ตำนาน“หอพระนาก” สถานที่เก็บพระอัฐินับร้อยองค์
พระอัฐิไร้โกศ” พระโกศไร้ญาติ
หอพระนากตั้งอยู่บริเวณวัดพระแก้วในพระบรมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่1ที่ทรงโปรดเกล้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นหอสำหรับประดิษฐานพระนาก พระพุธรูปที่อัญเชิญมาจากกรุงเก่าจึงเรียกกันว่าหอพระนากแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่3หอพระนากทรุดโทรมเป็นอย่างมาก พระองค์จึงทรงโปรดให้อัญเชิญพระนากไปประดิษฐานอยู่ในพระวิหารยอดที่อยู่ข้างๆหอพระนากแทน หอพระนากจึงว่างลง พระองค์จึงทรงโปรดให้เป็นสถานที่เก็บพระอัฐิของเจ้านายในพระราชวงศ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การที่ใช้หอพระนากในวัดพระแก้วเป็นที่เก็บพระอัฐินั้นเป็นการปฏิบัติสืบทอดกันมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเองก็เก็บพระบรมอัฐิพระเจ้าอยู่หัว พระอัครมเหสีเจ้านายในพระราชวงศ์ไว้ที่หอภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ภายในพระบรมหาราชวังเช่นเดียวกัน ทั้งนี้จะขอกล่าวก่อนว่าธรรมเนียมในการเก็บรักษาพระอัฐิของเจ้านายสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีอยู่ว่า
พระอัฐิของเจ้าวังหลวง เจ้าวังหน้า เจ้าวังหลัง เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพแล้วก็จะอัญเชิญเข้ามาเก็บไว้ในหอพระนากโดยส่วนใหญ่จะเป็นเจ้านายฝ่ายใน ส่วนเจ้านายผู้ชายส่วนมากแล้วทายาทจะนำพระอัฐิไปเก็บไว้ในวังของแต่ละราชสกุล ถ้าหากทายาทในราชสกุลใดไม่สามารถที่จะเก็บพระอัฐิไว้อย่างสมพระเกียรติได้ ก็จะถวายพระอัฐิให้อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของพระเจ้าอยู่หัวต่อไป ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวก็จะให้เจ้าพนักงานอัญเชิญมาไว้ที่หอพระนากนี้
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพนักงานไปเชิญพระอัฐิตามวังเจ้านายต่างๆเข้ามาในพระบรมหาราชวังมารวมกันอยู่ที่หอพระนาก เพื่อให้พระสงฆ์จะทำการสดับปกรณ์และสรงน้ำพระอัฐิ พระอัฐิบางองค์เมื่อทายาทเชิญมาร่วมงานแล้วก็จะไม่ขอรับพระอัฐิกลับไป แต่จะขอถวายไว้ภายใต้พระบารมีของพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นพระอัฐิในหอพระนากจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆราชการ พระบรมอัฐิ พระอัฐิที่ประดิษฐาน ณ หอพระนากในปัจจุบันมีทั้งสิ้น242พระโกศ(จำนวนไม่เป็นทางการ)
โดยแบ่งเป็นหมู่ดังต่อไปนี้
-พระบวรราชเจ้า 4พระโกศ
-กรมพระราชวังบวรและพระปฐมวงศ์ 15พระโกศ
-พระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่หนึ่ง 23พระโกศ
-พระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่สอง 43พระโกศ
-พระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่สาม 36พระโกศ
-พระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่สี่ 61พระโกศ
-พระราชโอสรธิดาในรัชกาลที่ห้า 44พระโกศ
-พระสัมพันธวงศ์เธอ16พระโกศ
*ยังไม่รวมกับพระอัฐิของเจ้านายชั้นหลานหลวงของวังหลวง วังหน้า วังหลัง อีกหลายพระโกศ
พระอัฐิไร้โกศ” พระโกศไร้ญาติ
จากภาพซ้าย ประตูทางเข้าหอพระนาก ภายในเขตวัดพระแก้ว
จากภาพด้านขวา ลักษณะของผ้าขาวที่ใช้ห่ออัฐิ
เรื่องของโกศพระอัฐิ(โกศใส่กระดูก)นั้น ตามธรรมเนียมแล้วหากงานพระบรมศพหรืองานพระศพเจ้านายพระองค์ใดเป็นงานหลวงพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระโกศทองคำสำหรับบรรจุพระอัฐิของเจ้านายพระองค์นั้น แต่ในกรณีงานพระศพของเจ้านายองค์อื่นที่”ไม่ได้”โปรดเกล้าจัดงานเป็นงานหลวง ทางทายาทในราชสกุลจะต้องจัดหาจัดสร้างพระอัฐิขึ้นเอง
ส่วนมากจะเป็นพระองค์เจ้าชายที่ยังไม่ได้ออกวังยังไม่มีทายาท หรือ พระองค์เจ้าหญิงที่ประทับในวังหลวงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนที่อยู่ตามลำพังไม่มีเจ้าพี่เจ้าน้องเจ้าจอมมารดาสิ้นไปก่อน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ลงได้ทิ้งพระราชทรัพย์ไว้มากน้อยพอที่จะให้ข้าหลวงนำไปสร้างโกศบรรจุพระอัฐิหรือไม่ หากมีพระราชทรัพย์เหลือไว้มากก็ดีไป
กรณีที่ไม่มีราชทรัพย์นั้น ซึ่งสมัยก่อนเจ้านายที่ตกยากก็มีมาก เมื่อสิ้นพระชนม์ลงพระราชทานเพลิงพระศพเสร็จแล้วทายาทหรือข้าหลวงไม่มีกำลังในการสร้างพระโกศพระอัฐิถวาย เจ้าพนักงานภูษามาลาก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดีจึงจำเป็นต้องนำพระอัฐิใส่ในผ้าขาวแล้วเชิญไปประดิษฐานใน”หอพระนาก”ในหอพระนากนี้มีพระอัฐิที่ไม่มีโกศห่อด้วยผ้าขาววางรวมกันอยู่ตามพื้นเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่ามอง
เมื่อถึงคราวใกล้ถึงวันฉลองกรุงฯครบรอบ100ปี พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ทรงโปรดเกล้าให้สร้างตู้กระจกไม้สลักลาย ลงรักปิดทองแบ่งเป็นชั้นๆสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิที่ไม่มีโกศ และสร้างพระโกศทองคำบรรจุพระอัฐิให้แก่เจ้านายชั้นสูงบางพระองค์ที่ยังไม่มีโกศ จนถึงรัชกาลที่7จำนวนของพระอัฐิที่ไม่มีพระโกศก็เพิ่มมากขึ้นจึงทรงพระกรุณาให้สร้างพระโกศถวายแก่เจ้านายเหล่านั้นทั้งเจ้าวังหลวงและเจ้าวังหน้าแต่ทว่าการจัดสร้างพระโกศต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและทองคำมากเพราะในขณะนั้นมีพระอัฐิที่ไม่มีพระโกศอยู่ร่วมกว่า100องค์ จึงเปลี่ยนจากการใช้ทองคำมาเป็นดีบุกปิดทองแทน หลังจากนั้นเป็นต้นมาพระอัฐิที่ยังไม่มีพระโกศก็ได้มีพระโกศใส่พระอัฐิครบทุกองค์ไป