มารู้จักกับผู้หญิงที่เก่งกว่าไอน์สไตน์

 ผู้อ่านอาจจะแปลกใจและสงสัยว่า  ในโลกเรานี้ยังมีคนที่เก่งกว่า
ไอน์สไตน์อีกหรือ  ในเมื่อไอน์สไตน์  ก็เป็นผู้สุดยอดอัจฉริยะที่ทราบและ
ยอมรับกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว

    ก็คงจะต้องมากำหนดขอบเขตหรือขีดวงกันสักเล็กน้อยก่อน  
มิฉะนั้น ก็จะมีผู้คัดค้านหรือแย้งได้ ก็มีผู้ที่เก่งกว่าอย่างเช่น  สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า  หรือมหาตมา คานธี  

    คำว่า "เก่ง" เพียงคำเดียว ก็เถียงกันไม่รู้จบแล้ว

    บางคนบอกว่า  จบปริญญาเอก เป็น ดร. แล้ว  เก่งที่สุด
บางคนบอกว่า  จบปริญญาเอกทางด้านกีฏวิทยา  ถ้ามีผู้ถามปัญหาด้าน
คอมพิวเตอร์ หรือเศรษฐศาสตร์  ก็อาจตอบไม่ได้แล้ว

    บางคนบอกว่า  คนไทยสมัยก่อน เก่งกว่าผู้จบปริญญาเอกสมัยนี้
ก็มี  ยกตัวอย่าง  ท่านสุนทรภู่   ท่านไม่ได้เก่งและชำนาญเฉพาะด้าน
วรรณกรรม  การแต่งนิราศ นิทาน สุภาษิต บทละคร บทเสภา บทเห่กล่อม
พระบรรทม  

    ท่านยังได้มี ความเชี่ยวชำนาญในการเลือกใช้ถ้อยคำอย่าง
เหมาะสม  เพื่อใช้พรรณนาเนื้อความในกวีนิพนธ์  สร้างขนบการประพันธ์
กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่  มีจินตนาการที่กว้างไกล  และมีแนวคิด 
สมัยใหม่แบบตะวันตก  

    ท่านยังรอบรู้ในเรื่องต่าง ๆ อีกมากมาย  เช่น  ด้านพุทธศาสนา  
ดาราศาสตร์  โหราศาสตร์  วรรณคดีของประเทศต่าง ๆ  พืชพันธุ์ไม้  สมุนไพร 
สัตว์  ดินฟ้าอากาศ  และอื่น ๆ  อีกมากมาย

    บางคนอาจจะบอกว่า  คนเก่ง คือ คนที่สามารถเอาชนะกิเลสได้
เท่านั้น  จึงจะเรียกว่า คนเก่ง  

    พอครับ  เดี๋ยวจะไปกันใหญ่   ขอให้ท่านผู้อ่านช่วยคิดต่อก็แล้ว
กันครับ  ว่า  อย่างไรจึงจะเรียกว่า  "คนเก่ง"  และคนเราจะเก่งทุกอย่าง
เป็นไปได้หรือไม่    และทำอย่างไรจึงจะเป็นทั้งคนเก่งและคนดี


>> สกุนตลา  พบ  ไอน์สไตน์



 

 


    กลับมาเรื่องมารู้จักกับคนที่เก่งกว่าไอน์สไตน์ กันก่อน   
คำว่า "เก่งกว่า" ในที่นี้ คงจะต้องจำกัดเฉพาะ  "คณิตศาสตร์" เท่านั้น

    เรื่องนี้  Osho  นักปราชญ์ชาวอินเดียเป็นผู้เขียน  เรื่องมีอยู่ว่า ...

    ในอินเดียมีสุภาพสตรีผู้หนึ่งชื่อว่า  สกุนตลา  เธอได้เดินทางไป
รอบโลกและได้เยือนมหาวิทยาลัยแทบทุกมหาวิทยาลัย  เพื่อสาธิตการใช้
ปัญญาญาณของเธอ  เธอมีการศึกษาแค่ระดับมัธยมปลาย  และเธอก็ไม่ใช่
นักคณิตศาสตร์  

    ในช่วงที่  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ยังมีชีวิตอยู่นั้น  เธอได้เคยเข้าไป
สาธิตเรื่องนี้ต่อหน้าของเขา  ด้วยการนั่งอยู่หน้ากระดานดำในมือถือชอล์กอยู่
ให้คนตั้งโจทย์อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์  บางครั้งขณะที่ยังถาม
ไม่ทันเสร็จ  เธอก็เริ่มเขียนคำตอบลงบนกระดานดำแล้ว

    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ได้มอบวุฒิบัตรให้กับเธอ  และเธอก็เคย
โชว์วุฒิบัตรนี้ต่อข้าพเจ้า ( Osho - ผู้เขียน)  เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเดินทางไปยัง
เมืองมัทดราส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอ  เธอได้นำวุฒิบัตรมากมายมาให้
ข้าพเจ้าดู  และหนึ่งใบนั้น ก็คือใบที่ไอน์สไตน์เขียนไว้ว่า

    "ข้าพเจ้าได้ให้สุภาพสตรีท่านนี้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ซึ่ง
โดยปกติแล้ว  ข้าพเจ้าจะต้องใช้เวลาถึง ๓ ชั่วโมงในการแก้ปัญหาตาม
กรรมวิธี ตามขั้นตอน  สำหรับผู้ที่ไม่เคยแก้ปัญหาทำนองนี้ อาจต้องใช้
เวลาถึง ๖ ชั่วโมง  มีวิธีทำที่ยาวจนต้องเขียนเต็มกระดาน  ไม่มีทางที่จะ
กระโดดข้ามขั้นตอนเข้าไปหาคำตอบได้เลย ..." 

    แต่แล้วไอน์สไตน์ก็ต้องแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะขณะที่เขา
เขียนโจทย์ยังไม่ทันจะเสร็จ  สกุนตลาก็เริ่มเขียนคำตอบลงบนกระดานแล้ว
ไอน์สไตน์งงมากและคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้

    เขาถามเธอว่า "คุณทำได้อย่างไร ?  สกุนตลา ตอบว่า  "ไม่รู้
เหมือนกันว่าฉันทำได้อย่างไร  มันเป็นสิ่งที่อยู่ดี ๆ ก็ผุดขึ้นมา  พอคุณตั้ง
โจทย์ ตัวเลขต่าง ๆ ก็ปรากฏแก่ฉัน  ฉันเห็นเลขต่าง ๆ เต็มไปหมด  ฉันก็
ได้แต่เพียงแค่เขียนตามมันไปเรื่อย ๆ  เท่านั้น"

    สุภาพสตรีผู้นี้เกิดมาพร้อมกับปัญญาญาณที่ทำงานอยู่ในตัว
ของเธอ  (ปัญญาญาณ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Intuition"  หรือ
ภาษาไทยว่า "การรู้แบบปิ๊งแว้บ" - ผู้เขียน)

    แต่ช่างเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเหลือเกิน ที่เธอทำหน้าที่เป็นเพียงแค่
ผู้ที่สาธิตเรื่องดังกล่าวเท่านั้น  ไม่มีใครสนใจว่า  ผู้ที่มีปัญญาญาณระดับนี้
สามารถเข้าถึงสภาวะแห่งการรู้แจ้งได้ง่ายมาก  ไม่มีใครตระหนักในเรื่องนั้น
ทุกคนมัวแต่ไปให้ความสนใจในประเด็นที่เห็นว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด
ของธรรมชาติมากกว่า

    (สรุปว่า  สกุนตลาสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้รวดเร็ว
มาก สามารถให้คำตอบได้ทันที  เร็วกว่าไอน์สไตน์ ซึ่งปกติไอน์สไตน์จะต้อง
ใช้เวลาแก้ปัญหาถึง ๓ ชั่วโมง จึงเป็นผู้ที่เก่งกว่า - ผู้เขียน)



*+*+*+*

อ้างอิง  :  OSHO,  ปัญญาญาณ  INTUITION :  KNOWING  BEYOND 
              LOGIC  ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด แปลและเรียบเรียง (กรุงเทพฯ :
              บริษัท ใยไหม ครีเอทีฟ กรุ๊ป จำกัด), ๒๕๔๘.


>>  มาทำความรู้จักกับสกุนตลา  สักเล็กน้อย 





    
SHAKUNTALA DEVI - Mathematician

Shakuntala Devi is generally known as a 'Human Computer' because 
of her extraordinary talents in solving complex mathematical problems
without any mechanical aid. She also found her place in the Guinness 
book of records as a result of her extraordinary talents. Nowadays, 
apart from solving mathematical problems, she is utilising her 
amazing talent in the field of astrology. 

She was born in 1939 in Bangalore, Karnataka. Manifested with an 
extraordinary love for numbers at the age of 3, she became an expert
in complex mental arithmetic at the age of five. On 18 June 1980, 
Shakuntala Devi gave the product of two, thirteen digit figures after 
multiplying them within 28 seconds. Many countries have invited 
Shakuntala Devi to demonstrate her extraordinary talent. Today, she
 is acclaimed as an accomplished mathematician.

อ้างอิง :
http://countryandculture.blogspot.com/2008/06/shakuntala-devi-
mathematician.html

*+*+*+*

Shakuntala Devi is a calculating prodigy  who 
was born on November 4, 1939  in Bangalore, India. Her father 
worked in a circus as a  trapeze and tightrope performer, and later 
as a human cannonball.  Her calculating gifts first demonstrated 
themselves while she was doing card tricks with her father when she 
was three. They report  she "beat" them by memorization of cards 
rather than by sleight of hand. By age six she demonstrated her 
calculation and memorization abilities at the University of Mysore. 
At the age of eight she had success at Annamalai University by 
doing the same.

Unlike many other calculating prodigies, for example Truman Henry 
Safford, her abilities did not wane in adulthood. In 1977 she extracted
the 23rd root of a 201-digit number mentally. On June 18, 1980 she 
demonstrated the multiplication of two 13-digit numbers 
7,686,369,774,870 x 2,465,099,745,779 picked at random by the 
Computer Department of Imperial College, London. She answered 
the question in 28 seconds. However, this time is more likely the time
for dictating the answer (a 26-digit number) than the time for the 
mental calculation (the time of 28 seconds was quoted on her own 
website). Her correct answer was 
18,947,668,177,995,426,462,773,730. This event is mentioned on 
page 26 of the 1995 Guinness Book of Records ISBN 0-553-56942-2.

In 2006 she has released a new book called In the Wonderland of 
Numbers with Orient Paperbacks which talks about a girl Neha and 
her fascination for numbers.

อ้างอิง  :
http://answers.yahoo.com/question/index?qid=20080503013638A
AZ6G15

 

เรียบเรียง  http://www.oknation.net/blog/surasakc/2010/03/24/entry-1

Credit: http://www.unigang.com/Article/17165
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...