สาระน่ารู้ ตอน กินยาลดไข้... แล้วทำไมไข้ลด?

 

 

 

 

 




หน้าหนาวแบบนี้ อากาศพาลจะทำให้ป่วยเป็นไข้ได้ง่ายอย่างที่เคยได้เล่าไว้คราวก่อนนั้น (ตากฝน จะเป็นไข้ จริงไหม? ทำไมเป็นอย่างนั้น?) เมื่อเราป่วยเป็นไข้ เราก็จะถามหายาลดไข้ ซึ่งบ้านเรานิยมใช้พาราเซตามอลกัน สงสัยไหมครับ... กินยาเข้าไป แล้วเจ้ายาพาราฯนี้ มันไปทำอะไร ไข้ถึงลดลง?

จริงๆแล้วปัจจุบันยังไม่มีใครเข้าใจการทำงานชัดๆของพาราเซตามอลครับ... (อีกแล้วเรอะ!?) แต่ว่าเมื่อมันใช้ได้ผล ก็มีข้อสันนิษฐานแบบนี้ครับ

เวลาเรามีเชื้อโรคในกระแสเลือด (เช่นไวรัสหวัด) ร่างกายเราจะมีมาตรการตอบโต้โดยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายขึ้นให้ไวรัสในเลือดอยู่ไม่ได้ (เราจึงเป็นไข้) การเพิ่มอุณหภูมินี้เกิดจากการที่ร่างกายหลั่งสารเคมีชื่อ โพรส-ตา-กลาน-ดิน (prostaglandin) ออกมา เจ้าสารเคมีนี้จะมีผลกับสมองส่วนไฮโปทาลามัส (จริงๆชื่อพวกนี้บอกไว้เผื่ออยากรู้เท่านั้นแหละครับ อย่าเพิ่งตกใจ) เมื่อไฮโปทาลามัสได้รับเจ้าโพรสตากลานดิน ก็กระตุ้นให้ร่างกายสร้างความร้อนขึ้นในทุกทางที่จะทำได้ (เช่น เพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน ทำให้ขนลุกเพื่อกักอากาศร้อน ทำให้สั่นสะท้านเพื่อสร้างความร้อนในกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่ทำให้หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนังตีบลงเพื่อให้เลือดไม่เดินไปคายความร้อนออกที่ผิวหนัง) ร่ายกายเราก็ร้อนขึ้น...ร้อนขึ้น หวังพิฆาตไวรัสร้ายให้สุกตายไปเสีย... ร่างกายเราก็ไม่ได้สมบูรณ์พร้อมนะครับ บางครั้งมาตรการยับยั้งผู้บุกรุก ก็เป็นการสร้างอันตรายให้กับตัวเราเองด้วย เพราะเมื่อร่างกายเราร้อนขึ้น จริงอยู่ว่าเชื้อโรคก็อยู่ไม่ได้ แต่ระบบต่างๆในร่างกายก็พาลจะเสียหายตามไป

ทีนี้เมื่อเรากินยาพาราเซตามอลเข้าไป ยานี้จะเข้าไปยับยั้งการสร้างโพรสตากลานดิน เมื่อไม่มีโพรสตากลานดิน(ชื่อย๊าวยาว) ไฮโปทาลามัสก็หยุดมาตรการเพิ่มความร้อน ไข้จึงลดลง... ง่ายๆแบบนั้นแหละครับ

ปกติร่างกายคนเราจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 37˚เซลเซียส แต่ถ้าหากมีไข้ถึง 38˚ ก็ไม่ควรนอนใจแล้วครับ ควรไปพบแพทย์เสียเนิ่นๆอย่าดื้อกินยาเอง เพราะหากไข้ยังสูงขึ้นเรื่อยๆไปถึง 40˚ ก็อาจอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ครับ

 

                                                         

Credit: http://women.postjung.com/739475.html
23 ม.ค. 57 เวลา 20:50 1,653 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...