น้ำตาลทำเด็กไฮเปอร์ได้จริงหรือ??

 

 

 

 

 

คุณพ่อคุณแม่มักเชื่อว่า ถ้าลูกกินลูกอมลูกกวาด หรือของหวานมากเกินไป พวกเขาจะเริ่มอยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลนหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่าลูกตัวเองเป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เด็กส่วนใหญ่จะเป็นเด็กมีความแอคทีฟหรือซนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ถ้าพวกเขาชอบที่จะกระโดดขึ้นลงบนเตียงนอนมันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดา เหมือนกิจวัตรประจำวันที่พวกเค้าจำเป็นต้องทำเป็นประจำเท่านั้นเอง

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity )หรือโรคADHDเป็นโรคทางจิตเวชในเด็กที่เกิดขึ้นโดยจะมีอาการก่อนอายุ 7 ปีซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของการพัฒนาสมองส่วนการควบคุมตนเอง ทำให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์การเรียนและการเข้าสังคมกับผู้อื่นของเด็ก

ในปี 1996 มีการทดลองสำหรับครอบครัวที่มีลูกที่อยู่ในช่วงอายุ 5-7 ปี เพื่อทดสอบแบบ blind study ไม่มีพ่อแม่คนใดที่ทราบว่าเด็กคนไหนรับประทานน้ำตาลและเด็กคนไหนรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาล (placebo) นักวิจัยสามารถแบ่งกลุ่มความคิดของพ่อแม่ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มแรกพ่อแม่จะคิดว่าลูก ๆ ของเค้าได้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเข้าไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่อีกกลุ่มพ่อแม่คิดว่าเป็นลูกได้ทานอาหารไม่มีน้ำตาล แต่ความเป็นจริงแล้วเด็กทั้งหมดรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาลทั้งหมด (sugar-free) แต่เมื่อพ่อแม่เห็นเด็กเล่นอย่างร่าเริง สนุกสนาน กลับมองว่าพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นพฤติกรรมที่ตื่นตัวผิดปกติ (hyperactive)

ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นแบบที่พ่อแม่คิดเลย จากการศึกษาของนักจิตวิทยา David Benton จากมหาวิทยาลัย Swansea พบว่าในเด็กที่มีอายุระหว่าง 9 ถึง 11 ปี หลังจากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลไปแล้วครึ่งชั่วโมง จะมีความสามารถในการจดจ่อต่อการเรียนรู้ มีสมาธิในการทำง่าน และได้คะแนนในการทำการทดสอบความทรงจำมากขึ้น ในขณะที่เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจริงๆ นั้นจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดได้เลย

ถึงแม้กระนั้นก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองก็อย่าเพิ่งตามใจให้เด็กกินอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เพราะการให้กินน้ำตาลอาจช่วยให้มีสมาธิจริงแต่ผลของมันก็อยู่ไม่นาน อีกทั้งอาหารที่ไม่มีน้ำตาลนั้นจะช่วยให้ร่างกายรักษาระดับของน้ำตาลกลูโคสที่จะถูกส่งไปที่สมองได้ดีกว่า อีกทั้งอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนในเด็กอีกด้วย

“ของหวาน/อาหารที่มีน้ำตาลเป็นแค่แหล่งพลังงานที่เด็กต้องการเพื่อที่จะได้สนุกสนาน กับเพื่อนๆ ก็แค่นั้นเอง”

ข้อมูลจาก สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

ขอขอบคุณเนื้อหาอ้างอิงจาก  วิชาการดอทคอม 

ภาพประกอบจาก www.photos.com

ที่มา: http://club.sanook.com
Credit: http://women.postjung.com/735119.html
8 ม.ค. 57 เวลา 18:09 490 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...