คิงคองแห่งโลกดึกดำบรรพ์

นี่คือเรื่องราวของ ลิงยักษ์จากบรรพกาล ที่อาจเทียบได้กับคิงคอง ตำนาน วานร อสูรแห่งโลกภาพยนตร์ นามจริงของมันคือ ไจแกนโธพิธิคัส Gigantopithecus ลิงไร้หางที่สูญพันธุ์ไปแล้ว วานรยักษ์เหล่านี้ปรากฏขึ้นบนโลกตั้งแต่เมื่อเก้าล้านปีก่อนจนถึงเมื่อหนึ่ง แสนปีที่แล้ว

พวกมันเคยอาศัยอยู่ใน ดินแดนที่ปัจจุบันคือ จีน เวียตนาม อินเดีย วานรเหล่านี้จัดเป็นลิงไร้หางที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดอาจสูงขณะยืนสองขาถึงสามเมตรและหนักเกือบ 600 กิโลกรัม 

ฟอสซิลของวานรเหล่า นี้ถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1953 โดยราล์ฟ ฟอน โคนิกสวาด์ล ที่ร้านขายยาจีนแผนโบราณ โดยชิ้นส่วนที่พบคือฟันและกระดูกบางส่วน ซึ่งถูกเชื่อว่าเป็นกระดูกมังกรและถูกบดเป็นผงเพื่อใช้ผสมเครื่องยา โคนิกสวาด์ลได้ตั้งชื่อฟอสซิลที่พบนี้ว่า ไจแกนโธพิธิคัส  

 

นับจากนั้นก็มีการค้น พบฟอสซิลของวานรดึกดำบรรพ์พวกนี้อีกหลายชิ้น ซึ่งนอกจากชิ้นส่วนที่พบในร้านขายยาจีนแล้ว ยังมีฟอสซิลที่ถูกพบในถ้ำหลิวเฉิง เมืองหลิวโจว ประเทศจีน รวมทั้งที่พบในเวียตนามและอินเดีย

ในปี ค.ศ.1955 ได้มีการค้นพบฟอสซิลฟันของไจแกนโธพิธิคัส แบล๊คกิ ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของลิงไร้หางกลุ่มนี้ ฟอสซิลดังกล่าวถูกพบที่ร้านขายยาในประเทศจีน นอกจากนี้ยังได้พบฟอสซิลฟันเพิ่มเติมจาก มณฑลเหอเป่ย กว่างซี และ ซื่อฉวน (เสฉวน) โดยฟอสซิลเหล่านี้ถูกพบตามโกดังสินค้าและร้านขายยามากพอ ๆ กับที่ขุดพบจากถ้ำ ซึ่งฟอสซิลเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในยุคเดียวกัน โดยฟอสซิลจากเหอเป่ยนั้นมีอายุน้อยกว่าจากที่อื่นๆในจีน ทั้งยังมีขนาดใหญ่กว่าด้วย

วิธีการเดินของไจแกน โธพิธิคัสยังไม่อาจระบุได้แน่ชัด เนื่องจากยังไม่มีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกขาของมัน นกวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพวกมันน่าจะเดินสี่ขาแบบเดียวกับกอริลล่าและ ชิมแพนซี อย่างไรก็ตาม มีบางส่วนคิดว่าพวกมันอาจจะเดินสองขา โดยแนวคิดนี้มีที่มาจากลักษณะของกระดูกขากรรไกรที่พบ ซึ่งเป็นรูปตัวยูและขยายออกทางส่วนหลัง

ทั้งนี้ลักษณะขา กรรไกรดังกล่าวจะทำให้มีพื้นที่สำหรับหลอดลมที่ต่อกับส่วนขากรรไกร และทำให้หัวกระโหลกเชื่อมกับแนวกระดูกสันหลังแบบตั้งตรงคล้ายกับของมนุษย์ สมัยใหม่ แทนที่จะเชื่อมต่อแบบยื่นออกมาข้างหน้าเหมือนอย่างลิงไร้หางขนาดใหญ่อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม หากไจแกนโธพิธิคัสเดินสองขาจริง น้ำหนักตัวของมันอาจจะทำให้กระดูกขา ข้อเท้า และเท้าต้องรับแรงกดดันมาก แต่ถ้ามันเดินสี่ขาแบบกอริลล่า มันจะสามารถกระจายน้ำหนักไปยังขาทั้งสี่ได้ดีกว่า

ไจแกนโธพิธิคัสมีกราม ที่แข็งแรง ขณะที่ฟันนั้นค่อนข้างทื่อ ซึ่งขากรรไกรและฟันชนิดนี้เหมาะสำหรับการบดเคี้ยวอาหารที่เส้นใยหนาอย่างพืช นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อาหารหลักของวานรยักษ์เหล่านี้น่าจะเป็นพืชที่แข็งและเหนียวอย่างต้นไผ่ นอกจากนั้นก็เป็นพวกผลไม้และใบไม้ต่าง ๆ

ปัจจุบันมีไจแกนโธพิธิคัสที่ถูกค้นพบด้วยกันทั้งหมดสามชนิด คือ G. blacki, G. bilaspurensis, and G. giganteus โดย

G. bilaspurensis เป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุด ฟอสซิลของมันมีอายุอยู่ในยุคมีโอซีน เมื่อราวเก้าล้านถึงหกล้านปีที่แล้ว ถิ่นอาศัยของพวกมันคือดินแดนที่ปัจจุบันนี้เป็นประเทศอินเดีย ส่วนชนิด G. giganteus นั้นถูกพบในจีนและอินเดียตอนเหนือ โดยมันมีขนาดใหญ่กว่ากอริลล่าเล็กน้อย 

ไจแกนโธพิธิคัสชนิด G. blacki เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ฟอสซิลของมันถูกพบในบางส่วนของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วานรยักษ์เหล่านี้มีชีวิตร่วมสมัยเดียวกับโฮโม อีเร็คตัส ก่อนจะสูญพันธุ์ไปเมื่อราวหนึ่งแสนปีก่อน จากขนาดอันใหญ่โตของมันที่ถูกคาดคะเนไว้ ด้วยความสูงสามเมตรและน้ำหนักที่อาจถึงหกร้อยกิโลกรัม ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวก G. blacki ที่โตเต็มวัยไม่น่าจะถูกโจมตีจากสัตว์นักล่า อย่างไรก็ตาม พวกที่อ่อนแอหรืออายุยังน้อยอาจตกเป็นเหยื่อของ เสือเขี้ยวดาบ เสือโคร่ง จระเข้ งูเหลือม ไฮอีน่าและอาจเป็นได้ว่าในยุคนั้น โฮโม อีเร็คตัส ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ก็น่าจะเคยล่าวานรยักษ์เหล่านี้ด้วย

16 ม.ค. 57 เวลา 21:25 4,171 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...