ประตู
เคยหรือไม่กำลังเดินเข้าไปในห้องโดยคิดว่าจะทำอะไรสักอย่าง แต่แล้วก็เกิดลืมขึ้นมาว่า “เอ๊ะ เราจะทำอะไร หว่า ? ” มีการพบว่า ตัวประตูเองเนี่ยแหละที่เป็นต้นเหตุของการสร้างความผิดพลาดในจดจำของเรา
นักจิตวิทยา จาก University of Notre Dame ได้พบว่าการที่สมองถูกกระตุ้นให้ลืมเวลาเดินผ่านประตูเรียกว่า “ผลจากการถูก สร้างขอบเขตในจิต” หรือ “The Boundary Effect” นั่นเอง ซึ่งอาการนี้ทำการกั้นชุดความจำและความคิด ณ เวลา หนึ่ง โดยข้อมูลในสมองของเราจะล้างความคิดที่คุณมีจากห้อง หรือทางเดินก่อนหน้านี้เพื่อเตรียมรับ ข้อมูลชุดใหม่ในสถานที่ใหม่ถัดไป
เสียงแตร หรือเสียงเตือนสั้นๆ (เสียง Beep)
อาการที่คุณรู้สึกหงุดหงิด ไม่มีสมาธิเวลาได้ยินเสียงแตร หรือเสียงที่น่ารำคาญต่างๆ เราต้องโทษให้กับ ความผิดพลาดของวิวัฒนาการทางสมองของเราที่มีต่อเสียงจากการสังเคราะห์ต่างๆ
โดยธรรมชาติแล้วเสียง เกิดจากการเคลื่อนที่ของพลังงาน ละค่อยๆ กระจายออก และเงียบหายไปในที่สุด ระบบการรับรู้ที่ถูกวิวัฒนาการ ของเราก็จะจัดการการรับรู้ว่า เสียงดังกล่าวมาจากไหน หรือกำเนิดจากอะไร แต่เสียง Beep พวกนี้ไม่ได้ทำตาม ธรรมชาติของเสียง คือมันไม่มีความถี่ที่น้อยลง หรือเบาลงเมื่อเวลาผ่านไป นี่เป็นสาเหตุให้สมองมีปัญหาเกิดขึ้น
พื้นที่เปิดโล่ง – กว้าง
เมื่อเราเดินเป็นวงกลมในที่ๆ ไม่มีจุดสังเกต หรือเครื่องหมายบ่งบอกทาง เช่น ทะเลทราย เราจะคิดว่าเราเดินเป็น เส้นตรงทั้งๆ ที่เดินตีโค้งอยู่ นักวิจัยชาวเยอรมันจาก Max Planck Institute for Biological Cybernetics เผยว่า ทุกๆ ก้าวที่เราเดิน จะเกิดความเบี่ยงเบนทีละน้อยเพื่อปรับการควบคุมการทรงตัวของสมอง หรือระบบการรับรู้ ของร่างกาย ความเบี่ยงเบนของการควบคุมทิศทางนี้ จะรวบรวมข้อมูลและส่งให้ระบบควบคุมค่อยๆ ปรับตัวออก จากความโค้งนั้นๆ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าทิศทางที่เราเดินไป มีสิ่งก่อสร้าง และป้ายบอกทาง เป็นต้น
ซ้ำขออภัยค่ะ