สัตว์กินสัตว์เป็นเรื่องธรรมดาของโลก แต่การเขมือบหลายครั้งก็ดูไม่ธรมดา ซึ่งในปี'56 นั้นก็มีชอตเด็ดสัตว์กินกันประจักษ์แก่สายตามนุษย์อยู่หลายครั้ง
ฉลามหนูที่น่าสงสารถูกฉลามเสือทรายสาวที่กำลังหิวโซกลืนกินทั้งตัว (ไลฟ์ไซน์/University of Delaware's ORB Lab)
ฉลามกินฉลามไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มากินกันตาหน้าต่อตานักวิจัยก็ไม่ใช่จะเกิดขึ้นบ่อย อย่างกรณีที่เกิดกับนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการชีวภูมิศาสตร์ด้านการสำรวจมหาสมุทรด้วยการควบคุมระยะไกล ของมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ (University of Delaware) สหรัฐฯ ซึ่งใช้เหยื่อล่อฉลามเสือทราย (sand tiger shark) เพื่อนำมาติดแท็กติดตามผ่านดาวเทียม
ทว่าฉลามหนู (smooth dogfish) กลับฮุบเหยื่อไปเสียก่อน แต่ฉลามเสือทรายก็กระโดดฮุบฉลามหนูไปอีกทอด ต่อหน้าต่อตานักวิจัย และพวกเขาก็บันทึกภาพเหตุการณ์ระทึกได้พอดี อึ้ง! นักวิทย์เจอ "ฉลามกินฉลาม" ต่อหน้าต่อตา
ภาพงูโบอากินลิงฮาวเลอร์ผู้เคราะห์ร้าย (Erika Patrícia Quintino / American Journal of Primatology)
อีกชอตที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยคือ ลิงฮาวเลอร์แดงปูรุส (Purús red howler monkey) หรือ อาลาวอัตตาปูรูเอ็นซิส (Alouatta puruensis) ถูกงูโบอาคอนสติคเตอร์ (boa constrictor) เขมือบ เพราะปกติฝูงลิงจะคอยระแวดระวังภัยให้กันเสมอ ขณะที่งูโบอาก็มักเฝ้ารอเหยื่อโดยไม่ไหวติงอยู่นานเป็นเดือนๆ การที่สัตว์ไพรเมทที่ว่องไวตกเป็นเหยื่อของงูที่มักอยู่นิ่งๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องกลับมาคิดกันใหม่ นักวิทย์ตื่นเต้น...ไม่ค่อยได้เห็น “งูกินลิง”
อีกภาพยูฟานิ โอลายา (Yufani Olaya) หน่วยลาดตระเวณป่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเปรู บันทึกได้ขณะคางคกยักษ์ (cane toad) กำลังเคี้ยวค้างคาว ระหว่างเขาปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนภายในอุทยานแห่งชาติเซร์โรสเดอาโมทาเป (Cerros de Amotape National Park) ของเปรู
ภาพดังกล่าวทำให้คางคกดูแปลกตาราวกับเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้จักหรือเห็นมาก่อน แต่โชคดีเป็นของค้างคาวที่หนีรอดจากการถูกกินแล้วบินจากไป มีจริงเหรอ “คางคก” แบบนี้?
ภาพไม่กี่ภาพจากไม่กี่วินาทีขณะอินทรีทองโฉบลูกกวาง (Linda Kerley, Zoological Society of London: ZSL))
สุดท้ายเป็นภาพการล่ากวางน้อยของอินทรีทองเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งไขปริศนาการตายอย่างพิศวงของลูกกวางจีนที่ดูเหมือนจะออกวิ่งแล้วล้มตายเฉยๆ และนักวิทยาศาสตร์เพิ่งตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในปี 2013 นี้ เจอแล้ว! ตัวสังหารกวางน้อย
ที่มา: http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000159921