โซนเวลาโลกคืออะไร

           หลายประเทศเริ่มพิจารณาที่จะปรับเปลี่ยนเขตเวลา เพื่อให้เหมาะสมและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ โดยในส่วนของไทยเคยมีแนวคิดที่จะปรับโซนเวลา ให้เท่ากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจ หลายคนอาจสงสัยว่า โซนเวลาคืออะไร 

           เดิมทีมนุษย์จะสังเกตเวลาตามพระอาทิตย์ แต่เมื่อปี 1884 ได้มีการจัดประชุมความตกลง 25 ประเทศ เพื่อกำหนดเส้นแบ่งเขตเวลาตามหลักภูมิศาสตร์ โดยที่ประชุมได้ลากเส้นแบ่งกึ่งกลางโลก เราเรียกเส้นนี้ว่า อีเควเตอร์ ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและใต้ จากนั้นก็แบ่งเส้นลองติจูด ออกเป็น 24 เส้น จากทั้งหมด 360 องศารอบโลก แต่ละเส้นอยู่ห่างกัน 15 องศา คิดเป็นเวลาห่างกัน 1 ชั่วโมง เส้นแรกคือ ลองติจูดที่ศูนย์องศา อยู่ที่เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ เรากำหนดเส้นนี้ว่า เส้นเวลามาตรฐานกรีนิช หรือ GMT ซึ่งมาจากคำว่า Greenwich Mean Time เส้นที่อยู่ทางตะวันออกของ GMT เวลาจะเร็วกว่า ส่วนเส้นที่อยู่ทางตะวันตกเวลาจะช้ากว่า สำหรับประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 105 องศาตะวันออก เวลาเร็วกว่ากรีนิช 7 ชั่วโมง บางประเทศมีขนาดใหญ่อย่างเช่น สหรัฐฯ และรัสเซียก็จะมีมากกว่า 1 โซนเวลา 

อย่างไรก็ตามมีหลายประเทศที่เตรียมปรับเปลี่ยนโซนเวลา ที่กำหนดไว้แต่เดิม ซึ่งสเปนเป็นประเทศล่าสุด ที่สภากำลังเสนอให้มีการเปลี่ยนโซนเวลาให้ช้าลงกว่าเดิม 1 ชั่วโมงให้เขตเวลาเดียวกับอังกฤษและโปรตุเกส จากเดิมสเปนยึดโซนเวลาเดียวกับนาซีเยอรมันมากว่า 70 ปีแล้ว ทั้งนี้เพื่อช่วยให้พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การนอนหลับ และการทำงานของชาวสเปนเปลื่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หลังใช้โซนเวลาผิดมากว่า 7 ทศวรรษ 

ในส่วนของไทยก็เคยมีแนวคิดปรับเปลี่ยนเวลามาตรฐาน ให้เท่ากับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เคยมีการหยิบยกประเด็นนี้มาวิพากษ์วิจารณ์แล้วครั้งหนึ่งในช่วงปี 1993 โดยจะปรับเวลาไทยให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง เป็นเวลาเดียวกับสิงคโปร์และฮ่องกง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้เทียบเท่ากับสองประเทศ แต่แนวคิดดังกล่าวก็เงียบหายไป 

แต่ต่อมาเมื่อปี 1995 การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพ ก็ได้มีการเสนอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้โซนเวลา เดียวกัน ที่มีชื่อว่า Asean Common time หรือ ACT เพื่อเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในประชาคมอาเซียน ที่สำคัญเป็นผลดีทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศสมาชิกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะจะช่วยให้การติดต่อค้าขายและการเจรจามีความสะดวกปราศจากอุปสรรคความแตก ต่างกันเรื่องโซนเวลา ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เวลามาตรฐานอาเซียน และเห็นว่าการปรับเวลาท้องถิ่นของชาติสมาชิกจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ประจำวันของประชาชนมากนัก เนื่องจากอาเซียนไม่ต้องปรับเวลาออมแสง

Credit http://variety.thaiza.com/

Credit: http://www.unigang.com/Article/17201
3 ก.พ. 57 เวลา 22:56 1,011 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...