ไทยดรีม

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ตำนานนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกัน เคยกล่าวสุนทรพจน์ลือลั่นในประวัติศาสตร์ว่า "I have a Dream"

มีเนื้อหาสำคัญที่กล่าวถึงความฝันว่าคนในชาติจะเท่าเทียมกัน คนผิวดำไม่ถูกเหยียดเป็นพลเมืองชั้นสองอีก

เป็นความฝันที่เชื่อมโยงถึง "อเมริกันดรีม" ดินแดนแห่งเสรีภาพที่เป็นโอกาสสำหรับทุกคนทุกชนชั้น

ส่วนมหาอำนาจเอเชียอย่างจีน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เริ่มสโลแกน "ไชน่าดรีม" ในปีก่อน เพื่อกระตุ้นให้คนในประเทศโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ตื่นตัวร่วมพัฒนาประเทศให้มั่งคั่งโดยไม่ลืมความเป็นสังคมนิยม

สำหรับประเทศไทย หากคิดถึงความฝันในหลักการแบบนี้ น่าสนใจว่าจะเป็นแบบใด




แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอาจเป็นแบบร่างที่มองถึงอนาคตของประเทศในช่วงเวลาทุก 5 ปี จัดทำโดยผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน 

แต่หากเป็นความฝันของประชาชนคนธรรมดาแล้ว คงไม่ใช่มาจากความคิดและการวางแผนของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่ม

ความฝันของคนรากหญ้าเคยสะท้อนในการต่อสู้เมื่อปี 2553 ว่าต้องการความเท่าเทียมในสังคม การกระจายอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ

เป็นความฝันที่ถูกสลายด้วยการใช้กำลังและลงเอยด้วยความตาย 99 ศพ

ส่วนความฝันของชนชั้นกลางในปี 2556 ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูป มีเนื้อหาต่อต้านคอร์รัปชั่น กวาดล้างระบบเครือญาติ

แต่ก่อข้อขัดแย้งเพราะขอทำด้วยวิธีการและความคิดเฉพาะกลุ่มที่คิดว่ามีปัญญาและคุณธรรมพิเศษ



เมื่อความฝันของไทย หรือ "ไทยดรีม" แตกออกเป็นสองขั้ว จึงเป็นเรื่องที่จะต้องหาหนทางประสานความฝันในจุดร่วมที่พอมีได้

แต่การจำกัดวงเพื่อสานความฝันด้วยการปิดกั้นโอกาสของคนกลุ่มอื่น มีแต่จะทำให้ความฝันเป็นฝันร้าย

และจะเลวร้ายลงไปอีกถ้ากำหนดความฝันของตนเองแล้ว ระรานความฝันของผู้อื่น

ใครที่ไม่ทำตามวิถีที่ตนคิดขึ้นฝันขึ้น เท่ากับผิด

ถ้าเยาวชนนักกีฬาอย่างเมย์ รัชนก อินทนนท์ ที่สร้างความสุขให้คนไทยทั้งประเทศ ถูกตำหนิอย่างไร้เหตุผลว่าไม่รักชาติ เพียงเพราะเดินทางไปลงคะแนนเลือกตั้ง??

นี่คือความฝันแบบไหนกัน

#ไทยดรีม
FREE ME
Associate Producer
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
5 ก.พ. 57 เวลา 11:33 850 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...