นโปเลียนแห่งอียิปต์

..ในบรรดา นักรบผู้เกรียงไกรแห่งยุคโบราณ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่สาม ได้รับการยกย่องในพระปรีชาสามารถในการพิชิตศึก จนได้รับสมญานามจากนักประวัติศาสตร์ว่า นโปเลียนแห่งอียิปต์ ทว่าสิ่งหนึ่งที่พระองค์เหนือกว่านโปเลียน นั่นคือ ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ กองทัพอียิปต์มิเคยพ่ายแพ้ในศึกใดฟาโรห์ ทุตโมซิสที่สามเป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่สิบแปด โดยในเวลานั้นเมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์อยู่ที่นครธีบส์ (Thebes) ทุตโมซิสที่สาม ทรงเป็นพระโอรสของฟาโรห์ทุตโมซิสที่สองกับพระสนม เนื่องจากพระมเหสีของทุตโมซิสที่สอง ไม่มีพระโอรส ดังนั้นพระองค์จึงได้เป็นรัชทายาท

…..หลังจาก ฟาโรห์ทุตโมซิสที่สองสิ้นพระชนม์ลง พระองค์ได้ขึ้นเป็นฟาโรห์ต่อจากพระราชบิดา แต่เนื่องจากในขณะนั้น ทุตโมซิสที่สามยังทรงพระเยาว์อยู่มาก ดังนั้นพระมาตุจฉาของพระองค์ คือ พระนางฮัทเชปซุท จึงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนและในภายหลังก็กุมอำนาจเป็นฟาโรห์หญิงอยู่ ระยะเวลาหนึ่ง

…..สำหรับ พระนางฮัทเชปซุทนี้ ทรงเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมซิสที่หนึ่ง และเป็นพระพี่นางของฟาโรห์ทุตโมซิสที่สอง ตามพระราชประเพณีอียิปต์โบราณ ผู้เป็นฟาโรห์ต้องอภิเษกกับผู้อยู่ในเชื้อสายเดียวกัน เพื่อคงไว้ซึ่งความสูงส่งของสายเลือด ดังนั้นพระนางจึงเข้าพิธีอภิเษกและเป็นมเหสีของทุตโมซิสที่สอง

…..หลังจาก พระสวามีสิ้นพระชนม์ พระนางก็ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนทุตโมซิสที่สาม โดยมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าพระนางปฏิบัติองค์เหมือนดังฟาโรห์ที่เป็นบุรุษ มีการติดเคราปลอมขณะออกว่าราชการ เนื่องจากพระนางทรงมีพระปรีชาสามารถในการบริหารปกครอง ดังนั้น ในรัชสมัยของพระนาง จึงกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ที่สุดช่วงหนึ่งของ อียิปต์

…..แม้จะดู เหมือนแย่งอำนาจมาจากพระราชนัดดา แต่พระนางฮัทเชปซุท ก็ยังให้ความสำคัญกับเจ้าชายทุตโมซิสมาก โดยประทานตำแหน่งหัวหน้านักบวชแห่งเทพอมุนและนายพลแห่งกองทัพ ซึ่งได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างรากฐานอำนาจอันแข็งแกร่งให้กับเจ้าชายในเวลาต่อ มา และหลังจากครองราชย์ในฐานะฟาโรห์หญิงได้ราวยี่สิบปี ในปีที่ 1458 ก่อนคริสตกาล พระนางก็สละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายทุตโมซิส ซึ่งได้กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง

…..ฟาโรห์ ทุตโมซิสที่สาม ทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าพระองค์เชี่ยวชาญในการขี่ม้า ยิงธนูและล่าสัตว์ อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถอีกด้วย ในด้านความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระนางฮัเชปซุทนั้นจากหลักฐานที่มีอยู่ พอจะบอกได้ว่า ฟาโรห์ทุตโมซิสที่สาม ไม่ได้ทรงพอพระทัยที่พระนางฮัเชปซุทขึ้นครองราชย์นัก สังเกตได้จากการที่พระองค์ได้สั่งให้ทำลายรูปเคารพและรูปสลักของพระนางจน เกือบหมด

…..ในรัช สมัยของพระนางฮัทเชปซุทนั้น อียิปต์แทบไม่มีสงครามใหญ่ๆเกิดขึ้นเลย ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางการทูตของพระนางที่เน้นการเชื่อมสัมพันธ ไมตรีมากกว่าการรบ แต่หลังจากฟาโรห์ทุตโมซิสที่สาม ขึ้นครองราชย์ บรรดาหัวเมืองขึ้นของอียิปต์ ถือโอกาสกระด้างกระเดื่องต่อฟาโรห์หนุ่ม อีกทั้งอาณาจักรใกล้เคียงก็ถือโอกาสคุกคาม

…..ในปีที่ 1456 ก่อนคริสตกาล ชาวคานานไนต์ ได้แข็งข้อต่ออียิปต์ ผู้แข็งข้อนำโดยนครรัฐแห่งเมกิดโด (Megiddo) กองกำลังของพวกเขาได้รับการหนุนหลังจากชาวเมโสโปเตเมียและซีเรีย ด้วยกองทัพมหึมาที่นำโดยเจ้าชายสามร้อยพระองค์แห่งซีเรีย

…..ฟาโรห์ ทุตโมซิสที่สามทรงนำกองทัพไปปราบกบฏครั้งนี้ด้วยพระองค์เองเพื่อทรงพิสูจน์ ว่าพระองค์คือฟาโรห์ที่แท้จริง ทั้งนี้ในยุคของพระองค์นั้น เทคโนโลยีการทำสงครามของอียิปต์ก้าวหน้ากว่าขึ้นมาก โดยมีอาวุธยิงอย่างธนูที่มีอานุภาพมากกว่าแบบเก่า อีกทั้งยังมีการใช้ม้าและรถศึกในการรบอีกด้วย อันเป็นผลมาจากการรุกรานของพวกฮิกโซสที่นำเอารถศึกเข้ามาใช้ ทำให้ชาวอียิปต์ได้รู้จักอาวุธชนิดนี้

…..หลังจาก ทราบข่าวศึก กองทัพอียิปต์ระดมพลและเคลื่อนทัพอย่างรวดเร็วข้ามทะเลทรายไซนายมุ่งหน้าสู่ เมืองกาซา ซึ่งยังคงยอมสวามิภักดิ์ต่ออียิปต์ ในการศึกครั้งนี้ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่สาม ทรงเล็งเห็นว่า เมกิดโด (Megiddo) คือที่หมายแรกที่พระองค์ต้องพิชิตให้ได้ หากต้องการชนะศึกนี้

…..หลังจาก กองทัพเคลื่อนพลมาถึงอารูน่า(Aaruna) ทุตโมซิสได้ทรงเรียกประชุมเหล่าแม่ทัพนายกองเพื่อวางแผนเข้าโจมตีเมกิดโด จากข้อมูลที่พระองค์ได้รับ เส้นทางเข้าสู่เมกิดโดมีอยู่สองเส้นทาง โดยเส้นทางแรกเป็นทางอ้อมภูเขาแต่ทางกว้างขวางสะดวกแก่การเคลื่อนทัพ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งเป็นเส้นทางที่ตัดผ่านภูเขาเข้าไป แต่ทว่าแคบมาก อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างลำบาก

…..บรรดา แม่ทัพนายกองเสนอว่า ควรใช้เส้นทางอ้อมภูเขา ที่แม้จะไกลกว่าแต่ก็สะดวกแก่การเคลื่อนทัพมากกว่า พวกเขากล่าวว่า “ ม้าศึกและพลรบ แทบจะต้องเดินเรียงแถวเดี่ยวเพื่อผ่านเส้นทางนั้นและหากว่าเป็นแบบนั้นแล้ว กองหน้าของเราอาจจะถูกข้าศึกโจมตีบดขยี้ ก่อนที่กองทัพหลวงจะไปถึง” แต่ฟาโรห์ทุตโมซิสทรงกล่าวกับพวกเขาว่า “ ตราบเท่าที่ข้ายังคงมีชีวิตอยู่ ข้าเชื่อว่าข้ายังคงเป็นที่รักของเทพเจ้าราและได้รับการอวยพรจากบิดาของข้า เทพอมุน , ข้าจะเดินทัพผ่านเส้นทางนั้น และหากว่าพวกเจ้าจะไปยังทางที่เจ้าต้องการก็จงไปเถิด ข้าจะให้แต่ผู้ที่สมัครใจยินดีไปกับข้าเท่านั้น ได้ติดตามข้า ”

…..เมื่อ เหล่าไพร่พลได้ยินเช่นนั้น ต่างตะโกนโห่ร้องกึกก้อง “พวกเราจะขอติดตามเจ้าเหนือหัวของเราไปยังทุกที่และทุกเส้นทาง ที่พระองค์เสด็จไป”

…..ทุตโมซิ สดำเนินด้วยพระบาทนำหน้าเหล่ารี้พลผ่านช่องแคบนั้น มันต้องใช้เวลานานมากกว่าสิบสองชั่วโมงกว่าที่กองหน้าของทัพอียิปต์จะไปถึง ทางออกอีกด้านของหุบเขาและใช้เวลาอีกกว่าเจ็ดชั่วโมงก่อนที่กองทหารกองสุด ท้ายจะผ่านเข้ามา ฟาโรห์ทุตโมซิสทรงรออยู่ที่ปากทางจนกระทั่งทหารคนสุดท้ายผ่านมาได้อย่าง ปลอดภัย

…..การ ปรากฏตัวอย่างไม่คาดฝันของกองทัพอียิปต์ ทำให้ฝ่ายข้าศึกไม่ทันตั้งตัว ทุตโมซิสสั่งกองทัพของพระองค์ เข้าโจมตีทันที ทำให้ข้าศึกที่ยังไม่ทันตั้งกระบวนรบต้องแตกพ่าย ยิ่งเมื่อพวกเขาเห็นทุตโมซิสเป็นผู้นำทัพมาเอง ยิ่งทำให้ขวัญกำลังใจของฝ่ายข้าศึกตกต่ำและสิ้นกำลังใจที่จะรบ แม้ว่าพวกเขาจะมีกำลังมากกว่าฝ่ายอียิปต์ก็ตาม

…..กองทัพ พันธมิตรแห่งเมกิดโดแตกกระเจิงจากสนามรบ ทิ้งม้าศึกและรถศึกรวมทั้งทรัพย์สินต่างๆมากมายไว้เบื้องหลัง ด้วยความละโมบทำให้ไพร่พลชาวอียิปต์ มัวแต่ตามเก็บทรัพย์สมบัติที่พวกข้าศึกทิ้งเอาไว้ทำให้ฝ่ายอียิปต์สูญเสีย โอกาสในการเข้ายึดเมืองในวันนั้น

…..ฟาโรห์ ทุตโมซิสทรงพิโรธมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น พระองค์ตรัสกับบรรดาขุนศึกว่า “ถ้าพวกเจ้าไม่มัวแต่เสียเวลากับการเก็บทรัพย์สินที่พวกศัตรูทิ้งเอาไว้ พวกเราก็คงยึดเมกิดโดได้ในทันที พร้อมกับจับตัวเจ้านครทั้งหมดเอาไว้ได้ ซึ่งจะเท่ากับพิชิตนครนับร้อยได้ในศึกเพียงคราวเดียว”

…..ฟาโรห์ ทรงสั่งให้ตั้งทัพล้อมรอบนครเมกิดโดเอาไว้ โดยขุดคันคูเลียบตามแนวกำแพงเมืองและตั้งแนวค่ายรายล้อมเอาไว้ พร้อมกับมีพระบัญชาแก่กองทัพของพระองค์ว่า ห้ามมิให้ใครออกมานอกเมืองจนกว่าพวกในเมืองจะแสดงสัญญาณขอยอมจำนน

…..และแล้ว หลังการปิดล้อมอย่างแน่นหนาผ่านไปได้เจ็ดเดือนบรรดาเจ้านครที่ติดอยู่ในเม กิดโดก็ตัดสินใจขอยอมจำนน พวกเขาส่งบรรดาโอรสและ ธิดารวมทั้งทรัพย์สินมีค่าต่างๆอีกมากมาย ซึ่งรวมถึงรถศึก 924 คัน และม้าศึกอีกกว่า 2000 ตัวเพื่อถวายเป็นบรรณาการ พร้อมกับให้สัตย์สาบานว่าจะจงรักภักดีต่อพระองค์ตลอดไป

…..ชัยชนะ ครั้งแรกของทุตโมซิสที่สาม ณ. ช่องเขาเมกิดโด กลายเป็นข้อพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ หลังการศึกที่เมกิดโด ทุตโมซิสยังทำสงครามกับกษัตริย์ซาอัสทาทาร์ (Saustatar) ของชาวไมทานนีที่เมืองคาเดช ซึ่งตั้งอยู่ในซีเรียและได้รับชัยชนะ 

…..จากนั้นพระองค์ยังคงทำศึกอีกหลายครั้งตลอดรัชกาลของพระองค์ โดยทรงยกกองทัพเข้าบุกเอเชียถึงสิบหกครั้งและทรงได้รับชัยชนะทุกครั้ง

…..ครั้ง หนึ่งในการทำศึกกับนครจอปปา(ปัจจุบันคือ เมืองจัฟฟา ในอิสราเอล) เมื่อปีที่1450 ก่อนคริสตกาล หลังจากการปิดล้อมอันยาวนาน กองทัพอียิปต์ไม่อาจตีฝ่าการป้องกันของชาวเมืองได้ พระองค์จึงสั่งให้ถอนทัพและทิ้งกระบุงบรรจุทัพย์สินจำนวนมากเอาไว้โดยใน กระบุงเหล่านั้นมีทหารฝีมือดีหลบซ่อนอยู่ ชาวจอปปาตกหลุมพรางโดยนำเอากระบุงเหล่านั้นเข้าไปในเมือง ครั้นพอตกดึกกองทหารที่หลบซ่อนอยู่ก็ออกมา สังหารทหารยามชาวเมืองและเปิดประตูรับกองทัพใหญ่ที่ซุ่มอยู่นอกเมือง ในที่สุดเมืองก็แตกเสียให้แก่ทัพอียิปต์

…..นอกจาก การทำศึกในเอเชียแล้ว พระองค์ยังทำสงครามพิชิตพวกลิเบียและแผ่แสนยานุภาพไปยังลุ่มน้ำไนล์ตอนบน เพื่อทำศึกกับชาวนูเบีย(ปัจจุบันคือ ซูดาน) ซึ่งนับแต่สมัยของทุตโมซิสที่หนึ่ง ทางอียิปต์ได้มีความพยายามที่จะเข้าครอบครองนูเบียซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่ง แร่ทองคำและของป่ามีค่าอื่นๆเช่น ไม้มะเกลือ,หนังสัตว์,งาช้างและกำยาน

…..จวบจน กระทั่งในสมัยของทุตโมซิสที่สาม พระองค์ก็สามารถพิชิตดินแดนนูเบียได้สำเร็จ และขยายอาณาเขตของอียิปต์มาจนถึง แก่งน้ำตกที่สี่ของแม่น้ำไนล์ หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสร้างนครนาปาต้า (Napata) ขึ้นทางตอนเหนือของแก่งน้ำตกที่สี่เพื่อใช้ควบคุมดินแดนนูเบีย และยังทรงเกณฑ์ชาวนูเบียเข้ามาเป็นทหารในกองทัพของพระองค์ด้วย

…..กล่าว ได้ว่ารัชสมัยของพระองค์ อียิปต์กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ ทุตโมซิสที่สามได้ก่อตั้งยุคสันติภาพอียิปต์ (Pax Egyptiaca)ขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นการรับประกันความปลอดภัยด้วยแสนยานุภาพของกองทัพ ส่งผลให้การค้ากับดินแดนต่างๆรุ่งเรือง อียิปต์ได้ทำการค้ากับเพื่อนบ้านอย่างกรีก และ ไซปรัส สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรเป็นอย่างมาก

…..นอกจาก การรบ ฟาโรห์ทุตโมซิสที่สามยังเป็นฟาโรห์นักสร้างพระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงสร้างวิหารในปาเลสไตน์และนูเบีย อีกทั้งยังสร้างวิหารเดียเอล บาริห์ (Deir el-Bahri) ต่อจากทุตโมซิสที่1และพระนางฮัทเชปซุต และต่อเติมมหาวิหารแห่งคานัค โดยสร้างหมู่วิหารเพิ่มเติมและโปรดให้ ราชเลขานุการของพระองค์ขนามว่า ทาเนนิ (Tjaneni)สลักเรื่องราวชัยชนะของพระองค์ที่เมกิดโดลงไปบนกำแพงวิหารอย่าง ละเอียด

…..ฟาโรห์ ทุตโมซิสที่สาม สวรรคตในปีที่ 1425 ก่อนคริสตกาล ในเวลานั้นอียิปต์ได้กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่มีอำนาจเหนือดินแดนทั้งใน ทวีปแอฟริกาและเอเชีย อันเป็นผลมาจากชัยชนะในสงครามของพระองค์ และเนื่องด้วยความสามารถในการรบของพระองค์นี่เอง ที่เป็นที่มาของสมญานาม นโปเลียนแห่งอียิปต์

#นโปเลียนแห่งอียิปต์
seal1993
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
30 ธ.ค. 56 เวลา 22:57 1,160 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...