ตาม หลักฐานที่บันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารของไทย ได้มีการกล่าวถึง นายทหารคู่พระทัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยกันทั้งหมดสามนาย ทีซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทโดดเด่น ได้แก่ พระชัยบุรี พระศรีถมอรัตน์ และพระราชมนู ต่อไปนี้คือเรื่องราวของทหารเสือทั้งสามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สำหรับ ทหารเสือท่านแรก คือ พระราชมนู นั้นได้ถูกกล่าวถึงในพงศาวดารหลายครั้ง โดยมีบทบาทเด่นครั้งแรกเมื่อครั้งสงครามกับกองทัพหน้าของพระเจ้าเชียงใหม่ใน ปี พ.ศ. 2127 โดยในสงครามครั้งนี้พระราชมนูพร้อมกับขุนรามเดชะได้คุมทหารม้า 200 นายทหารราบ 3,000 นาย ไปสกัดกองทัพหน้าของเชียงใหม่ซึ่งมีรี้พลถึง 15,000 นาย นำโดยไชยยะกะยอสูและนันทกะยอทางที่ยกเข้ามาตั้งมั่นที่ปากน้ำบางพุทราแขวงเมืองพรม
ในการรบ ครั้งนี้เนื่องจากพระราชมนูเห็นว่าฝ่ายตนมีกำลังน้อยกว่าข้าศึกหลายเท่าจึง ใช้ยุทธวิธีลอบโจมตีสังหารทหารข้าศึกที่ออกมาลาดหาเสบียงล้มตายเป็นจำนวนมาก จนทำให้ทัพหน้าของเชียงใหม่จำต้องล่าถอยไป
(ศึกทัพเชียงใหม่ที่ทุ่งบางแก้ว)
ครั้น ในปีรุ่งขึ้นเมื่อพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพหลวงลงมาทำศึกกับอโยธยาตามพระบัญชา ของพระเจ้านันทบุเรง สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงวางกลศึกซุ่มทำลายทัพเชียงใหม่ที่ทุ่งบางแก้วโดยทรง ให้พระราชมนูนำไพร่พล 10,000 นายเป็นกองล่อเข้าโมตีทัพเชียงใหม่เพื่อให้อีกฝ่ายไล่ตาม
ในศึกครั้งนี้พระราชมนูได้ปะทะกับกองหน้าของฝ่ายเชียงใหม่ที่มีกำลังพล 15,000 นาย นำโดยพระยาเชียงแสนเนื่องจากเห็นว่ากำลังของฝ่ายตนกับข้าศึกสูสีกันพระราช มนูจึงเข้ารบพุ่งโดยไม่ยอมล่าถอยทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงกริ้วและทรงให้ จหมื่นทิพรักษาถือพระราชโองการไปว่าหากพระราชมนูไม่ยอมถอยก็จะให้ประหารเสีย พระราชมนูเมื่อทราบดังนั้นจึงเร่งถอยทัพตามกลศึกและสามารถล่อให้ทัพใหญ่ของ ฝ่ายเชียงใหม่ล่วงเข้ามาถึงชัยภูมิที่ทัพหลวงของฝ่ายอโยธยาซุ่มอยู่จนทำให้ ทัพอโยธยาตีข้าศึกแตกพ่ายไปได้
(พญาละแวกถูกลงอาญา)
ผลงานที่ สำคัญที่สุดของพระราชมนู คือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีกรุงละแวก ซึ่งในสงครามครั้งนี้พระราชมนูได้รับหน้าที่เป็นแม่ทัพหน้าและได้สร้างผลงาน ที่ยิ่งใหญ่โดยสามารถตีเมืองของฝ่ายละแวกได้ถึงสามเมืองนั่นคือเมือง โพธิสัตว์เมืองพระตะบอง และเมืองบริบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นกองหน้าทำไพร่พลเข้าหักเอากรุงละแวกราชธานีของฝ่ายเขมรได้ ด้วย และด้วยผลงานที่สำคัญนี้เองสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงโปรดฯ ให้พระราชมนูขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยามหาเสนาบดีว่าการสมุหพระกลาโหม
ทหารเสือท่านต่อมาที่จะกล่าวถึงคือ พระชัยบุรี โดยชื่อของพระชัยบุรีปรากฏขึ้นครั้งแรกในศึกเขมรเมื่อปี พ.ศ.2125 พระเจ้ากรุงละแวกแห่งเขมรได้ส่งพระทศราชาคุมทหาร 5,000 นาย ยกมาตีเมืองนครราชสีมา พระนเรศวรซึ่งในยามนั้นทรงดำรงตำแหน่งมหาอุปราชได้เสด็จนำไพร่พล 3,000 นาย ไปรับศึกและให้พระชัยบุรีกับพระศรีถมอรัตน์ทหารเสืออีกท่านหนึ่งคุมพลม้า 500 เป็น กองหน้าทั้งสองได้นำไพร่พลเข้าตีกองหน้าของฝ่ายเขมรจนแตกพ่ายไปถึงกองหลวง ทำให้ข้าศึกเสียกระบวนทัพและถูกทัพของพระนเรศวรโจมตีจนแตกพ่ายยับเยิน หลัง จากสมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพแล้วพระชัยบุรีกับพระศรีถมอรัตน์ก็ได้สร้าง ผลงานอีกครั้งโดยการนำกองทหารเข้าโจมตีทัพของนันทสูกับราชสงครามจำนวน 10,000 นาย ที่ยกมาตั้งค่ายอยู่ที่กำแพงเพชรจนแตกพ่ายยับเยินไป
นอกจากการ รบทั้งสองครั้งที่กล่าวถึงไปแล้ว พระชัยบุรียังได้ตามเสด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทำสงครามกับหงสาวดีอีกหลาย ครั้งจนได้เลื่อนยศเป็นพระยาชัยบูรณ์ และภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ครองเมืองพระพิษณุโลกอันเป็น หัวเมืองเอกของฝ่ายเหนือ ซึ่งภายหลังจากได้เลื่อนยศแล้วเจ้าพระยาสุรสีห์อดีตพระชัยบุรีก็ยังมีบทบาท ในการนำกองทหารจำนวนหนึ่งร่วมกับพระยารามเดโชรับพระบัญชาสมเด็จพระนเรศวร เดินทางไปห้ามปรามทัพล้านช้างมิให้ยกเข้าตีล้านนา ซึ่งในเวลานั้นเป็นประเทศราชของอโยธยา โดยทางฝ่ายล้านช้างก็เกรงขามในพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรจนยอมถอย ทัพกลับแต่โดยดี
(สงครามยุทธหัตถี)
ส่วน ทหารเสือท่านสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนี้แม้จะมีฝีมือในการบไม่ย่อหย่อนกว่าทั้ง สองท่านที่กล่าวไปแล้วทว่าบั้นปลายสุดท้ายกลับแตกต่างไปมากนั่นคือ พระศรีถมอรัตน์ ซึ่งเคยสร้างผลงานในการศึกคู่กับพระชัยบุรีเมื่อครั้งทำศึกกับทัพเขมรในปี พ.ศ.2125 และเมื่อครั้งที่ทำศึกกับทัพหงสาวดีที่ควบคุมโดยนันทสู และราชสงครามหลังการประการอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรแล้ว
ครั้นเมื่อเกิดศึกนันทบุเรงพระศรีถมอรัตน์ซึ่งในเวลานั้นได้ยศเป็นพระยาศรีไสยณรงค์ได้คุมพล 5,000 นาย ทำศึกกับทัพเขมรที่ฉวยโอกาสเข้ามาตีชายแดนขณะที่ฝ่ายอโยธยายังติดศึกกับหงสาวดีอยู่ โดยแม้ว่าในศึกนี้ฝ่ายเขมรจะมีรี้พลถึง 10,000 นาย แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่ทัพของพระยาศรีไสยณรงค์ที่มีกำลังพลน้อยกว่า
จุดพลิกผัน ในชีวิตของพระยาศรีไสยณรงค์เริ่มขึ้นจากการที่ท่านนำทัพหน้าเข้าต่อสู้กับ ทัพหงสาวดีโดยพลการในศึกยุทธหัตถีจนเกือบทำให้ฝ่ายอโยธยาต้องเพลี่ยงพล้ำ จากนั้นพระยาศรีไสยณรงค์พร้อมกับนายทัพอีกจำนวนหนึ่งได้ถูกส่งไปทำศึกชิง เมืองทวายและตะนาวศรีมาจากหงสาวดีเพื่อไถ่โทษ ซึ่งแม้ว่าจะสามารถทำได้สำเร็จแต่พระยาศรีก็มิได้รับพระบรมราชโองการให้กลับ อโยธยาอีกหากแต่ถูกแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตะนาวศรีนั่นเอง
(ศึกตะนาวศรี)
สิ่งที่ เกิดขึ้นทำให้พระยาศรีน้อยใจและขมขื่นเป็นอันมากเนื่องจากรู้สึกว่าตนเอง ถูกลดความสำคัญลงจากที่เคยรับใช้ใกล้ชิดในพระนครกลับต้องมาเป็นเจ้าเมืองชาย แดนไม่ผิดกับถูกเนรเทศ และก็ด้วยความน้อยใจนี้เองที่ทำให้พระยาศรีไสยณรงค์ตัดสินใจแข็งเมืองต่อ อโยธยา ในตอนแรกพระนเรศวรไม่ทรงเชื่อว่าพระยาศรีไสยณรงค์ผู้เป็นข้าหลวงเดิมจะกล้า แข็งเมืองจึงทรงให้ข้าหลวงไปเรียกตัวเข้ามาสอบถาม ทว่าพระยาศรีไสยณรงค์ปฏิเสธทำให้พระนเรศวรทรงให้พระเอกาทศรถยกทัพไปปราบซึ่ง หลังจากทัพกรุงเข้าตีไม่นานเมืองตะนาวศรีก็ยอมจำนนพระยาศรีไสยณรงค์ถูกกุม ตัวไว้ จากนั้นพระเอกาทศรถก็ทรงให้ข้าหลวงเข้ามากราบทูลถามพระนเรศวรว่าจะทรงโปรดฯ ให้ทำอย่างใดกับพระยาศรีไสยณรงค์ ทว่าพระนเรศวรทรงกริ้วที่พระยาศรีไสยณรงค์คิดทรยศจึงทรงโปรดฯ ให้ประหารชีวิตเสียที่เมืองตะนาวศรี และนี่คือจุดจบของพระศรีถมอรัตน์หนึ่งในทหารเสือแห่งพระองค์ดำ