ชาก้า ซูลู ราชันย์นักรบแห่งกาฬทวีป

ก่อนที่ชาวผิวขาวจะ สร้างอาณานิคมของตนเองขึ้น ส่วนใหญ่ของทวีปอาฟริกาคือดินแดนของชนผิวดำนับร้อยเผ่าที่ปกครองและทำศึก สงคราม ระหว่างกัน ในบรรดาชนเผ่าต่างๆของทวีปอาฟริกา ชนเผ่าซูลูนับได้ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่เผ่าที่เป็นที่รู้จักและครั่นคร้ามของ ชาวผิวขาวผู้เดินทางเข้ามา

อย่างไรก็ดีแต่เดิม ชาวซูลูเป็นเพียงนักรบเผ่าเล็กๆที่ไม่สำคัญอะไร ความยิ่งใหญ่ของชาวซูลูมีจุดเริ่มต้นมาจาก คมหอกของนักรบผู้มีนามว่า ชาก้า ที่สร้างชนเผ่าเล็กๆนี้ให้กลายเป็นชนเผ่าที่ยิ่งใหญ่ซึ่งครั้งหนึ่งมี อาณาจักรซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของอาฟริกาตะวันออกเฉียงใต้

กษัตริย์ชาก้า ได้รับ สมญาว่านโปเลียนซูลู ความสามารถในการทำศึกของเขานั้นเป็นที่เลืองลือและกองทัพซูลูก็ได้ชื่อว่า เป็นกองทัพที่เกรียงไกรที่สุดในประวัติศาสตร์ทางใต้ของทวีปอาฟริกา ไม่เฉพาะแต่ความเป็นอัจฉริยะทางสงครามเท่านั้น แต่ชาก้ายังได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่เหี้ยมโหดที่สุด โดยในการก้าวขึ้นสู่อำนาจ เขาได้ปลิดชีวิตผู้คนไปมากกว่าหนึ่งล้านคน เรื่องราวของชาก้าเป็นที่เล่าขานและเป็นอีกบทหนึ่งของประวัติศาสตร์ทวีปอา ฟริกา

ชาก้าถือกำเนิดขึ้นใน ปี 1787 โดยเป็นบุตรของเซนซางาโกนา(Senzangakona)หัวหน้าเผ่าอามาซูลูกับ นันดี(Nandi)ธิดาของหัวหน้าเผ่าแลงเกนี (Langeni) ในเวลานั้นเผ่าอามาซูลูเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆ พวกเขาอาศัยอยู่ในหุบเขาอุมกุมบานี(Mkhumbane)เมืองหลวงของชาวซูลูตั้งอยู่ ใกล้กับแม่น้ำอุมโฟโลซีขาว (white Mflolozi) เมื่อชาก้าถือกำเนิดได้ไม่นาน เซนซางาโกนาได้หย่ากับนันดี นางจึงตัดสินใจพาบุตรชายกลับไปอยู่กับเผ่าแลงเกนี

ทว่าหัวหน้าเผ่าคน ใหม่และผู้คนส่วนใหญ่ในเผ่าเกลียดชังที่นางเคยเป็นภรรยาของหัวหน้าเผ่าซูลู ซึ่งขณะนั้นเพิ่งจะมีเรื่องขัดแย้งกับชาวแลงเกนีทำให้ชาก้าและมารดาถูกข่ม เหงและดูถูกสารพัดประการ ในที่สุดนันดีจึงตัดสินใจพาชาก้ากลับไปยังเผ่าซูลูอีกครั้ง แม้ว่าชาวซูลูจะไม่ต้อนรับพวกนางนักก็ตาม ด้วยเหตุนี้เองทำให้ตลอดชีวิตวัยเด็กของชาก้าจึงเต็มไปด้วยการถูกกลั่นแกล้ง และดูหมิ่น แต่ชาก้าก็ถูกมารดาพร่ำสอนให้ระลึกถึงสายเลือดของผู้นำในตัวเขาเสมอ ทำให้เด็กชายมีความหยิ่งทะนงทะเยอทะยานและเก็บงำความเกลียดชังผู้คนที่กลั่น แกล้งเขาอยู่ในใจ ตราบจนกระทั่งโตขึ้น

ในเวลาต่อมาดินแดนของ เผ่าอามาซูลูประสบภาวะแห้งแล้งจนเกิดความแตกแยกขึ้นในเผ่า ชาวซูลูจำนวนหนึ่งยอมเป็นบริวารของเผ่าอุมเตตวา (Mtetwa)ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีอำนาจมากที่สุดในเวลานั้น ชาก้าซึ่งอายุได้ยี่สิบสามปี ถูกเกณฑ์เข้าเป็น นักรบในกองทัพของเผ่าอุมเตตวา ชาก้าเป็นนักรบที่เหี้ยมหาญและชาญฉลาด เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับกองร้อยเมื่ออายุเพียงยี่สิบหก ในเวลานั้น ดิงกิสวาโย(Dingiswayo)ประมุขแห่งชนเผ่าอุมเตตวาพอใจในความกล้าหาญและเฉลียว ฉลาดของเขา และดำริจะให้ชาก้าเป็นหัวหน้าเผ่าซูลู ทั้งนี้เนื่องจากดินแดนของพวกซูลูอยู่ห่างไกลจากเผ่าอุมเตตวาและดิงกิสวาโย ต้องการให้เผ่าซูลูเป็นกันชนให้กับอาณาจักรของตน กับชนเผ่าอื่นๆที่ยังเป็นศัตรูอยู่

ในขณะนั้น ชาก้าได้รับตำแหน่งเมนซีวา (นายพล)ของเผ่าอุมเตตวาแล้ว และเมื่อเซนซางาโกนาสิ้นชีวิตลง ชาก้าก็อ้างสิทธิในบัลลังก์แห่งซูลู และด้วยการสนับสนุนของดิงกิสวาโย ชาก้าก็ทำสงครามกับพี่น้องต่างบิดาที่ไม่ยอมรับเขา ชาก้าได้สังหารผู้ต่อต้านทั้งหมดและขึ้นเป็นประมุขของชาวอามาซูลู หลังจากขึ้นเป็นประมุขของชาวซูลูแล้ว ชาก้าได้ทำการปรับปรุงกองทัพของพวกซูลูเสียใหม่ โดยชาก้าสร้างระเบียบแบบแผนของกองทัพขึ้น โดยรูปแบบการจัดทัพของพวกซูลูจะเน้นที่ความมีวินัยเข้าโจมตีอย่างพร้อม เพรียง โดยในการเข้าโจมตี กองทัพจะขยายแถวเป็นลักษณะคล้ายเขาวัว ในเวลาประจัญบาน ปีกซ้ายและปีกขวาจะทำหน้าที่ตรึงทัพข้าศึกไว้และทำให้ข้าศึกพะวักพะวน ขณะที่กำลังส่วนกลางจะเคลื่อนเข้าทำการสังหาร

นอกจากนี้ชาก้ายัง ปรับลักษณะของอาวุธในการรบ กล่าวคือแต่เดิมในการรบนั้นนักรบเผ่าต่างๆจะใช้หอกยาวเป็นอาวุธ โดยจะพุ่งหอกเข้าใส่ทัพศัตรูก่อนแล้วจึงโจมตีโดยใช้ขวานหรือมีด ซึ่งทำให้มีเพียงอาวุธสั้นในการเข้าประจัญบาน แต่ชาก้าให้นักรบซูลูใช้หอกสั้นเป็นอาวุธและมีหอกซัดขนาดเล็กซึ่งมีน้ำหนัก เบาประจำตัวอีกสองเล่ม ในการรบพวกซูลูจะใช้หอกซัดพุ่งใส่ข้าศึกก่อน แล้วจึงเข้าประจัญบานพร้อมหอกสั้นในมือ ทำให้นักรบซูลูได้เปรียบในการรบประชิดตัว นักรบซูลู นอกจากนี้ชาก้ายังได้จัดแบ่งกองทัพเป็นกรมกอง เรียกว่า อิมปี (Impi) โดยใช้อายุเป็นเกณฑ์ เขาจัดให้นักรบที่มีระดับอายุเดียวกันอยู่ในกองเดียวกัน และห้ามมิให้นักรบแต่งงานจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากหัวหน้าเผ่า ทั้งนี้ชาก้าได้กำหนดกฏเหล็กสำหรับนักรบว่า นักรบที่หันหลังหนีศัตรูจะได้รับโทษตายสถานเดียว การปรับปรุงกองทัพของเขา ทำให้นักรบซูลูเป็นนักรบที่ทรงประสิทธิภาพเหนือนักรบเผ่าอื่นๆ และได้ชื่อว่าเป็นนักรบที่ไม่เคยแพ้

เมื่อชาก้าได้ขึ้น เป็นหัวหน้าเผ่านั้น ดินแดนของพวกซูลูได้มีชนเผ่าอื่นๆเข้ามาอาศัยอยู่ กลุ่มชนเหล่านี้ต่อต้านเผ่าซูลูและอาณาจักรของดงกิสวาโย หัวหน้าของกลุ่มชนเหล่านี้คือ ซวีเด(Zwide) โดยซวีเดได้โจมตีพวกซูลูและอุมเตตวาหลายครั้ง และในการรบครั้งใหญ่บนฝั่งแม่น้ำอุมโฟโลซี นักรบซูลูสามหมื่นคนของชาก้าก็สามารถเอาชนะนักรบหกหมื่นคนของซวีเดได้ แต่ชัยชนะครั้งนี้ก็ยังไม่อาจทำลายซวีเดได้ เนื่องจากเขายังมีพันธมิตรอีกหลายเผ่าคอยหนุนอยู่ ในที่สุดขณะที่ซวีเดนำกองทัพเข้ารุกรานดินแดนของเผ่าอุมเตตวา ชาก้าก็นำทัพซูลูบดขยี้ เผ่าเอ็นดวันดวี(Ndwandwe) พันธมิตรสำคัญของซวีเดจนราบคาบ ทำให้ซวีเดและกองทัพของเขาขาดกำลังสนับสนุน ซวีเดพ่ายแพ้และหนีไปพร้อมกำลังเพียงเล็กน้อย ส่วนชนเผ่าอื่นๆที่เหลือต่างยอมจำนนต่อซูลู

หลังชนะศึก ชาก้าได้ย้ายเมืองหลวงจากแม่น้ำอุมโฟโลซีไปตั้งที่ กวาบูลาวาโย(Kwabulawayo)อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งอาณาจักรของเขา หลังตั้งเมืองหลวงชาก้าได้ทำศึกเพื่อล้างแค้นเผ่าแลงเกนี กองทัพซูลูได้รับชัยชนะ ชาก้าไว้ชีวิตชาวแลงเกนีเพียงไม่กี่คนซึ่งเป็นคนที่เคยช่วยเหลือเขาเมื่อตอน เป็นเด็ก จากน้นเผ่าซูลูได้ทำสงครามกับเผ่าบูเตเลซีและได้ชัยชนะโดยสังหารพลเมืองของ ศัตรูเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในการทำสงครามทุกครั้งชาก้ามักจะกวาดล้างศัตรูจนถึงที่สุดและจะไม่พอ ใจมากหากเผ่าใดยอมจำนนโดยไม่ได้สู้รบกัน

ครั้นถึงในปี1817 ขณะที่กำลังวางแผนบุกเข้าไปยังดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ กษัตริย์ดิงกิสวาโยได้สิ้นพระชนม์ลง เหล่าขุนพลและเชื้อพระวงศ์ต่างทำสงครามแย่งชิงอำนาจในอาณาจักร ชาก้าได้ปราบปราบขุนศึกต่างๆจนหมดสิ้นและครอบครองดินแดนทั้งหมดของอาณาจักร อุมเตตวาและเปลี่ยนชื่อเป็น ซูลูแลนด์(Zululand) จากนั้นชาก้าได้เคลื่อนทัพเข้าไปยังดินแดนตะวันออกเฉียงใต้และกวาดล้างเผ่า ต่างๆจนหมดสิ้น

ในปี ค.ศ.1820 อำนาจของกษัตริย์ชาก้าได้ขึ้นจนถึงที่สุด ซึ่งในเวลานั้นอำนาจของเผ่าซูลูได้ปกคลุมตลอดภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป แอฟริกา โดยในเมืองหลวงที่กวาบูลาวาโยนั้น มีพลเมืองนับหมื่น ชาก้าไม่มีมเหสีแต่มีนางสนมถึง 1200 คน ทว่าไม่มีโอรสหรือธิดาแม้เพียงองค์เดียว

 ล่วงเข้าปี ค.ศ.1824 ชาวอังกฤษได้เดินทางมายังดินแดนซูลู และเข้าเฝ้าชาก้า ซึ่งเพิ่งจะได้รับบาดเจ็บในการรบ ชาวอังกฤษได้รักษาแผลให้จนหายดี ทำให้ชาก้าพอใจมาก จึงลงนามยินยอมให้ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนนาตาลซึ่งอยู่ใน อาณาจักรของพระองค์ได้ และในปีเดียวกันนั้นเอง นันดีมารดาของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ลง ชาก้าเศร้าโศกเสียใจมาก และในพิธีศพ ชาก้าได้สั่งให้ประหารคนถึง7000 คน เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณให้แก่พระมารดาของพระองค์ นอกจากนี้ยังสั่งให้พลเมืองทั้งหมดบริโภคอาหารเพียงเล็กน้อยเพื่อไว้ทุกข์ จนมีผู้คนจำนวนมากต้องเจ็บป่วยล้มตาย

จนกระทั่งอีกสามเดือน ต่อมา ชาก้าก็สั่งยกเลิก ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นได้เพาะเชื้อแห่งความโกรธแค้นขึ้นในหมู่ราษฎรเป็น อันมาก ประกอบในเวลาต่อมา ชาก้าส่งทัพใหญ่ไปโจมตีเผ่าซวาซีบริเวณแม่น้ำลิมโปโป สภาพอากาศที่แปลกไปพร้อมทั้งโรคภัยไข้เจ็บทำลายชีวิตทหารเป็นจำนวนมากและ พ่ายแพ้ในที่สุด อำนาจของชาก้าเริ่มตกต่ำลงในสายตาของผู้คน

จนกระทั่งปี 1828 ดินกาอันและอัมฮลันกานาผู้เป็นน้องชายต่างมารดาของพระองค์ได้ร่วมมือกับอุ มโมโปเสนาบดีคนสนิทของชาก้า วางแผนการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ และในวันที่22 กันยายน ปี ค.ศ.1828 ชาก้าก็ถูกลอบปลงพระชนม์ในตำหนักของพระองค์เอง ขณะอายุได้ 41 ปี และครองราชย์มาทั้งสิ้นสิบสองปี หลังจากนั้น ดินกาอันได้ประกาศตนขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของอาณาจักรซูลู

30 ธ.ค. 56 เวลา 23:00 2,236 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...