สงครามกลางเมืองอังกฤษ

ความขัดแย้งระหว่าง สถาบัน : สงครามครั้งนี้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และ ฝ่ายกษัตริย์ ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวนี้เริ่มขึ้นในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจ๊วต ทั้งนี้ในอังกฤษนั้น นับแต่กษัตริย์จอห์นผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ ถูกฝ่ายขุนนางบังคับให้ลงนามในกฎบัตรแมกนาคาร์ตา ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมพระราชอำนาจของกษัตริย์โดยในการออกกฎหมาย ต่างๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ทำให้รัฐสภามีอำนาจทัดทานกษัตริย์ได้ จนมาถึงรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 พระองค์ทรงเชื่อมั่นในพระราชอำนาจของพระองค์และมีความเห็นว่า รัฐสภาควรปฎิบัติตามความต้องการของกษัตริย์

แต่ฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ คิดเช่นนั้น ความขัดแย้งจึงก่อตัวขึ้น ในปี ค.ศ. 1611 พระเจ้าเจมส์ ทรงต้องการจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แต่รัฐสภาไม่เห็นด้วยและไม่ยอมผ่านกฎหมายดังกล่าว ทำให้พระองค์พิโรธมากและทรงห้ามมิให้บรรดาสมาชิกรัฐสภาจัดการประชุมเป็นเวลา นานถึง 10 ปี โดย พระองค์ทรงให้บรรดาพระสหายของพระองค์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แทนรัฐสภา ทำให้ฝ่ายรัฐสภาไม่พอใจมาก

ในช่วงเวลาดังกล่าว ฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ซึ่งมี เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) เป็นหัวหอก กับ ฝ่ายรัฐสภา ซึ่งมี เซอร์ เอ็ดเวิร์ด โค้ก (Edward Coke) ได้ดำเนินการต่อสู้ในทางกฏหมายอย่างรุนแรง ในขณะที่ฝ่ายเบคอน ต้องการเพิ่มอำนาจให้กับกษัตริย์ แต่ฝ่ายของโค้ก ก็พยายามปกป้อง ระบบกฏหมายเดิมอย่างเต็มที่ พระเจ้าเจมส์ทรงเล่นงานฝ่ายรัฐสภา ด้วยการปลด เซอร์ โค้ก ออกจากตำแหน่ง ส่วนรัฐสภาเองก็ตอบโต้ด้วยการถอดถอน เบคอน เช่นกัน

จนมาถึงปี ค.ศ. 1621 พระองค์ทรงเรียกประชุมสภาอีกครั้ง เพื่อปรึกษาเรื่องการอภิเษกของพระราชโอรสของพระองค์กับเจ้าหญิงแห่งสเปน ทางรัฐสภาคัดค้านอย่างเต็มที่เนื่องจากว่าราชวงศ์สเปนนั้นเป็นคริสตศาสนา นิกายโรมันแคธอลิค ในขณะที่ฝ่ายอังกฤษนั้นนับถือนิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เองก็เป็นพวกเคร่งศาสนานิกายโป รเตสเตนท์หรือที่เรียกกันว่า พวกพิวริตัน (Puritan) นอกจากนี้ สเปนยังเป็นศัตรูเก่าของอังกฤษ เนื่องจากเคยส่งกองทัพเรืออามาดา เข้ามาโจมตีอังกฤษในปี ค.ศ. 1588

ในที่สุดการแต่งงาน ดังกล่าวจึงถูกยกเลิก ขณะเดียวกันความขัดแย้งระหว่างรัฐสภาและสถาบันกษัตริย์ก็เพิ่มความตึงเครียด มากขึ้น จนกระทั่งพระเจ้าเจมส์สวรรคตในปี ค.ศ. 1625

ความ ขัดแย้งในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 1 : กษัตริย์ชาร์ลที่ 1 (King Charles 1st) ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1625 พระองค์เป็นกษัตริย์ที่หยิ่งผยองและเชื่อมั่นในพระราชอำนาจของพระองค์ยิ่ง กว่าพระราชบิดา พระองค์ทรงเห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มาจากความผิดของฝ่ายรัฐสภา นับแต่ปี ค.ศ. 1625 จนถึง 1629 พระองค์ทรงขัดแย้งกับรัฐสภาเกือบทุกเรื่อง แต่โดยมากมักจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเงินและศาสนา

ต่อมา ในปี ค.ศ. 1629 พระเจ้าชาร์ลได้สั่งห้ามรัฐสภาจัดการประชุมเป็นเวลา 11 ปี และพระองค์ได้จัดตั้ง สตาร์ แชมเบอร์ (Star Chamber) ขึ้น และออกกฎหมายเก็บภาษีเพิ่ม ต่อมาได้ทรงออกกฏหมายเก็บภาษีบำรุงกองทัพเรือให้บังคับเก็บทั่วประเทศ ซึ่งแต่เดิมภาษีนี้จะเก็บเฉพาะเมืองท่าชายฝั่งทะเลเท่านั้น การกระทำของพระองค์สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชน ขณะเดียวกันรัฐสภาก็ต่อต้านภาษีเหล่านี้ กษัตริย์มีรับสั่งให้จับกุมผู้ที่ขัดขืน สร้างความไม่พอใจและความรู้สึกต่อต้านสถาบันกษัตริย์ให้สูงขึ้น ประชาชนจำนวนมากปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีให้กษัตริย์

จนถึงปี ค.ศ. 1639 พระเจ้าชาร์ลทรงมีกรณีพิพาททางศาสนากับสก๊อตแลนด์ จนเกิดเป็นสงคราม พระองค์ทรงขอให้ทางรัฐสภาออกภาษีเพื่อหาเงินมาใช้ในสงคราม ฝ่ายรัฐสภาจึงยื่นข้อเสนอให้สอบสวน เอิร์ลแห่งสแตรฟฟอร์ด หัวหน้าที่ปรึกษาของกษัตริย์ หลังการไต่สวน เอิร์ลแห่งสแตรฟฟอร์ดถูกประหารในปี ค.ศ. 1641  

ความขัดแย้งเข้าขั้น รุนแรงในปี ค.ศ. 1642 กษัตริย์ชาร์ลต้องการให้รัฐสภาเก็บภาษีเพิ่มเงินให้กับพระองค์ตามที่ทรงต้อง การ แต่รัฐสภาไม่ยินยอม พระองค์จึงส่งกำลังทหาร 300 นาย มาปิดล้อม ที่ทำการรัฐสภา เพื่อจับกุมตัวสมาชิกคนสำคัญที่ต่อต้านพระองค์ สมาชิกรัฐสภาต่างหลบหนีเอาตัวรอดและเห็นพ้องต้องกันว่า กษัตริย์ทรงประกาศตัวเป็นศัตรูโดยตรงกับรัฐสภา ทำให้ฝ่ายรัฐสภาระดมกำลังของฝ่ายตนเพื่อเตรียมต่อสู้กับฝ่ายกษัตริย์

สงคราม กลางเมืองครั้งที่ 1 : กองทัพฝ่ายกษัตริย์มีฐานที่มั่นที่เข้มแข็งในภาคตะวันตกและภาคเหนือของ อังกฤษโดยได้รับการสนับสนุนจากเหล่าขุนนางที่เป็นคาธอลิคและแองลิกัน (Anglican) ในขณะที่ฝ่ายรัฐสภาได้รับการสนับสนุนจากพวกผู้ดีและพ่อค้ารวมทั้งบรรดาช่าง ฝีมือในลอนดอน, นอร์วิช, ฮัล, พลีมัท และกลูเชสเตอร์ ทั้งนี้กองทัพฝ่ายรัฐสภามีฐานที่มั่นอยู่ทางภาคใต้ของอังกฤษ และยังควบคุมกองทัพเรือไว้อีกด้วย ในการรบครั้งแรกนั้น เกิดขึ้นที่ เอ็ดฮิลล์ (Edgehill) ในวันที่ 23 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1642

ผล ของการรบปรากฏว่าไม่มีฝ่ายใดสามารถเอาชนะกันได้ การรบระหว่างสองฝ่ายยังคงมีเรื่อยมาโดยยังไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบจนกระทั่ง โอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) อดีตสมาชิกรัฐสภานำกำลังเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐสภา โอลิเวอร์ ครอมเวล เป็นพวกพิวริตันเต็มตัว และเป็นชาวนาเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นมาก ช่วงที่เกิดความขัดแย้ง ครอมเวล ลาออกจากสภาและกลับไปยังบ้านเดิม เขาใช้เงินส่วนตัวจัดตั้งและฝึกกองทหารม้าของตนเอง โดยรับสมัครเฉพาะพวกพิวริตันเท่านั้น กองทหารของครอมเวล จะตัดผมสั้นและได้ รับสมญาว่า พวกหัวกลม (Roundhead party)

เมื่อครอมเวลและกอง กำลังของเขาเข้าร่วม ความสามารถในการรบของพวกหัวกลมเป็นที่น่าเกรงขามของฝ่ายตรงข้ามมาก ทำให้ ครอมเวล ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ของฝ่ายรัฐสภา ต่อมาฝ่ายรัฐสภาได้ร่วมมือกับพวกกบฏในสก๊อตแลนด์ และปี ค.ศ. 1644 กองทัพสก๊อตแลนด์นำโดย อเล็กซานเดอร์ เลสลี่ที่ 1 เอิร์ลแห่งเลเวน (Alexander Leslie 1st, earl of Leven) ได้ยกกำลังเข้าไปในมณทลยอร์คเชียร์ เพื่อช่วยเหลือกองทัพรัฐสภาที่อยู่ในภาคเหนือของอังกฤษ แม่ทัพของฝ่ายกษัตริย์ เจ้าชาย รูเพิร์ต (Prince Rupert) พระราชนัดดาของพระเจ้าชาร์ลพยายามแก้สถานการณ์ด้วยการเข้าปิดล้อมเมืองยอร์ค เพื่อชิงที่มั่นกลับมาจากฝ่ายรัฐสภา

จน เกิดการรบใหญ่ที่ มาร์สตัน มัวร์ (Marston Moor) ในวันที่ 2 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1644 กองทัพชาวสก๊อตนำโดย เลสลี่ ร่วมกับกองทัพรัฐสภา ที่นำโดย โอลิเวอร์ ครอมเวล (ซึ่งเรียกกันว่า กองทัพแบบใหม่) บดขยี้กองทัพของเจ้าชายรูเพิร์ตจนพ่ายแพ้ยับเยิน จนทำให้ฝ่ายกษัตริย์ต้องสูญเสียภาคเหนือไป พระเจ้าชาร์ลพยายามชิงภาคเหนือกลับมาโดยวางแผนจะรวมกำลังกับกองทัพของ จอห์น กราฮัม  มาควิสแห่งมอนโทรส (James Graham, marquess of Montrose) แต่กองทัพของพระองค์ได้ปะทะกับทัพของครอมเวลที่ เนสบี (Naseby) ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1645 เสียก่อน ผลปรากฎว่าพระองค์พ่ายแพ้ยับเยินและสูญเสียกำลังพลเกือบทั้งทัพ ทำให้ความหวังที่จะรวมกำลังกับ มอนโทรสล้มเหลว

ต่อมา ทัพของมอนโทรสก็ถูกทัพสก๊อตแลนด์ทำลายลง ในที่สุด พระเจ้าชาร์ลจึงตัดสินพระทัยยอมแพ้ต่อกองทัพสก๊อตแลนด์ ใน เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1645

สงครามกลางเมืองครั้ง ที่ 2 : พระเจ้าชาร์ลถูกทางสก๊อตแลนด์ส่งตัวให้ฝ่ายรัฐสภา ในเวลาเดียวกันเองรัฐสภาก็มิมติให้ยุบกองทหาร แต่ทว่าทางฝ่ายกองทัพซึ่งมีนายพลครอมเวล เป็นผู้นำ ไม่ยินยอมและเข้าควบคุมตัวกษัตริย์เอาไว้และนำพระองค์เข้ากรุงลอนดอน ความไม่พอใจของฝ่ายกองทัพรุนแรงขึ้นและมีความต้องการที่จะควบคุมตัวพระเจ้า ชาร์ลไว้ และปฏิเสธที่จะยอมรับมติสันติภาพกับฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ตามความต้องการของ รัฐสภา พระเจ้าชาร์ลอาศัยจังหวะนี้หลบหนีจากลอนดอนและไปรวบรวมกำลังใหม่ พระองค์ทำสัญญากับฝ่ายสก๊อตแลนด์ในปี ค.ศ. 1647 โดยการยอมรับนิกายเพรสไบทีเรียน เพื่อให้สก๊อตแลนด์หันมาหนุนพระองค์ และสงครามครั้งที่สองก็เริ่มขึ้น มีการลุกฮือในมณทลเวลล์, เคนท์ และเอสเส็กซ์

แต่ ก็ถูกปราบปรามโดยฝ่ายรัฐสภาอย่างรวดเร็วและครอมเวลก็ทำลายกองทัพสก๊อตได้ที่ เพรสตัน (Preston) ในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1648 พระเจ้าชาร์ลยังคาดหวังความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสและไอร์แลนด์แต่ไม่เป็นผล และสงครามก็จบสิ้นลงอย่างรวดเร็ว

ฝ่ายรัฐสภายังต้องการ ทำสนธิสัญญากับพระเจ้าชาร์ล แต่ตอนนี้อำนาจทั้งหมดถูกควบคุมโดยกองทัพที่นำโดย ครอมเวล ซึ่งลงความเห็นว่าพระเจ้าชาร์ลเป็นศัตรูสำคัญและให้มีการนำตัวพระองค์ขึ้น ศาลเพื่อไต่สวนความผิด ศาลตัดสินว่าพระองค์มีความผิดและให้ลงโทษประหารชีวิตพระองค์ในที่สุด พระเจ้าชาร์ลที่ 1 ถูกตัดพระเศียรด้วยคมขวาน ในวันที่ 30 มกราคม ปี ค.ศ. 1649 จากนั้น ครอมเวล ได้ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์และประกาศให้อังกฤษเป็นสาธารณรัฐ ทั้งนี้การปกครองของอังกฤษถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยพวกพิวริตัน มีการสั่งงดการฉลองเทศกาลรื่นเริงทุกชนิดในช่วงที่ครอมเวลครองอำนาจ

ทว่าสงครามกลางเมือง ยังคงไม่ยุติ โดยฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ได้ยกเอาโอรสของพระจ้าชาร์ลที่ 1 คือ เจ้าชายชาร์ล ซึ่งหนีรอดไปได้ขึ้นเป็นผู้นำ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1651 กองทัพฝ่ายกษัตริย์พ่ายแพ้พวกหัวกลมที่เมืองวอร์เชสเตอร์ (Warchester) เจ้าชายชาร์ลเสด็จลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสและเป็นอันสิ้นสุดสงครามกลางเมืองลงใน ที่สุด

ต่อ มาเมื่อ โอลิเวอร์ ครอมเวล เสียชีวิตลง และบุตรชายของเขา ริชาร์ด ครอมเวล ได้สืบทอดตำแหน่งแทน เจ้าชายชาร์ลได้รวบรวมกำลังที่จงรักภักดียกกลับมายังอังกฤษในปี ค.ศ. 1660 ฝ่ายประชาชนที่เบื่อหน่ายการปกครองที่เข้มงวดของพวกพิวริตัน ต้อนรับการมาของพระองค์ด้วยความยินดี ในที่สุด ริชาร์ด ครอมเวล ยอมจำนนและอัญเชิญเจ้าชายยุพราชชาร์ล ขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ในเวลาต่อมา และอังกฤษก็สิ้นสุดการเป็นสาธารณรัฐลง

23 ธ.ค. 56 เวลา 00:07 1,225 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...