไข่ที่จะกลายเป็นลูกยุงต่อไป (Vertical transmission)  ดังนั้น ยุงจึงเป็นแหล่งรังโรคที่แท้จริงของไวรัสไข้เหลือ  ยุงเหล่านี้มีทั้งยุงบ้านและยุงป่า  ในอดีตเชื่อว่า การควบคุมโรคที่ได้ผล คือ การกวาดล้ารงแหล่งที่อยู่ของยุงโดยเฉพาะในอเมริกาใต้ อย่างไรก็ตาม 30 ปีที่ผ่านมาพิสูจน์ว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผลและจำนวนประชากรยุงกลับเพิ่มขึ้น  ทำให้เกิดการระบาดของไข้เหลือง

การติดเชื้อในคน  มีวงจรการติดต่อได้ 3 แบบ คือ ในป่า (sylvatic) กึ่งป่ากึ่งเมือง (intermediate)  และในเมือง (urban) ทั้ง 3 วงจรพบในอัพริกา  แต่ในอเมริกาใต้พบเฉพาะ sylvatic กับ urban

ไข้เหลืองในป่า (sylvatic หรือ jungle) พบแถบ savannahs ของทวีปอัฟริกา  ซึ่งมีอากาศกึ่งชุ่มชื้น ทำให้มีการระบาดเกิดขึ้นบ้าง แต่จะแตกต่างจากการระบาดในเมือง เนื่องจากหมู่บ้านจะอยู่ห่างกัน  ทำให้มีผู้เสียชีวิตน้อย  โดยยุง (Semi-domestic) รับเชื้อจากคนและลิง  พื้นที่บริเวณนี้บางทีเรียก zone of emergence เพราะมีการสัมผัสระหว่างคนกับยุงที่มีเชื้อซึ่งทำให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น  รูปแบบการระบาดในลักษณะนี้พบมากที่สุดในอัฟริกาในปัจจุบัน และยังสามารถเปลี่นรูปแบบการระบาดเป็นแบบรุนแรงในเมืองใต้ (severe urban-type) ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแพร่เชื้อ (มียุงบ้านและคนไม่ได้รับวัคซีน)

ไข้เหลืองในเมือง (urban)  การระบาดใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อนักท่องเที่ยวที่ติดเชื้อข้าไปแพร่เชื้อในชุมชนที่มีประชากรอยู่หนาแน่น  ยุงลายตามบ้าน (Aedes aegypti) จะเป็นพาหะนำเชื้อจากคนสู่คน  การระบาดรูปแบบนี้จะทำให้เกิดการแพร่กระจายเป็นวงกว้างได้

การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะสำหรับโรคไข้เหลือง เน้นการรักษาตามอาการด้วยการให้ยาลดไข้และสารน้ำทางปาก เพื่อลดไข้และทดแทนภาวะขาดน้ำ

 

 

การป้องกัน การฉีดวัคซีนเป็นมาตรการเดียวที่สำคัญที่สุดในการป้องกันไข้เหลือง ในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมของวัคซีนต่ำ  จะต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและมีการควบคุมโรคที่รวดเร็ว มาตรการกำจัดยุงยังจำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสจนกว่าจะมีการฉีดวัคซีนได้ครอบคลุม

 

 

 

คนที่จะไปเที่ยวประเทศบราซิลต้องไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง

ก่อนเดินทางอย่างน้อย 10 วัน  ในกรุงเทพก็ที่สภากาชาดไทย

ราคาประมาณ 690 - 900 บาท

 

 

 

 

ซ้ำขออภัยค่ะ

 

รูปประกอบ  :  Google

Credit: http://women.postjung.com/741094.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...