กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ

 

 

 

กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ

 

ภาพ : ห้องเก็บของใต้หลังคาของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : แฮโรลด์ ลีวิสัน และ แดน เดอร์ดา, SWRI 
คำบรรยายภาพ : ท่ามกลางความปั่นป่วนในยุคต้นของระบบสุริยะ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ดาวพฤหัสบดีเหวี่ยงดาวหางนับล้านล้านดวงไปยังอวกาศอันห่างไกล และอาจมีดาวเคราะห์ติดไปบ้าง วัตถุเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นเมฆทรงกลมชื่อ เมฆของออร์ต (หรือดงดาวหางของออร์ต) ซึ่งห่อหุ้มระบบสุริยะภายใต้แรงดึงดูดเพียงเล็กน้อยจากดวงอาทิตย์ ในมุมมองจากเมฆของออร์ตนี้ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งชุดดูเป็นเกลียวสว่าง ฉากหน้ามีดาวเคราะห์ที่ยังไม่ถูกค้นพบดวงหนึ่งลอยอยู่ กล้องโทรทรรศน์ซึ่งกำลังพัฒนาในประเทศชิลีอาจเผยดาวเคราะห์เหล่านี้ให้เห็น

 

 

ภาพ : เมฆสองภาค 
ภาพโดย : แฮโรลด์ ลีวิสัน และ แดน เดอร์ดา, SWRI 
คำบรรยายภาพ : ดาวหางคาบยาวมาจากเมฆของออร์ต วงโคจรของดาวหางประเภทนี้บ่งว่า เมฆของออร์ต (ดูภาพตัดขวางในรูป) เป็นเปลือกทรงกลมกว้างเกือบหนึ่งปีแสง สอดไส้ตรงกลางด้วยเมฆรูปทรงโดนัท ระบบสุริยะที่เหลือ (แถบสีแดง) อยู่ตรงกลางรูโดนัท

 

 

ภาพ : ผู้รอดตาย 
ภาพโดย : NASA/JPL/UCLA/MAX PLANCK SOCIETY/GERMAN AEROSPACE CENTER/INSTITUTE OF COMPUTER AND COMMUNICATION NETWORK ENGINEERING 
คำบรรยายภาพ : ดาวเคราะห์น้อยเวสตาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 กิโลเมตร คือดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่เป็นอันดับสามในแถบระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ร้อยละหกของอุกกาบาตที่ตกสู่พื้นโลกเป็นชิ้นส่วนจากดาวเคราะห์น้อยเวสตานี้เอง

 

 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : เอช. ฮัมเมล, MIT AND NASA 
คำบรรยายภาพ : ภาพจากกล้องโทรทรรศน์และสื่อโทรทัศน์ แสดงให้เห็นผลกระทบของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 (Shoemaker –Levy 9) ที่พุ่งชนดาวพฤหัสบดีเมื่อปี 1994 นี่คือข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าระบบสุริยะยังคงมีความรุนแรง และดาวพฤหัสบดีดวงใหญ่ยักษ์ช่วยเป็นเกราะกำลังให้โลก

 

 

ภาพ : หล่นใส่ 
ภาพโดย : รอบิน แคนัป, SWRI 
คำบรรยายภาพ : ภายในไม่กี่สิบล้านปี ดวงจันทร์ก็ดึงดูดคู่แฝดของมันเข้ามาใกล้ จนในที่สุดดวงจันทร์เล็กได้ตกลงสู่ด้านไกลของดวงจันทร์ ทำให้ฝั่งนั้นเต็มไปด้วยที่สูง ต่างจากที่ราบต่ำหรือทะเล (mare) บนดวงจันทร์ด้านที่เราเห็น

 

 

ภาพ : เคลื่อนออก 
ภาพโดย : รอบิน แคนัป, SWRI 
คำบรรยายภาพ : แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้น้ำในโลกโป่งนูน ขณะที่การหมุนของโลกเร่งการโคจรของดวงจันทร์ ทำให้วงโคจรค่อยๆขยายห่าง ส่วนดวงจันทร์คู่แฝดซึ่งมีขนาดราวหนึ่งในสามโคจรอยู่ห่างๆ

 

 

ภาพ : การเกิด 
ภาพโดย : รอบิน แคนัป, SWRI 
คำบรรยายภาพ : เศษหินที่กระเด็นขึ้นไปโคจรรอบโลกรวมตัวกันเป็นดวงจันทร์ซึ่งอาจมีสองดวงภายในช่วงเวลาไม่ถึงร้อยปี เหล็กที่มากับดาวเคราะห์ก่อนเกิดส่วนใหญ่จมลงสู่แกนโลก ทำให้ดวงจันทร์หนาแน่นน้อยกว่าโลก

 

 

ภาพ : กำเนิดดวงจันทร์ 
ภาพโดย : รอบิน แคนัป, SWRI 
คำบรรยายภาพ : การเกิดดาวเคราะห์เมื่อ 4,500 ล้านปีก่อนเป็นเหตุการณ์รุนแรงอย่างสุดขั้ว ดาวเคราะห์ขยายใหญ่ขึ้นได้ด้วยการกลืนกินวัตถุดาวเคราะห์ชิ้นอื่นในการชนกันอย่างมโหฬาร ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดดวงจันทร์ของโลกด้วย (ล่าง) ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่ ความหนาแน่นต่ำ และลักษณะอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าเกิดจากการระเบิดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลังดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) ขนาดเท่าดาวอังคารดวงหนึ่งพุ่งชนโลก จนตัวดาวเคราะห์นั้นและส่วนหนึ่งของหินเปลือกโลกระเหิดหาย สมมุติฐานหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เสนอว่า ดวงจันทร์มีคู่แฝดดวงเล็กๆ อยู่ด้วยในช่วงแรก

 

 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : มาร์ก ทีสเซน 
คำบรรยายภาพ : ฝุ่นแต่ละเม็ดทำให้เกิดทางขนาดเท่าเส้นผม ขณะพุ่งด้วยความเร็ว 20,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเข้าสู่เนื้อฟูของแอโรเจล

 

 

ภาพ : ฝุ่นดาวหาง 
ภาพโดย : มาร์ก ทีสเซน 
คำบรรยายภาพ : ในห้องปลอดการปนเปื้อนขององค์การนาซา นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบตัวดักฝุ่นจากยานสำรวจสตาร์ดัสต์ซึ่งบินผ่านดาวหางวิลด์ 2 ฝุ่นแต่ละเม็ดทำให้เกิดทางขนาดเท่าเส้นผม

 

 

ภาพ : เรดาร์ 
ภาพโดย : มาร์ก ทีสเซน 
คำบรรยายภาพ : เสาอากาศโกลด์สโตนขนาดกว้าง 70 เมตรในรัฐแคลิฟอร์เนียสร้างภาพเรดาร์ที่เผยขนาด ความเร็ว และระยะทาง ตลอดจนทิศทางที่พุ่งเข้าใกล้โลกของดาวเคราะห์น้อย เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีหินขนาด 40 เมตรพุ่งเฉียดโลกห่างไม่ถึง 27,700 กิโลเมตร

 

 

ภาพ : อุกกาบาต 
ภาพโดย : มาร์ก ทีสเซน 
คำบรรยายภาพ : นานมาแล้ว ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยสองดวงชนกัน อุกกาบาตหนัก 900 กรัม ก้อนนี้น่าจะกระเด็นมาจากดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่กว่าชื่อ เวสตา (Vesta) และถูกความโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีเหวี่ยงมาตกบนโลก

 

 

ภาพ : กลไกนาฬิกา 
ภาพโดย : มาร์ก ทีสเซน 
คำบรรยายภาพ : แบบจำลองโบราณที่เรียกว่าออร์เรรี แสดงระบบสุริยะที่พยากรณ์พฤติกรรมได้อย่างแน่นอนและคงที่ตลอดกาล แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นเรื่องสุ่มและคาดเดาได้ยากกว่านั้นมาก


 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : แฮโรลด์ ลีวิสัน และ แดน เดอร์ดา, SOUTHWEST RESEARCH INSTITUTE (SWRI) 
คำบรรยายภาพ : ปัจจุบัน ดาวยูเรนัสกับดาวเนปจูนกวาดดาวหางพ้นทางโคจรของตนเกือบหมด (และสลับลำดับวงโคจรอีกต่างหาก) การกระหน่ำหนักยุคหลังจึงสิ้นสุดลง ดาวเคราะห์ยักษ์ทั้งสี่ปักหลักอยู่ในวงโคจรที่รีเล็กน้อยในปัจจุบัน

 

 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : แฮโรลด์ ลีวิสัน และ แดน เดอร์ดา, SOUTHWEST RESEARCH INSTITUTE (SWRI) 
คำบรรยายภาพ : 3,800 ล้านปีก่อน คาบการโคจรของดาวเสาร์ยืดออกจนเป็นสองเท่าของดาวพฤหัสบดี ความโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีผลักดาวเสาร์ให้เข้าใกล้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ซึ่งถูกผลักต่อเข้าไปในแถบดาวหาง ส่งผลให้ดาวหางมากมายจึงถูกเหวี่ยงออกไปทุกทิศทาง รวมทั้งมายังโลกด้วย

 

 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : แฮโรลด์ ลีวิสัน และ แดน เดอร์ดา, SOUTHWEST RESEARCH INSTITUTE (SWRI) 
คำบรรยายภาพ : 4,400 ล้านปีก่อน ดาวเคราะห์ยักษ์เกิดใหม่โคจรเป็นวงกลมอย่างเบียดเสียด ดาวยูเรนัสอาจอยู่วงนอกกว่าดาวเนปจูน วงโคจรของดาวเคราะห์ค่อยๆ เลื่อนขณะที่มันกวาดเศษดาวหางและดาวเคราะห์น้อยให้พ้นทางโคจร แถบดาวหางที่หนาแน่นลอยอยู่เลยดาวยูเรนัสออกไป

 

 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : แฮโรลด์ ลีวิสัน และ แดน เดอร์ดา, SOUTHWEST RESEARCH INSTITUTE (SWRI) 
คำบรรยายภาพ : การกระหน่ำหนักยุคหลังในโลกอาจเกิดจากการที่วงโคจรดาวเคราะห์ถูกรบกวนอย่างหนัก ส่งผลให้ดาวเนปจูน (ด้านหน้า) กับดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าก่อกวนแถบดาวหาง ขณะที่ดาวพฤหัสบดีป่วนแถบดาวเคราะห์น้อย ในแบบจำลองนีซ (ตามชื่อเมืองในฝรั่งเศสที่แนวคิดนี้เกิดขึ้น) ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวที่เกิดขึ้นใกล้กันในเนบิวลาสุริยะ ซึ่งเป็นจานเมฆที่เต็มไปด้วยเศษหินและน้ำแข็ง ขณะที่ความโน้มถ่วงของดาวยักษ์ทั้งสี่ดึงดูดหรือเหวี่ยงเศษวัตถุเหล่านั้น วงโคจรของพวกมันก็ค่อยขยับจนถึงจุดแตกหัก

 

 

ภาพ : กำเนิดอันปั่นป่วนของระบบสุริยะ 
ภาพโดย : สตีเฟน มอยจิช, UNIVERSITY OF COLORADO/NASA LUNAR SCIENCE INSTITUTE, SOUTHWEST RESEARCH INSTITUTE 
คำบรรยายภาพ : ราว 3,800 ถึง 4,000 ล้านปีก่อน โลกถูกถล่มด้วยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า การกระหน่ำหนักยุคหลัง ห่าฝนดาวเคราะห์น้อยและดาวหางพุ่งชนพื้นผิวส่วนใหญ่ของโลก ดวงจันทร์ก็เผชิญชะตากรรมหนักหนาสาหัสในช่วงนั้นเช่นกัน

 

คุณเป็นคนมีน้ำใจ ขอบคุณที่กด Like.ให้ครับ

Credit: http://www.ngthai.com/Index.aspx
17 ม.ค. 57 เวลา 15:13 3,726 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...