สะพานชมัยมรุเชฐ "สะพานนี้เพื่อพี่ชาย"

 

 

 

สะพานชมัยมรุเชฐ "สะพานนี้เพื่อพี่ชาย"

 

 

ในภาพ คือ สะพานชมัยมรุเชฐที่ปัจจุบันเป็นสถานที่ชุมนุม และภาพด้านข้างคือ สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทั้ง3พระองค์ทรงเป็นทูลกระหม่อมลุง ทูลกระหม่อมป้าของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่8-9

 

สะพานชมัยมรุเชฐ เป็นสะพานข้ามคลองเปรมประชากร อยู่บนถนนพิษณุโลกบริเวณแยกพานิชยการ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล และวัดเบญจมบพิตร

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงสร้างเพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ เนื่องในวโรกาสที่ในปีนั้น พระองค์มีพระชนมายุ 15 ปี และจะก้าวเข้าสู่พระชนมายุ 17 ปี เสมอด้วยพระเชษฐาทั้งสองพระองค์

ปัจจุบัน สะพานชมัยมรุเชฐถูกต่อเติมขยายออกไปจนหมดสภาพดั้งเดิม คงเหลือเพียงป้ายโลหะชื่อสะพาน ที่ยังเป็นของเดิม
 
 
 

เชื่อว่าหลายท่านที่ได้ยินชื่อสะพานแห่งนี้ ก็คงคิดต่อไปว่าชื่อสะพานแห่งนี้เป็นชื่อของใคร ทำไมชื่อฟังดูแปลกๆแต่ช่างเป็นชื่อที่ใช้ภาษาไทยได้ไพเราะเสียจริงๆโดยคำว่า"ชมัยมรุเชฐ" เกิดจากการนำคำว่า


"ชมัย"  ที่แปลว่า สอง 
"มรุ"    ที่แปลว่า ล่วงลับ
"เชฐ"  ที่แปลว่า พี่ชาย

ดังสะพานชมัยมรุเชฐจึงแปลว่า "สะพานที่สร้างให้พี่ชายผู้ล่วงลับทั้งสอง" 

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ ทรงสร้างเพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระเชษฐา(พี่ชาย)ทั้ง 2ที่พระองค์ ทรงรักและผูกพัน คือ

1.สมเด็จพระบรมโอสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ 
2.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย

เนื่องในวโรกาสที่ในปีนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ มีพระชนมายุ 17 ปี เสมอด้วยพระเชษฐาทั้งสองพระองค์

คุณเป็นคนมีน้ำใจ ขอบคุณที่กด Like.ให้ครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก คลังประวัติศาสตร์ไทย

สะพานชมัยมรุเชฐ - วิกิพีเดีย

Credit: คลังประวัติศาสตร์ไทย
3 ม.ค. 57 เวลา 11:14 2,620 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...