ละ ฐานันดรศักดิ์ในกฎมณเฑียรบาล ราชวงศ์ชิง
ลำดับเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงชายแมนจู
หวงตี้ (ฮ่องเต้)
หวงไท่จือ หรือ สมเด็จพระยุปราช รัชทายาท แม้จะทรงฉลองพระองค์ด้วยชุดของฉินหวัง แต่ก็ทรงอยู่เหนือกว่าฉินหวัง แต่ต่ำกว่าหวงตี้
องค์ชายหรือ "หวงจื่อ" หมายถึง พระโอรส ของจักรพรรดิ เรียกว่า อาเกอ (阿哥) ซึ่งเป็นการเรียกโดยไม่ระบุถึงตำแหน่งหรืออิสริยยศที่ได้รับ องค์ชายที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์จะเรียกว่า หวงไท่จื่อ (皇太子) รองจากหวงไท่จื่อ จะเป็นตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ที่องค์ชายหรือเชื้อพระวงศ์ชายอื่นๆ สามารถดำรงตำแหน่งได้ในราชสำนัก สามารถแบ่งได้ 12 ตำแหน่ง หากมีทายาทเป็นผู้สืบทอด จะมีตำแหน่งต่ำลงมาหนึ่งขั้น ในที่นี้จะพูดถึงตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายที่สำคัญ 6 ตำแหน่งแรก ซึ่งได้แก่
หยู่ปาเฟิงกง หรือ 8 เชื้อพระวงศ์ชายชั้นสูงของแมนจู
1.เหอซั่วฉินหวัง หรือ สมเด็จพระราชาชั้นเอก บางครั้งก็หมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้าชายชั้นเอกได้เช่นกัน สามารถครองแคว้นต่างๆในจีนได้ หรือบางพระองค์อาจจะไม่ครองแคว้นก็ได้ "ชินอ๋อง" ส่วนมากเป็นพระโอรส พระเชษฐา หรือพระอนุชาในองค์จักรพรรดิ หากองค์ชายที่ดำรงตำแหน่งชินอ๋องนี้ เป็น "เถี่ยเม่าจื่อหวัง" (鐵帽子王) แปลตรงตัวได้ว่า "อ๋องหมวกเหล็ก" หมายถึง ได้รับอนุญาตให้สืบทอดตำแหน่งต่อได้โดยไม่ต้องลดตำแหน่งลงหนึ่งขั้น
ฉินหวังซื่อจือ หรือ โอรสองค์โตในสมเด็จพระราชาฉินหวัง หากมีชีวิตยืนยาวและสร้างผลงาน จะได้รับการแต่งตั้งเป็นจุ้นหวัง หรืออาจจะได้แทนตำแหน่งของพระบิดา ขึ้นเป็นฉินหวัง
2.ตัวหลัวจุ้นหวัง "จวิ้นอ๋อง" รองจากชินอ๋อง ลำดับที่ 2 หรือ สมเด็จพระราชา บางครั้งก็หมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้าชายชั้นโท สามารถครองแคว้นต่างๆในจีนได้ หรือบางพระองค์อาจจะไม่ครองแคว้นก็ได้ หากองค์ชายที่ดำรงตำแหน่งจวิ้นอ๋องนี้เป็นอ๋องหมวกเหล็ก จวิ้นหวังจ๋างจื่อ (郡王長子) หรือพระโอรสในจวิ้นอ๋องที่เป็นผู้สืบทอดก็จะได้ตำแหน่งเป็นจวิ้นอ๋องต่อจากบิดา
3. ตัวหลัวเป้ยเล้อ หรือ เจ้าชาย,ท่านชาย ชั้นยศฝ่ายชาย ลำดับที่ 3 ส่วนมากเป็นพระโอรสหรือพระนัดดาในองค์จักรพรรดิ (พระโอรสผู้สืบทอดในจวิ้นอ๋องที่ไม่ได้เป็นอ๋องหมวกเหล็ก ก็จะได้ตำแหน่งเป็นเป้ยเล่อเช่นกัน
4.กู้ซานเป้ยจือ หรือ เจ้าชาย,ท่านชาย ชั้นยศฝ่ายชายลำดับที่ 4 ซึ่งโอรสของจักรพรรดิทุกองค์ที่มีอายุเกิน 13 ปีขึ้นไป จะต้องได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งนี้ก่อน และหากเข้ารับราชการหรือสร้างผลงาน แล้วจึงค่อยๆขยับฐานันดรศักดิ์ไปเรื่อยๆ
5.เฟิ้งเอินเจวิ้นกั๋วกง หรือ เจ้าชาย,ท่านชาย ลำดับที่ 5 โอรสผู้สืบทอดในเป้ยจื่อ จะได้ตำแหน่งเป็นเจิ้งกั๋วกงตามศักดิ์
6.เฟิ้งเอินฟู่กั๋วกง หรือ เจ้าชาย,ท่านชาย "ฝู่กั๋วกง" ลำดับที่ 6 โอรสผู้สืบทอดในเจิ้งกั๋วกง จะได้ตำแหน่งเป็นฝู่กั๋วกงตามศักดิ์
ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชายทั้ง 6 ตำแหน่งข้างต้น รวมถึงตำแหน่งผู้สืบทอดชินอ๋อง (世子) และผู้สืบทอดจวิ้นอ๋อง (長子) ทั้งหมด 8 ตำแหน่ง เรียกรวมว่า หรู้ปาเฟินกง (入八分公) ถือเป็นเชื้อพระวงศ์ชายชั้นสูง ใช้สรรพนามเรียกเป็นองค์ชายหรือท่านชาย โดยขึ้นอยู่กับการสืบสายเลือดทางบิดากับจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ตำแหน่งอื่นนอกจากนี้ถือเป็นเชื้อพระวงศ์ชายชั้นล่าง
ทั้งสองลำดับสุดท้าย มักจะเรียกสั้นๆว่า กั๋วกงการจะดูว่า เป้ยเล้อ เป้ยจือ และ กั๋วกง นั้นเป็นเจ้าชายหรือไม่ ให้ดูที่บิดาของเขาเป็นหลัก หากว่ามีบิดาเป็นจักรพรรดิ ก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าชายส่วนใหญ่แล้วเมื่อเรียกเหล่าเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงโดยไม่ระบุว่าหมายถึงใครบ้าง แต่แค่หมายถึงรวมๆว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ มักจะเรียกว่า "หวังกง" ซึ่งใช้ทั้งแมนจูและมองโกล
ปู้หยู่ปาเฟิง หรือ เชื้อพระวงศ์ชายชั้นล่าง
1. ปู้หยู่ฟาเฟิงเจวิ้นกั๋วกง 2 . ปู้หยู่ปาเฟิงฟู่กั๋วกง 3. เจวิ้นกั๋วเจียงจูน 4.ฟู่กั๋วเจียงจูน
5. เฟิ่งกั๋วเจียงจูน 6. เฟิ่งเอินเจียงจูน
6 ชั้น ล่างเหล่านั้นเรียกกันอีกอย่างรวม ๆ กันแบบไม่เจาะจงว่าเป็นใครคือ "เจียงจูน" คือ ท่านชาย ซึ่งมักจะเป็นโอรสของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแต่มีมารดาเป็นภรรยาน้อย เช่น โอรสของฉินหวัง จุ้นหวัง เป้ยเล้อ เป้ยจือกับภรรยาชั้นล่าง ก็จะเป็น เจียงจูน
นอกเหนือจากนี้แล้ว หากเชื้อพระวงศ์แมนจูกระทำความดีความชอบ หรือได้รับหน้าที่ให้สืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดา พวกเขาจะได้เลื่อนขั้น บางคนเป็นโอรสที่มีมารดาเป็นแค่ "เฉี้ย" สามัญชน หรือ ชายารอง ซึ่งทำให้ตนเองต้องมีฐานันดร์เป็นแค่ เจียงจูน แต่ก็ทำความดีความชอบ เข้ามาเป็นขุนนางช่วยงานราชสำนัก จนได้เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงก็มีให้เห็นมากมาย
ส่วนเชื้อพระวงศ์ที่ไม่ทำงานทำการเอาแต่กินเงินตามฐานันดรศักดิ์ พึ่งพาบุญพ่อแม่ ก็เป็นเหตุให้โดนปลดออกจากฐานันดรศักดิ์ก็เห็นได้มากมายอีกเช่นกัน เพราะเชื้อพระวงศ์แมนจู ยิ่งมีเยอะยิ่งเปลืองงบประมาณแผ่นดินรายปีที่ได้รับกินเปล่าโดยไม่ต้องทำอะไรเลยค่ะ
บรรดาศักดิ์ทั้ง 9 ชั้นล่างประกอบด้วย เป็น ขุนนาง
1. กงเจี๋ย - ดยุก 2. โหวเจี๋ย - มาควิส 3. ป๋อเจี๋ย - เค้านท์ 4. จือเจี๋ย - วิศเค้านท์ 5. หนันเจี๋ย - บารอน
6. ชิงเฉอตูเว่ย - อัศวิน 7. ฉีตูเว่ย - อัศวิน 8. หยุนฉีเว่ย - ขุนศึก 9. เอินฉีเว่ย - ขุนศึก
ภรรยาในเชื้อพระวงศ์ชาย (宗親貴族妻妾)
หมายถึง พระชายาในองค์ชาย หรือชายาในท่านชาย ตามตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีการแบ่งได้ดังนี้
ตี๋ฝูจิ้น (嫡福晉)
ตำแหน่งองค์หญิงพระชายา ใช้กับ พระชายาเอกใน หวงไท่จื่อ, ชินอ๋อง, จวิ้นอ๋อง หรือผู้สืบทอด ชินอ๋อง ซึ่งตำแหน่งนี้แต่งตั้งได้คนเดียว เช่น พระชายาเอกใน อี้จู่หวงไท่จื่อ
เช่อฝูจิ้น (側福晉)
ตำแหน่งพระชายารอง ใช้กับ พระชายารองใน หวงไท่จื่อ, ชินอ๋อง, จวิ้นอ๋อง หรือผู้สืบทอดชินอ๋อง ชินอ๋องแต่งตั้งพระชายารองได้ 4 คน ส่วนจวิ้นอ๋องและผู้สืบทอดชินอ๋องแต่งตั้งได้ 3 คน เช่น ในเรื่อง 步步驚心เหลียนชินอ๋อง
ตี๋ฟูเหริน (嫡夫人)
ตำแหน่งชายาเอก โดยใช้กับ ชายาเอกในผู้สืบทอด จวิ้นอ๋อง, เป้ยเล่อ, เป้ยจื่อ, เจิ้งกั๋วกง หรือ ฝู่กั๋วกง ซึ่งตำแหน่งนี้แต่งตั้งได้คนเดียว
เช่อฟูเหริน (側夫人)
เป็นตำแหน่งชายารอง เรียกอีกอย่างว่า เช่อซื่อ (側室) โดยใช้กับ ชายารองในผู้สืบทอดจวิ้นอ๋อง, เป้ยเล่อ, เป้ยจื่อ, เจิ้งกั๋วกง หรือ ฝู่กั่วกง ผู้สืบทอดจวิ้นอ๋อง และ เป้ยเล่อ แต่งตั้งชายารองได้ 2 คน ส่วน เป้ยจื่อ เจิ้งกั๋วกง และ ฝู่กั่วกง แต่งตั้งได้ 1 คน