บทเรียนจากการเสียกรุง

…..ใน ประวัติศาสตร์ไทย เหตุการณ์ที่คนไทยจดจำกันได้มากที่สุด ก็คือ การเสียกรุงครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง ซึ่งในการเสียกรุงครั้งแรกนั้น เราต้องตกเป็นประเทศราชของชนชาติอื่นยาวนานถึง 15 ปี ขณะ ที่การเสียกรุงครั้งที่สองนั้น เป็นเรื่องราวที่สะเทือนใจยิ่งกว่า เนื่องจากในครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาที่ดำรงสถานภาพของพระมหานครยาวนานมากว่า 400 ปี ต้องถึงกาลพินาศลง
.
…..ก่อน ที่จะพูดถึงบทเรียนจากเหตุการณ์ทั้งสอง เราน่าจะลองย้อนเวลากลับไปดูก่อนว่า เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยจะเริ่มจากการเสียกรุงครั้งแรกก่อน
.

…..ใน ช่วงเวลาก่อนที่อโยธยาจะเริ่มทำศึกกับหงสาวดีนั้น ภายในอาณาจักรอโยธยาเอง ได้มีความแตกแยกขัดแย้งแฝงอยู่ภายใน อันมีสาเหตุมาจากความรู้สึกแบ่งเขาแบ่งเราของบรรดาเจ้าราชวงศ์ต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง ในเวลานั้น โดยราชวงศ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมืองอโธยาในเวลานั้นมีอยู่สี่ เชื้อสายราชวงศ์ด้วยกันคือ กลุ่มราชวงศ์สุพรรณภูมิ กลุ่มราชวงศ์สุโขทัยหรือหัวเมืองฝ่ายเหนือ กลุ่มราชวงศ์ละโว้อู่ทองและกลุ่มราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช หรือ หัวเมืองฝ่ายใต้
.

…..ใน ช่วงแรก ได้มีการแก่งแย่งอำนาจระหว่างกลุ่มละโว้กับสุพรรณภูมิ ซึ่งในตอนท้ายที่สุด กลุ่มสุพรรณภูมิที่ได้รับแรงหนุนจากกลุ่มสุโขทัยก็สามารถกำจัดอำนาจกลุ่ม ละโว้ลงได้จนหมดสิ้น และนั่นเองที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มสุพรรณภูมิกับสุโขทัยได้ก่อตัว ขึ้นมา เนื่องจาก ราชวงศ์สุโขทัยนั้นต้องการฟื้นฟูอำนาจของพวกตนในหัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นมา ใหม่ หากแต่ราชวงศ์สุพรรณภูมิที่ปกครองอาณาจักรอยู่นั้นไม่ยินยอม จนมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ พญายุทธิษเฐียรเจ้านายฝ่ายสุโขทัยได้แปรภักตร์หันไปพึ่งอาณาจักรล้านนาให้มาช่วย จนเกิดสงครามยาวนานระหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกแห่งอโยธยากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา เพื่อแย่งชิงหัวเมืองฝ่ายเหนือ
.

…..แม้ว่าในท้ายที่สุด อโยธยาจะชนะศึกและรักษาหัวเมืองฝ่ายเหนือเอาไว้ได้ แต่ ความขัดแย้งก็ยังคงคุกรุ่นในกลุ่มเจ้าเมืองและเชื้อพระวงศ์สุโขทัย จนมาถึงครั้งที่ขุนพิเรนทรเทพผู้สืบเชื้อสายวงศ์สุโขทัยใช้กำลังขุนนางฝ่าย เหนือกำจัดท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศา เจ้านายสายละโว้ที่ขึ้นมาชิงอำนาจจากราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดย หลังจากกำจัดทั้งสองไปแล้ว ขุนพิเรนทรเทพกับพรรคพวกก็สนับสนุนให้พระเฑียรราชาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ก็ตอบแทนความชอบของขุนพิเรนทรเทพด้วยการแต่งตั้งให้เป็นพระธรรมราชาปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะเจ้าประเทศราช ซึ่งทำให้ราชวงศ์สุโขทัยฟื้นอำนาจของตนขึ้นมาในระดับหนึ่ง
.

…..หลัง ศึกตะเบ็งชะเวตี้ผ่านไป อำนาจของหัวเมืองฝ่ายเหนือค่อยๆเพิ่มพูนอย่างช้าๆ จนทำให้กลุ่มราชวงศ์สุพรรณภูมิเริ่มไม่ไว้วางใจ แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะเกี่ยวดองกันผ่านการสมรสโดยพระธรรมราชามีพระมเหสีคือ พระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาของ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทั้งฝ่ายมีความไว้วางใจต่อกันมากขึ้นสักเท่าใด
.

…..ต่อ มา เมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพหงสาวดีมาตีอโยธยาในสงครามช้างเผือก กองทัพหงสาได้เข้าตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและล้อมพิษณุโลกเอาไว้ ก่อนจะตีได้เวลาครึ่งเดือน ซึ่งตลอดเวลาที่ทัพหงสาเข้ารุกรานหัวเมืองฝ่ายเหนือไม่ ปรากฏความช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด ดังนั้นหลังจากสิ้นสงครามช้างเผือกแล้ว บรรดาหัวเมืองฝ่ายเหนือที่ไม่พอใจในท่าทีของกรุงศรีอยุธยาก็หันมาเข้ากับหง สาวดีแทน
.

…..และ เมื่อบุเรงนองยกทัพมาอีกครั้งใน พ.ศ.2112 พระมหาธรรมราชาก็นำทัพฝ่ายเหนือเข้าช่วยทัพหงสาวดีตีกรุงศรีอยุธยาด้วย ครั้นเมื่อทัพหงสาวดียึดกรุงได้แล้วก็กวาดต้อนผู้คน ข้าทหารของกรุงศรี ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์สุพรรณภูมิกลับหงสาวดีและแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาเป็นพระเจ้ากรุงศรีอโยธยา
.

…..กล่าว โดยสรุปจากเหตุการณ์ข้างต้นนั้น บอกให้รู้ว่า การที่เราต้องเสียกรุงในครั้งแรกนั้น เกิดมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้บริหารของบ้านเมืองที่ต่างฝ่ายต่างไม่ ไว้วางใจกันเองเป็นทุนเดิม ประกอบกับพลเมืองของหัวเมืองฝ่ายเหนือและอโยธยาต่างก็คิดว่า อีกฝ่ายมิใช่พวกเดียวกับตน มีการแบ่งแยกเป็นฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ จนเมื่อข้าศึกจากภายนอกจับจุดอ่อนนี้ได้ และทำให้ความขัดแย้งนั้นขยายตัวจนกลายเป็นความแตกแยก จึงทำให้ไทยต้องเสียกรุงไปในที่สุด
.

…..อาจกล่าว ได้ว่า การเสียกรุงครั้งแรกนั้นมีเหตุใหญ่มาจากความรู้สึกแบ่งเขาแบ่งเราของบรรดา ผู้บริหารอาณาจักร การขาดความเป็นนำหนึ่งใจเดียวกันของพลเมือง จึงทำให้ไม่อาจต้านทานแสนยานุภาพของข้าศึกศัตรูได้
.
…..สำหรับ การเสียกรุงครั้งที่สองนั้น ค่อนข้างแตกต่างกัน เนื่องจากในยุคนี้ไม่มีการแบ่งแยกหัวเมืองฝ่ายเหนือฝ่ายใต้เหมือนแต่ก่อน โดยทางกรุงศรีได้ปรับการบริหารบ้านเมืองโดย ส่งขุนนางจากส่วนกลางไปครองเมืองและดึงอำนาจการบริหารเข้าศูนย์กลาง พร้อมๆกับบั่นทอนความเข้มแข็งของหัวเมืองลง เพื่อมิให้หัวเมืองเหล่านั้นมีกำลังพอก่อความวุ่นวายได้
.

…..แม้การปกครองแบบนี้จะสร้างเสถียรภาพให้อาณาจักรแต่หากเมื่อใดที่ส่วนกลางเกิดความอ่อนแอ ก็จะส่งผลให้ทั้งอาณาจักรปั่นป่วนตามไปด้วย
.
ชิงอำนาจกันในหมู่พระ ราชวงศ์หลายครั้งมาก โดยเฉลี่ยสิบสามถึงสิบสี่ปีต่อครั้ง ซึ่งทุกครั้งที่เปลี่ยนกษัตริย์พระองค์ใหม่ เหล่าขุนนางข้าหลวงเดิมของกษัตริย์องค์ก่อนก็ถูกกวาดล้างไปจนหมด ทำให้ทุกครั้งที่ผลัดแผ่นดินต้องเปลี่ยนตัวข้าราชการแทบจะทั้งระบบทุก ครั้ง(ประมาณว่า พอใครขึ้นเป็นนายก็กวาดล้างลูกน้องของนายคนก่อนและเอาคนของตัวเสียบแทน) การกวาดล้างขุนนางบ่อยเช่นนี้ ทำให้อโยธยาขาดแคลนขุนนางที่มีความสามารถมาใช้ในการบริหารบ้านเมือง จนทำให้การบริหารงานตลอดจนกองทัพเสื่อมลง
.
…..ทว่าการศัตรูเก่า อย่างพม่าที่เคยมีแสนยานุภาพทัดเทียมกันเกิดความวุ่นวายภายในจนอ่อนแอลง ทำให้อโยธยาที่ไร้สงครามดูมีเสถียรภาพมากกว่า พ่อค้าจากต่างแดนเข้ามาทำการค้ามากกว่า ผู้คนทำมาหากินคล่อง เงินทองหมุนเวียนมาก กล่าวง่ายๆคือ การที่ดินแดนรอบข้างวุ่นวายด้วยสงครามภายใน ทำให้อานิสงค์ตกอยู่กับอโยธยาและด้วยเหตุนี้จึงทำให้เหล่าขุนนางที่ขึ้นมามี อำนาจไม่สนใจในการปรับปรุงบ้านเมือง เพราะติดอยู่ในภาพลวงของความมั่งคั่งและความสงบ ต่างฝ่ายก็สนใจเพียงรักษาอำนาจที่ตนเองมีและใช้โอกาสของควมมั่งคั่งของบ้าน เมืองแสวงหาผลประโยชน์เข้าหาตัวเองและพวกพ้อง
.

…..จนกระทั่งเมื่อ พม่าได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นด้วยผู้นำและกองทัพที่เข้มแข็ง อาณาจักรพม่าจำต้องหาแหล่งทรัพยากรมาสนับสนุนการสร้างอาณาจักรใหม่ที่กำลัง เติบโตของตน จึงส่งทัพเข้าโจมตีหัวเมืองเล็กน้อยรอบข้างก่อนจะระดมทัพใหญ่มาทำสงครามกับ อโยธยา
.

…..และความที่อโยธยา นั้น มีเพียงภาพลักษณ์ภายนอกที่ดูเข้มแข็ง หากแต่แท้จริงนั้น การบริหารงานภายในอ่อนแอ ด้วยขาดคนมีความสามารถมาบริหารบ้านเมือง ส่วนพวกที่ทำงานอยู่นั้นส่วนใหญ่ได้ตำแหน่งเพียงเพราะเจ้านายฝ่ายของตนได้ เป็นผู้ชนะ แต่ตนเองกลับไม่มีความสามารถในการทำงานเพียงพอ
.

…..ดังนั้นเมื่อเผชิญ หน้ากับศัตรูที่เข้มแข็ง อโยธยาจึงไม่อาจต้านรับได้ จนสุดท้ายจึงต้องเสียกรุงให้แก่ข้าศึกไปทั้งยังทำให้อาณาจักรต้องล่มสลายไป อีกด้วย
.

…..ซึ่งการเสียกรุง ครั้งที่สองนี้ นอกจากเรื่องการขาดความสามัคคี ความอ่อนแอของกองทัพ ความเข้มแข็งของผู้รุกราน แล้ว ส่วนหนึ่งยังมาจากการที่ผู้บริหารบ้านเมืองยึดติดอยู่กับการแสวงหาผล ประโยชน์ใส่ตัวและหลงเพ้อกับภาพลวงตาของความมั่งคั่งจนมองไม่เห็นปัญหาที่ สะสมอยู่ ถ้าเปรียบไปก็คล้ายกับไม้ใหญ่ที่ภายนอกดูแข็งแกร่งมั่นคง แต่ภายในผุกร่อนจากแมลงชอนไช ครั้นเมื่อถูกลมพายุพัดก็หักโค่นลงอย่างง่ายดาย

30 ธ.ค. 56 เวลา 23:03 2,939 1 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...