รู้จัก 'ไม้ประดับดูดสารพิษ'!

ทางเลือกคนใช้ชีวิตในอาคาร

ทุก วันนี้ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่หน้าโต๊ะทำงานมากกว่าที่บ้าน ที่อยู่อาศัยก็ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ใช้ชีวิตแข่งกับเวลา และวิถีชีวิตที่ต้องการความสะดวกสบาย จึงนิยมอาศัยอยู่ตามอาคารไม่ว่าจะเป็น แฟลต คอนโดมิเนียม หอพัก หรือไม่ก็อพาร์ตเมนต์... 
    
ประเด็นที่เป็นปัญหาตามมาก็คือ การลืมให้ความสำคัญในเรื่องของสภาพแวดล้อม หรือสิ่งแปลกปลอมที่ปะปนมากับอากาศที่ไม่มีการถ่ายเท ไม่ ว่าจะเป็นการสะสมของฝุ่นละออง และสิ่งสกปรก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา รวมทั้ง สารพิษที่ปล่อยออกมาจากข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยของร่างกาย ที่เกิดจากอากาศภายในอาคารมีคุณภาพไม่ดีพอ!!
    
ทั้งนี้ ทางเลือกหนึ่งที่เราสามารถป้องกันได้ ก็คือ การ ปลูกต้นไม้ดูดสารพิษไว้ในอาคาร โดยต้นไม้กลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษช่วยดูดซับสารพิษ เปรียบเสมือนเครื่องกรองอากาศจากธรรมชาติชั้นเยี่ยม ที่สามารถตั้งวางไว้ภายในอาคารได้ โดยที่ไม่แย่งอากาศหายใจของคนด้วย..??    
     
ผศ.ดร.พัช รียา บุญกอแก้ว อาจารย์ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความรู้ว่า ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าต้นไม้มีคุณประโยชน์มากมายด้วยกัน นอกจากในด้านปัจจัยสี่แล้ว ต้นไม้ยังให้ความร่มรื่น ทั้งสีเขียวที่ดูแล้วสบายตา หรือจะเป็นกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับที่มีสีสันของดอกและใบที่สดใส 
    
นอก จากนี้ ยังสามารถนำต้นไม้มาใช้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมได้ด้วย อาทิ การนำมาใช้เพื่อบดบังสายตาภายในบ้าน อีกทั้ง ต้นไม้ยังช่วยกันฝุ่นละออง หรือบางครั้งก็สามารถนำต้นไม้มาช่วยในเรื่องของการกรองเสียง เพื่อลดเสียงที่ดังมากจนเกินไปได้
    
ประโยชน์ที่สำคัญของต้นไม้ที่คนเรามักจะมองข้ามกันไป นั่นคือ ต้นไม้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาสู่ บรรยากาศ การใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพืชนี้ เป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจก หรือ ภาวะโลกร้อน ที่กำลังเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้น ทำให้มองได้ว่านี่เป็นคุณสมบัติอีกคุณสมบัติหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของต้นไม้ ซึ่งช่วยลดมลพิษได้
    
           “การนำต้นไม้มาปลูกในอาคาร หรือวางประดับในห้องทำงาน สำนักงาน ที่มีสภาพแสงน้อยนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง คือ การเลือกชนิดพืช ควรเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแสงน้อย หรือ สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภายใต้แสงจากหลอดไฟ เช่น พืชกลุ่มไม้ประดับ จากงานวิจัย พบว่า มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี เมื่ออยู่ในสภาพแสงน้อย แต่พืชกลุ่มไม้ดอกส่วนใหญ่ มีประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี เมื่อปลูกในสภาพ แสงแดดจัด จึงไม่ควรนำมาปลูกเลี้ยงภายในอาคาร” 


การดูแลรักษาไม้ประดับภายในอาคาร    

1. แสง ควรเลือกวางบริเวณที่ได้รับแสงจากทางหน้าต่างหรือประตู เพื่อยืดอายุการวางประดับ หรืออย่างน้อยควรอยู่ในบริเวณที่ได้รับแสงจากหลอดไฟ ไม่ควรวางต้นไม้ใกล้หลอดไฟมากเกินไป เพราะใบอาจได้รับความเสียหายได้ ในเรื่องของแสง สังเกตได้จากอาการของต้นไม้ ถ้าแสงไม่เพียงพอ ต้นจะยืดยาว ใบมีขนาดเล็กลง ใบล่างเหลืองร่วง เป็นต้น 
    
2. น้ำ ไม่ควรให้น้ำบ่อยเหมือนกับต้นไม้ที่ปลูกนอกอาคาร เพราะพืชจะมีการสูญเสียน้ำที่ค่อนข้างน้อยกว่าการปลูกภายนอกอาคาร การปลูกจึงต้องใช้การสังเกต ไม่ให้วัสดุปลูกเปียกหรือแห้งจนเกินไป อาจให้ประมาณ  2-3 วันต่อครั้ง ขึ้นกับชนิดของพืช หรือใช้นิ้วสัมผัสที่วัสดุปลูกเพื่อตรวจดูความชื้น หลักการ คือ ให้วัสดุมีความชื้นแต่ไม่แฉะ เพราะอาจจะทำให้รากเน่าได้ ในกรณีที่ไม่อยู่บ้าน หรือไปทำงานต่างจังหวัดหลายวัน อาจจะหล่อน้ำไว้ในจานรอง ก็จะช่วยให้พืชได้รับน้ำอย่างต่อเนื่อง
     
3. ปุ๋ย โดยส่วนใหญ่ต้นไม้ที่วางประดับหรือปลูกภายในอาคาร จะเจริญเติบโตช้า เพราะต้นไม้มีการสังเคราะห์แสงหรือสร้างอาหารได้น้อยลง ดังนั้นจึงควรให้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยกว่าสภาพที่ปลูกภายนอกอาคาร โดยอาจให้ปุ๋ยทางใบ หรือปุ๋ยเม็ดละลายช้า ในปริมาณที่ขึ้นกับชนิดพืชและขนาดกระถางที่ใช้ปลูก เช่น ต้นไม้ปลูกในกระถางขนาด 6 นิ้ว อาจใส่ปุ๋ยเม็ดละลายช้าประมาณครึ่งช้อนชา โดยหยอดหลุมหรือโรยรอบ ๆ ต้นไม้ก็ได้   
     
4. วัสดุปลูก วัสดุปลูกที่เหมาะสมกับไม้ประดับในอาคารควรยึดหลักที่ว่าต้องโปร่ง ระบายน้ำได้ดี มีน้ำหนักเบา อาจใช้กาบมะพร้าวสับมาเป็นส่วนผสมของวัสดุปลูก เพื่อช่วยในเรื่องของการระบายน้ำ และดูดซับความชื้น ไม่ควรใช้ดินเหนียว เพราะมีน้ำหนักมากและระบายน้ำไม่ดี สิ่งที่ตามมา คือ พืชดูดน้ำไปใช้ได้ยาก ทำให้รากเจริญเติบโตได้ไม่ดี  เมื่อรากเติบโตได้ไม่ดี ส่วนของต้นก็จะเจริญเติบโตไม่ดีตามไปด้วย
Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/59191.html
22 ม.ค. 57 เวลา 10:16 4,289 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...