10. กระโหลกตูไม (Toumai skull) ปี 2002
มิเชล บรูเนต์ (Michel Brunet) ขุดพบฟอสซิลมนุษย์ดึกดำบรรพ์ในทะเลทรายกลางประเทศชาด เป็นซากกะโหลกอายุ 7-8 ปี มีรูปลักษณะคล้ายมนุษย์ที่พบได้ทางตอนใต้และตะวันออกของแอฟริกา โดยเชื่อว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการกระจายอยู่รอบๆ เกาะแอฟริกา การขุด เจาะ และค้นคว้า เพื่อค้นหาที่มาของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลกคงยังไม่จบลงง่ายๆ เพียงแค่นี้ เพราะนอกจากมนุษย์เรามีคำถามที่ท้าทายหัวใจว่า “เรามาจากไหน” คำถามที่ยิ่งใหญ่และยากจะหยั่งถึงคำตอบสำหรับวันข้างหน้าที ่ต้องหาให้ได้อีกข้อนั่นก็คือ “เราจะไปไหน” (และอย่างไร)
9. พบรอยเท้ามนุษย์ดึกดำบรรพ์ (Laetoli Footprints)
ในปี 1978 มารี ลีกเค (Mary Leaky) นำทีมค้นพบฟอสซิลรอยเท้าของมนุษย์ ออสตราโลพิเธคัสอายุประมาณ 3.5 ล้านปี ในเมืองลาเอทอลี (Laetoli) ประเทศแทนซาเนีย รอยเท้า 2 รอยดังกล่าวคาดว่าจะประทับไว้ขณะที่เดินย่ำโคลนภูเขาไฟที่มี ลักษณะเหมือนซีเมนต์เปียก โดยสันนิษฐานว่ามนุษย์เจ้าของรอยเท้านี้มีลักษณะที่สมบูรณ์แข็งแรง ดูจากการก้าวเท้าที่ยาวมั่นคง จึงเชื่อได้ว่า ณ เวลานั้นมนุษย์เดินหลังตรงแล้ว
8. ค้นพบ ลูซี่ หรือ ออสตราโลพิเธคัส อะฟาเรนซิส
ในปี 1974 (Australopithecus Afarensis) โดนัลด์ โจฮานสัน (Donald Johnson) ค้นพบโครงกระดูกบางส่วนของมนุษย์เพศหญิงอายุ 3.2 ล้านปี ในเอธิโอเปีย และนับเป็นการค้นพบมนุษย์ฟอสซิลที่มีอายุมากที่สุดในโลกในขณะนั้น
7. ทฤษฏีการคัดเลือกตามธรรมชาติ (Theory of Natural Selection) ในปี 1858
ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) พิมพ์หนังสือชื่อ ออน ดิ ออริจิน ออฟ สปีชีส์ บาย มีนส์ ออฟ เนเจอรัล ซีเล็กชัน (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) อธิบายว่าธรรมชาติเป็นตัวกำหนดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ดาวิน ได้ออกเดินทางกว่า 5 ปีเศษทางเรือ ไปอเมริกาใต้อ้อมแหลมออกมหาสมุทรแปซิฟิกไปสุมาตรา อ้อมแหลมกู๊ดโฮปกลับไปอังกฤษ ระหว่างการเดินทางเขาได้พบทั้งคน สัตว์ และพืชนานาชนิด เขาวาดภาพและเก็บตัวอย่างกลับมาอังกฤษมากมาย จนเขาเชื่อโดยมีหลักฐานยืนยันว่าสัตว์และพืชมีต้นกำเนิดมา จากแหล่งเดียวกันและคนมีวิวัฒนาการมาจากลิง
6. แบ่งประเภทสายพันธุ์ ในปี 1735
คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการแบ่งหมวดหมู่ (father of taxonomy) ได้พัฒนาระบบการตั้งชื่อ จัดอันดับ และแยกประเภทของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน (แม้ว่าหลายชนิดจะเปลี่ยนรูปร่างลักษณะไปจากเดิม) ระบบลินเนียนนี้อยู่บนฐานการใช้ลักษณะร่วมทางกายภาพ ใช้ลำดับขั้นเริ่มจากอาณาจักร (kingdoms) ที่บรรจุชั้น (classes) อันดับ (orders) ครอบครัว (famillies) สกุล (generagenus) และพันธุ์ (species)
5. พบซากสิ่งมีชีวิต 500 ล้านปี ในปี 1909
ชาร์ล วาลค็อตต์ (Charles Walcott) ได้เปิดทางแร่ขนาดใหญ่พบซากฟอสซิลแคมเบรียน (Cambrian) ในเทือกเขาแคนาเดียน ร็อกกี้ (Canadian Rocky Mountains) พบซากสิ่งมีชีวิตชนิดหนี่งที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานกว่า 500 ล้านปี ทั้งนี้วาลค็อตต์สะสมสิ่งมีชีวิตต่างๆ มากว่า 65,000 พันธุ์ โดยได้จำแนกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ และยังค้นพบว่าซากฟอสซิลนั้นเป็นบรรพบุรุษของสิ่งมีชิวิต ทั้งหลายในโลก
4. ชีวิตใหม่ก่อตัวในช่องน้ำร้อนใต้ทะเล ในปี 1977
บ็อบ บาลลาร์ด (Bob Ballard) และลูกเรือดำน้ำอัลวีน (Alvin) ได้พบสิ่งมีชีวิตที่น่ามหัศจรรย์ชนิดใหม่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก ไม่พึ่งพาแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ แต่อาศัยอยู่ในรูพึ่งพาความร้อนจากน้ำ ซึ่งเป็นน้ำพุร้อนจากร่องแนวถูเขาไฟบริเวณสันเขากลางทะเลลึก โดยบริเวณนี้มีสภาพเกื้อหนุนทางเคมีที่จะช่วยให้ระบบนิเวศดำเนิน ต่อไปได้ใต้ท้องทะเล
3. ขีดความสามารถในการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต ในปี 1953
สแตนเลย์ มิลเลอร์ (Stanley Miller) ได้ผสมผสานความคิดของนักวิทยาศาสตร์ต่างๆ สร้างบรรยากาศของโลกยุคก่อนด้วยการสร้างห้องที่บรรจุเฉพาะ ไฮโดรเจน น้ำ มีเทนและแอมโมเนีย เขาต้มน้ำและใส่ธาตุที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าเหมือนกับ การเกิดฟ้าแลบ พร้อมทั้งกระตุ้นผิวโลกให้เหมือนกระบวนการ ก่อตัวก่อนหน้านี้ หลังจากทดลองอยู่ 1 สัปดาห์ มิลเลอร์ก็พบอินทรีย์ผสมก่อรูปขึ้น รวมทั้งกรดอะมิโน ก่อให้เกิดการสร้างชีวิตใหม่ขึ้นมา
2. พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ชิ้นแรก ช่วงปี 1820- 1840
ในปี 1822 วิลเลียม บัคแลนด์ (William Buckland) นักธรณีวิทยา ขุดพบฟันขนาดใหญ่มากในอังกฤษ และในขณะนั้นก็ไม่มีคำอธิบายสิ่งที่เข้าค้นพบ จากนั้นอีก 20 ปีต่อมาในปี 1842 เซอร์ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen) ได้นิยามคำว่า ไดโนเสาร์ ขึ้นมาอธิบายซากฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบบนเกาะอังกฤษ และซากไดโนเสาร์ตัวแรกที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลกก็คือ เมกาโลซอรัส (Megalosaurus)
1. ทฤษฏีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกทำไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ปี 1980
วอลเตอร์ อัลวาเรซ (Walter Alvarez) มีหลักฐานยืนยันว่า พบธาตุไอรีดเดียม (iridium) ในแกนของหินตัวอย่างรอบโลก อันเป็นหลักฐานชี้ว่ามีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ซึ่งธาตุไอรีดเดียมนี้เป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปบนดาวเคราะห์น้อย โดยได้ค้นพบชั้นโคลนบริเวณที่เรียนกว่า เขตเค-ที (K-T boundary) ชั้นโคลนนี้มีอายุ 65 ล้านปีมีอายุอยู่ระหว่างยุคครีเตเชียส (Cretaceous) และเทอร์เทอรี (Tertiary) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปในช่วงนี้
ที่มา : http://www.toptenthailand.com/1066-top.html