สะพานกรุงเทพ (Krung Thep Bridge)
เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 รองจาก สะพานพระราม 6 สะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่เขตธนบุรีทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือรบเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย มีช่องทางจราจร 4 ช่อง ความยาวสะพาน 350.80 เมตร ช่วงกลางน้ำยาว 226 เมตร
ราคาค่าก่อสร้าง : 31,912,500.00 บาท รวมความยาวทั้งหมด : 661.05 เมตร จำนวนช่องทางวิ่ง : 4 ช่องทางจราจร รับน้ำหนักได้ : TRACTOR TRUCK WITH SEMI-TRAILER 29.25 TONS ต่อช่วงสะพาน หรือ 16 TONS TRUCK TRAINS วิ่งสวนกัน 4 คัน และ วิ่งตามกันห่าง 4 ม. น้ำหนักแผ่อีก 400 km/m2เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
ปัจจุบัน
สะพานกรุงเทพยังคงเปิด-ปิดอยู่ เพื่อให้เรือสินค้าที่แล่นเข้าออกเป็นประจำผ่าน แต่เมื่อมีการเปิด-ปิดสะพาน ก็ต้องมีการปิดการจราจร ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดเป็นอันมาก อีกทั้งเป็นสะพานที่อายุกว่า 54 ปี ทำให้มีปัญหาด้านกลไกเปิด-ปิดสะพานอยู่บ่อยครั้ง รัฐบาลจึงทุ่มงบสร้างสะพานที่สูงพอให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร สะพานนั้นคือ สะพานพระราม 3
เมื่อ 17ธ.ค.56 เวลา 09.00-09.30 น. ก็มีการเปิดสะพานให้เรือผ่าน 2 ลำ โดยเป็นเรือรบ 1 ลำและเรือขนส่งสินค้าอีก 1 ลำ แสดงถึงกลไกของสะพานยังสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี