พี่มากรบกับใคร

สำหรับ ผู้ที่เคยชมภาพยนตร์เรื่อง นางนาก ฉบับของนนทรี นิมิตบุตร และ ภาพยนตร์เรื่อง พี่มากพระโขนง ของจีทีเอช คงพอนึกออกถึงฉากที่พี่มากไปทำสงคราม แม้จะไม่ใช่แก่นของเรื่อง แต่ตามประสาคนอยากรู้ อยากเห็น ซึ่งก็เชื่อว่าหลายคนคงจะเป็นกันบ้าง ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในหัวว่า แล้วพี่มาก เค้าไปรบกะใคร

ก่อนจะหาคำตอบของคำ ถามนี้ คงต้องย้อนถึงเรื่องของแม่นากกับพ่อมากก่อนว่า น่าจะเกิดขึ้นในยุคไหน ซึ่งจากตำนานที่เล่าขานกันมา ก็พอจะสรุปได้ว่า เรื่องนี้น่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่สี่ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่ประเทศไทยหรือที่เรียกในยุคนั้นว่า สยามประเทศ กำลังทำสงครามกับศัตรูเก่าอย่างพม่า โดยมีเป้าหมายเพื่อแย่งชิงดินแดนตอนเหนือของฝ่ายตรงข้ามมาอยู่ในขอบขัณฑสีมา ซึ่งดินแดนที่ว่านั้น ก็คือ เขมรัฐ หรือ ที่รู้จักกันชื่อ เชียงตุง และสงครามครั้งนั้นก็ถูกเรียกว่า ศึกเชียงตุง

ล้นเกล้า รัชกาลที่สี่

สงครามครั้งนี้ เกิดจากการที่เมืองเชียงรุ้งได้แปรพักตร์จากพม่ามาขอสวามิภักดิ์ต่อไทย ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงโปรดฯให้ที่ประชุมเสนาบดีปรึกษากันและได้ความเห็นว่าควรรับไว้ จากนั้น เพื่อป้องกันมิให้พม่ามาชิงเอาเมืองเชียงรุ้งกลับคืน ฝ่ายไทยจึงคิดเห็นจะส่งทัพไปตีเชียงตุง เพื่อตัดเส้นทางมิให้ทัพพม่ายกเข้าถึงเชียงรุ้งได้ ประจวบกับเวลานั้นพม่ากำลังทำสงครามกับอังกฤษครั้งที่ ๒ ไทยจึงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะเข้ายึดครองเมืองเชียงตุงไว้ในอำนาจ

ทั้งนี้แต่เดิมในสมัย รัชกาลที่สาม เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๒ ไทยเคยส่งกองทัพไปตีเชียงตุงหนึ่งครั้ง โดยครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลั้พจากล้านนาได้ไพร่พลเจ็ดพันห้าร้อยคนยกไปตีเชียง ตุง แม้ว่าครั้งนั้น ทัพไทยเกือบจะตีเมืองได้ ทว่าเหล่าเจ้านายล้านนาที่เป็นผู้นำทัพ เกิดไม่สามัคคีกันจึงทำการไม่สำเร็จและต้องยกทัพกลับ

กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

ส่วนในรัชกาลที่ ๔ นั้น ฝ่ายไทยได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงตุงสองครั้ง โดยครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ทรงโปรดฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยายมราช (นุช) เป็นทัพหน้าเกณฑ์ไพร่พลจากพระนครและหัวเมืองรอบนอก สมทบกับไพร่พลจากประเทศราชล้านนาและล้านช้างรวมทั้งสิ้นสามหมื่น ยกไปตีเมืองเชียงตุง ในยามนั้น ทางพม่าเกิดเหตุวุ่นวายด้วย พระเจ้าพุกามแมง กษัตริย์พม่าแตกคอกับ มินดงแมง ผู้อนุชา ทำให้ไม่ได้ส่งทัพไปช่วยป้องกันเชียงตุง กองทัพไทยสามารถยกผ่านหัวเมืองรายทางได้โดยปราศจากการต่อต้าน จนเข้าล้อมเชียงตุงไว้ ทว่าภูมิประเทศเมืองเชียงตุงเต็มไปด้วยหุบห้วยมีภูเขาล้อมรอบยากแก่การ ลำเลียงส่งเสบียงอีกทั้งเป็นพื้นที่สูง กันดารน้ำ รวมทั้งยังขาดแคลนปืนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การโจมตีเมืองไม่ประสบผลสำเร็จ จนล่วงเข้าฤดูฝน กรมหลวงวงศาธิราชจึงมีรับสั่งให้ถอยทัพกลับ

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิทเป็นแม่ทัพนำรี้พลขึ้นไปตีเมืองเชียงตุงอีกครั้ง โดยมีการเกณฑ์รี้พลเพิ่มจากศึกครั้งก่อนอีกเกือบเท่าตัว ทั้งยังเสริมกำลังรบด้วยปืนใหญ่แบบใหม่ที่ทันสมัย ทว่าในสงครามครั้งนี้กองทัพไทยกลับต้องประสบความยากลำบากยิ่งกว่าครั้งแรก เนื่องด้วยมีปัญหาในการเรียกเกณฑ์กำลังพลและเสบียงอาหารจากล้านนา จนทำให้การเคลื่อนทัพล่าช้า อีกทั้งพระเจ้ามินดง กษัตริย์องค์ใหม่ของพม่าได้ส่งกองทัพพม่าและไทใหญ่รวมไพร่พลเก้าพัน มาช่วยรักษาเมืองเชียงตุง ซึ่งเมื่อรวมกับพลรบชาวเชียงตุงจำนวนเจ็ดพันแล้ว ก็เท่ากับข้าศึกมีกำลังมากถึงหนึ่งหมื่นหกพันคน จึงสามารถยกกำลังออกมาตั้งค่ายต่อสู้ทัพไทยยังหัวเมืองรายทางได้เป็นหลาย แห่ง ทว่ากองทัพไทยก็มิได้เสียกำลังใจ เข้าทำการรบพุ่งกับทัพพม่าและเชียงตุงที่ตั้งมั่นตามหัวเมืองรายทางอย่างดุ เดือดและได้ชัยชนะสามารถตีข้าศึกแตกพ่ายถอยร่นไปได้ แต่กระนั้นก็ทำให้เสียเวลาในการเดินทัพไปมิใช่น้อยและเมื่อยกทัพไปถึงเชียง ตุงก็ล่วงเข้าฤดูฝนพอดี ทำให้ไพร่พลเกิดเป็นไข้เจ็บป่วยล้มตายลงเป็นอันมาก

เครื่องแต่งกายชาวเชียงตุง

กองทัพไทยตั้งค่าย ล้อมเชียงตุงอยู่ ๒๑ วัน ตลอดเวลาดังกล่าว ได้รบพุ่งกับกองทัพเชียงตุงที่ยกออกจากเมืองหลายครั้งและตีข้าศึกแตกพ่าย กลับไปทุกครั้ง กระนั้นก็ยังไม่สามารถตีเมืองได้ จนกระทั่งเกิดขัดสนเสบียงอาหารและเห็นว่าจะตีเมืองไม่สำเร็จ จึงได้ยกทัพกลับ นับแต่นั้นมา ฝ่ายไทยก็มิได้ทำสงครามกับพม่าอีกเลย จนกระทั่งพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าศึกเชียงตุงครั้งที่สองนี้ คือสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างไทยกับพม่า

…และนี่ ก็น่าจะพอเป็นคำตอบได้บ้างกระมังว่า พี่มากเค้าไปรบกะใคร…..

กองทหารไทยยุคใหม่ สมัยรัชกาลที่ห้า

#พี่มากรบกับใคร
seal1993
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
8 ม.ค. 57 เวลา 17:43 3,141 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...