นักเรียน หลายคนคงไม่มีใครอยากทำข้อสอบแบบส่งๆขอไปทีหรอก คะแนนเราทั้งทีอยากได้เกรด 4 แต่ทำข้อสอบไม่ได้จริงๆ พี่เข้าใจ วันนี้ทีนเอ็มไทยก็เลยจะมาบอก 8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง ! (ไม่ได้เต็มร้อย แต่ได้คะแนนบ้างก็ยังดี ) ใช่ไหมคะเพื่อนๆ
8 วิธีมั่วข้อสอบ (ให้ได้คะแนนบ้าง)
1. อ่านคำถามทุกข้อ ข้อไหนทำได้ ให้ทำอย่างรอบคอบ ข้อไหนทำไม่ได้ให้ผ่านไปก่อน
2. ย้อนกลับมาพิจารณาข้อที่ไม่ได้ทำ หรือข้ามไปอีกครั้ง
3. ค่อยๆ ตัดช้อยส์ที่แน่ใจว่าไม่ใช้คำตอบออกไปทีละข้อ เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการมั่วได้ถูกต้อง เช่นตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ออกไป จนเหลือช้อยส์ที่ไม่แน่ใจ2ข้อนั้นแสดงว่า เรามีเปอร์เซ็นต์กาถูก50เปอร์เซ็นต์
4. ช้อยส์ที่แย่งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก เนื่องจากเวลาคิดช้อยส์ให้นักเรียนตอบ อาจารย์จะคิดคำตอบที่ถูกต้องก่อน แล้วจึงหาคำตอบที่ผิดมาใส่ให้ครบจำนวนข้อซอยส์ ซึ่งวิธีคิดคำตอบที่ผิดที่ง่ายที่สุดก็คือ คิดคำตอบที่ตรงกันข้ามกับคำตอบที่ถูกต้อง
5. ช้อยส์ที่เหมือนกันมักจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง สามารถตัดทิ้งได้เลย เพราะถ้าข้อหนึ่งถูก อีกข้อหนึ่งก็ถูกต้อง
6. ช้อยส์ ไม่มีข้อใดถูก มักจะเป็นช้อยส์หลอก เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูก นอกจากอาจารย์ท่านนั้นจะขึ้นชื่อว่าเป็นเทพในการออกข้อสอบ
7. ข้อที่อับจนปัญญา ไม่สามารถจะเดาได้ว่าจะเป็นข้อใด ให้กาช้อยส็ที่เรากาน้อยที่สุดของคำตอบ
8. ให้ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ แม้ข้อสอบนั้นเราจะยังไม่ได้คำตอบก็ตาม เพราะถ้าไม่ตอบแสดงว่าคะแนนข้อนั้นของเราเท่ากับ 0
---------------------
เพิ่มเติมจากคุณ Shifted จะมาแนะนำ เทคนิคเสริมของพวกเด็กแข่ง เด็กเตรียม เขาจะใช้วิธีอะไรไปดูกัน
0.การตัดช็อยส์
เป็นขั้นพื้นฐานที่สุดของการมั่ว ทุกคนควรทำเป็นนะแจ๊ะ
1.กฏหมู่มาก :“ตัวเลือกย่อยที่ปรากฏบ่อยใน”
เช่น ช็อยส์มี
ก. 1 2 ข.1 3
ค. 1 2 3 ง.2 4
แบบนี้ให้ assume ว่า 1 ถูกเลย เพราะมีจำนวนมากถึง 3/4 เทคนิคนี้ใช้ไม่ได้ทุกครั้ง แต่ก็ได้บ้าง
2.กฏการกระจายตัว : “ในข้อสอบฉบับใดๆ มักจะมีการกระจายช็อยส์ไม่ให้ลงช็อยส์หนึ่งมากเกินไปเพื่อป้องกันนักเรียนดิ่ง”
ดังนั้นถ้าเราทำมา 15/20 ข้อ(อย่างมั่นใจ)แล้วมี ง. น้อย ถ้าจะดิ่งก็ดิ่ง ง. เสีย
3.กฏความขัดแย้ง-สัมพันธ์ของตัวเลือก : “ถ้าช็อยส์2ช็อยส์ใดๆในตัวเลือกมีความขัดแย้งกัน คำตอบจะอยู่ในหนึ่งในสองช็อยส์นั้น”
“ถ้าช็อยส์2ช็อยส์ใดๆในตัวเลือกมีความสัมพันธ์กัน(เหมือนกัน) คำตอบจะอยู่ในสองช็อยส์ที่ไม่ใช่สองช็อยส์นั้น”
4.การเดาใจคนออกข้อสอบ : ในหลายครั้งนั้น ข้อสอบผิด แต่เขาไม่ได้แจกฟรีเสมอ ดังนั้น เราจึงควรเดาใจว่าคนออกต้องการจะสื่ออะไร เพื่อคะแนน!
5.การประมาณช่วงของคำตอบ : ใช้ ได้กับวิชาเลข สำหรับคนที่โปรหน่อย ให้เราประมาณช่วงของคำตอบไว้ล่วงหน้า เช่น มันน่าจะอยู่ในช่วง 9-24 แล้วเวลาทำเสร็จ ถ้ามันผิดเราจะรู้ได้
6.การแทนสวนกลับ : อันนี้น่าจะรู้จักดีทุกคน คือเอาช็อยส์แทนค่าสวนกลับไปในโจทย์เลยว่าจริงไหม แต่บางที เราต้องประมาณค่าก่อนสวน ไม่งั้นมันแก้ไม่หลุด
7.การสมมติค่าตัวแปร : ถ้า โจทย์ให้สมการมีตัวแปรมาเยอะๆ แล้วโจทย์ถาม “ค่า” แล้วช็อยส์ไม่ติดตัวแปร เราสามารถสมมติตัวแปรอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กับโจทย์ อัดเข้่าไปได้เลย (เพราะคำตอบนี้ต้องเป็นจริงสำหรับทุกช่วงค่าตัวแปร)
8.สัญชาตญาณ : แล้วแต่ของใครของมัน
ขอให้โชคดีกันทุกคน
ขอบคุณข้อมูล http://www.dek-d.com/board/view/3111401
http://teen.mthai.com/education/65700.html