พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชเวตี้

พระองค์เป็นกษัตริย์ พม่าแห่งราชวงศ์ตองอูที่สามารถรวบรวมพม่าและมอญเข้าไว้ด้วยกันได้สำเร็จ แต่เดิมทรงมีพระนามว่า มังตรา เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเมงกะยินโย หรือพระเจ้ามหาสิริไชยสุระ กษัตริย์พม่าแห่งเมืองตองอูเกตุมวดี 

 

ตามประวัติเล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งเกิดฝนตกหนักจนทำนบกั้นสระหลวงพัง พระเจ้าเมงกะยินโยได้เสด็จไปตรวจการซ่อมทำนบและทรงทอดพระเนตรเห็นสาวน้อยผู้ หนึ่งเข้า นางผู้นั้นมีรูปโฉมงดงามต้องพระทัยพระเจ้าเมงกะยินโยยิ่งนัก จึงทรงให้ข้าหลวงไปสอบถาม ได้ความว่าเป็นบุตรีของงะนวยกงซึ่งเป็นขุนนางเชื้อสายรามัญ พระองค์จึงทรงให้ส่งตัวสตรีผู้นั้นมาเป็นพระสนม ต่อมาในปี พ.ศ. 2059 พระสนมผู้นั้นได้ประสูติพระราชกุมาร พระองค์จึงทรงแต่งตั้งให้นางเป็นพระราชเทวีและพระราชทานนาม ราชกุมารนั้นว่า มังตรา

(พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้)

เมื่อราชกุมารมังตรา เจริญวัยขึ้น พระเจ้าเมงกะยินโยได้ทรงโปรดให้คัดเลือกพระพี่เลี้ยง 7 คน มาจากบุตรของเหล่าขุนนาง โดยในบรรดาพระพี่เลี้ยงทั้งเจ็ดนั้น ผู้ที่ราชกุมารมังตราทรงสนิทสนมด้วยมากที่สุด มีชื่อว่า ชาเต ซึ่งในภายหลังได้ยศเป็น บุเรงนองกยอดินรธา

ครั้นเมื่อราชกุมาร มังตรา มีพระชันษาได้ 13 ชันษา พระเจ้าเมงกะยินโยก็สิ้นพระชนม์ลง มังตราราชบุตรจึงได้ขึ้นครองราชย์เมืองตองอูเกตุมวดีสืบต่อจากพระบิดา โดยทรงมีพระนามว่า เมงตยายาวที หรือที่เรียกอีกชื่อว่า พระเจ้าตะเบงชเวตี้

พระเจ้าตะเบงชเวตี้ ทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เหี้ยมหาญ หลังจากที่ขึ้นครองราชย์จนมีชันษาครบ 15 ชันษา พระองค์จะต้องประกอบพิธีเจาะพระกรรณตามพระราชประเพณี ทว่าแทนที่จะประกอบพิธีในนครตองอู พระองค์กลับเสด็จไปประกอบพิธียังพระธาตุมุเตาซึ่งอยู่ชานกรุงหงสาวดีอาณาเขต รามัญประเทศ โดยขบวนเสด็จของพระเจ้าตะเบงชเวตี้ ประกอบด้วยพราหมณ์ 8 คนและอำมาตย์ 40 คน สำหรับทำพิธี และทรงคัดเลือกทหารม้า 500 นาย ให้ บุเรงนองกยอดินนรธา ซึ่งในเวลานั้นได้เป็นสวามีของพระพี่นางของตะเบงชเวตี้และยังเป็นขุนพลคู่ พระทัยของพระองค์ด้วย เป็นแม่ทัพควบคุมทหารม้าเหล่านั้นเพื่อตามเสด็จถวายการอารักขา

(พระธาตุมุเตาในปัจจุบัน)

ขบวนของพระเจ้าตะ เบงชะเวตี้ผ่านเข้ายังอาณาเขตหงสาวดีโดยไม่ได้รับการต่อต้านจากทหารมอญที่ รักษาพรมแดน จนเมื่อขบวนเสด็จเข้าถึงยังพระธาตุมุเตาชานกรุงหงสาวดี ซึ่งเมื่อพระเจ้าตากายุตปี กษัตริย์หงสาวดีทรงทราบว่ากษัตริย์แห่งตองอูยกทหารมาถึงชานเมืองหลวงก็ทรง พิโรธ จึงส่งพระยาลอ พระยาจาน คุมไพร่พลหนึ่งหมื่นไปจับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้

(พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ประกอบพิธีเจาะพระกรรณ)

พระยามอญทั้งสองได้นำ ทัพไปล้อมขบวนเสด็จของพระเจ้าตะเบงชเวตี้เอาไว้อย่างแน่นหนา แต่พระองค์กลับไม่แสดงความหวั่นเกรงและให้อำมาตย์ประกอบพิธีเจาะพระกรรณจน เสร็จจากนั้นก็ทรงนำเหล่าทหารม้าตองอูทั้ง 500 นาย ตีฝ่าทัพมอญกลับออกไปถึงยังนครตองอูได้โดยปลอดภัย

ในเวลานั้น ลุ่มแม่น้ำอิระวดีได้แบ่งออกเป็นหัวเมืองใหญ่น้อยต่างๆ ซึ่งล้วนมีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกเทศไม่ขึ้นแก่กัน โดยดินแดนทางใต้อยู่ในอาณาเขตของหงสาวดีและเมาะตะมะซึ่งมีชาวมอญเป็นผู้ครอบ ครอง ส่วนทางเหนือนั้น มีเมืองแปร อังวะและตองอูเป็นเมืองใหญ่ โดยแปรและอังวะนั้น มีกษัตริย์ที่เป็นเชื้อสายผสมระหว่างพม่าและไทใหญ่ปกครอง ขณะที่ตองอูปกครองโดยชาวพม่า

ทั้งนี้ หลังขึ้นครองราชย์ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ทรงหมายพระทัยจะขยายอาณาเขตเข้าครอบครองให้ทั่วทั้งลุ่ม น้ำอิระวดีโดยเมืองแรกที่ทรงปรารถนาก็คือ นครหงสาวดีของชาวมอญและการที่พระเจ้าตะเบงชเวตี้เสด็จไปทำพิธีเจาะพระกรรณ ถึงชานกรุงหงสาวดีโดยที่ทัพมอญไม่อาจทำอะไรพระองค์ได้นั้น ก็ช่วยสร้างความฮึกเหิมให้เหล่าทหารเมืองตองอูเป็นอันมาก จากนั้นไม่นาน พระเจ้าตะเบงชเวตี้ก็เปิดฉากทำสงครามกับหงสาวดีหลายครั้ง

หลังจากทำสงครามกับ ตองอูหลายครั้ง กองทัพของพระเจ้าตากายุตปีก็เริ่มอ่อนกำลังลง พระองค์ได้ส่งคนไปขอความช่วยเหลือจาก พระอุปราชสอพินยา ผู้ครองเมืองเมาะตะมะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระญาติ ทว่าอีกฝ่ายกลับปฏิเสธด้วยต้องการสงวนกำลังรบไว้ป้องกันอาณาเขตของตน ทำให้ในที่สุด กรุงหงสาวดีก็เสียแก่ทัพตองอู ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าตากายุตปีถูกทหารตองอูจับปลงพระชนม์ระหว่างที่ทรงหนีไปยังเมืองแปร ซึ่งเป็นพันธมิตร

เมื่อชนะศึกแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้เสด็จมาประทับยังกรุงหงสาวดีและใช้เป็นนครหลวงแห่ง ใหม่ของอาณาจักรตองอูของพระองค์ และนับแต่นั้นมา ผู้คนทั้งหลายก็เรียกขานพระนามของพระองค์ว่า พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชเวตี้ และเรียกอาณาจักรของพระองค์ว่า หงสาวดี

ใน ปี พ.ศ.2084 หลังจากที่ได้กรุงหงสาวดีและหัวเมืองมอญโดยรอบไว้ในอำนาจแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้เสด็จยาตราทัพไปตีเมืองเมาะตะมะซึ่งเป็นหัวเมืองใหญ่ ฝ่ายใต้ของอาณาจักรมอญเป็นอันดับต่อไป โดยมีบุเรงนองกยอดินรธาซึ่งเป็นพี่เขยของพระองค์รั้งตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ ในยามนั้น อุปราชสอพินยา เจ้าเมืองเมาะตะมะได้เตรียมการป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งและได้ว่าจ้างทหาร โปรตุเกสจำนวนมากมาเป็นกำลังเสริม ทำให้การโจมตีทางบกของกองทัพหงสาวดีไม่ประสบความสำเร็จ บุเรงนองจึงเปลี่ยนกลยุทธ์โดยให้ตั้งค่ายล้อมเมืองอย่างแน่นหนาและให้สมิง พยุซึ่งเป็นนายทหารมอญที่เชี่ยวชาญการรบทางน้ำที่มาสวามิภักดิ์พระเจ้าตะ เบงชเวตี้นำทัพเรือไปปิดล้อมปากน้ำของเมาะตะมะ

ทัพหงสาวดีได้ทำการ ปิดล้อมเมืองเมาะมะตะทั้งทางบกและทางน้ำเป็นเวลานานถึง 7 เดือนจนในเมืองเกิดจลาจลด้วยขาดแคลนเสบียงอาหาร จากนั้นไม่นาน กองทหารโปรตุเกสของเมาะตะมะก็แปรพักตร์มาเข้ากับทัพหงสาวดี และเมื่อหมดหนทางรักษาเมืองไว้ได้ อุปราชสอพินยาก็ทรงยอมจำนนและถูกจับเป็นเชลยโดยทรงถูกนำพระองค์ไปคุมขังยัง หงสาวดีพร้อมเหล่าพระญาติ และถูกสำเร็จโทษในเวลาต่อมา

หลังจากที่ปราบปราม ชาวมอญลงแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ก็ทรงนำทัพไปตีเมืองแปรหรือเมืองโปรมซึ่งเคยเป็นพันธมิตร กับหงสาวดี โดยก่อนหน้าที่กองทัพหงสาวดีจะยกไปตีเมืองแปรนั้น กษัตริย์แปรเพิ่งจะสิ้น พระชนม์ ราชบัลลังก์ตกอยู่กับพระโอรสซึ่งมีวัยเพียงสิบห้าชันษาเท่านั้น แต่ถึงแม้กษัตริย์แปรพระองค์ใหม่จะยังเยาว์วัย แต่เหล่าขุนนางและประชาชนชาวแปรก็ได้ทำการรบป้องกันเมืองอย่างเข้มแข็งทำให้ ทัพหงสาวดีต้องสูญเสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสมิงพยุ แม่ทัพเรือผู้เก่งกาจของหงสาวดียังถูกสังหารในศึกนี้อีกด้วย

ในระหว่างนั้น พระเจ้าอังวะ ซึ่งมีศักดิ์เป็นสมเด็จตาของพระเจ้าแปรพระองค์ใหม่ได้ส่งกองทัพมาช่วยพระ นัดดา แต่ก็ถูกบุเรงนองนำทัพไปดักซุ่มโจมตีทัพอังวะที่ยกมาช่วยจนแตกพ่ายไป ซึ่งเมื่อชาวแปรได้ทราบว่า ทัพหนุนที่ยกมา ได้แตกพ่ายไปแล้ว ก็เริ่มเสียขวัญหมดกำลังใจ จากนั้นไม่นานก็มีนายทหารชาวแปรผู้หนึ่งแอบเข้ามาสวามิภักดิ์และลอบเป็น ไส้ศึกเปิดประตูเมืองให้ทัพหงสาวดี ทำให้พระเจ้าตะเบงชเวตี้สามารถยึดเมืองแปรได้ พระองค์ได้ลงทัณฑ์ชาวแปรที่ต่อต้านทัพของพระองค์ด้วยการให้ทหารหงสาวดีเข้า ปล้นสะดมภ์และสังหารหมู่ชาวเมืองไปเป็นจำนวนมาก ส่วนพระเจ้าแปรและพระมเหสีรวมทั้งพระญาติทั้งหมดถูกนำตัวไปทรมานอย่างทารุณ จนสิ้นพระชนม์ทั้งหมด

หลังจากได้รับชัยชนะ เหนือเมืองแปรแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ยกทัพไปทำสงครามกับอังวะและได้รับชัยชนะโดยพระเจ้าอัง วะยอมเป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีแต่โดยดี ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2090 ก็เสด็จยกทัพไปตีแคว้นอาราคานหรือยะข่าย โดยหลังจากทำศึกได้ระยะหนึ่ง ฝ่ายยะข่ายก็ยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเช่นกัน

เมื่อพระเจ้าตะเบงชเว ตี้ทรงรวบรวมปราบปรามหัวเมืองต่างๆในลุ่มน้ำอิระวดีได้เป็นปึกแผ่นแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารถนาที่จะขยายพระราชอาณาเขตให้กว้างไกลยิ่งขึ้น โดยการเข้าตีอาณาจักรอยุธยาของชาวไทย ทั้งนี้ ขณะเมื่อพระองค์ยังติดพันการศึกที่ยะข่ายนั้น ทางอยุธยาซึ่งยังอยู่ใต้การปกครองของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงษาธิ ราชได้ส่งทหารมาโจมตีเมืองทวายที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดี แต่ถูกทัพของบุเรงนองที่มายกมาช่วยป้องกันทำการขับไล่ออกไปได้ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พระเจ้าตะเบงชเวตี้มองว่า อยุธยากระทำตนเป็นศัตรูกับพระองค์ ดังนั้นเมื่อหงสาวดีเสร็จศึกกับยะข่ายแล้ว และพระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ทรงทราบว่า อาณาจักรอยุธยาเพิ่งจะพลัดแผ่นดินใหม่ เหตุการณ์ยังไม่เรียบร้อยนัก จึงทรงหมายพระทัยใช้โอกาสนี้ยกทัพมาโจมตี ด้วยทรงเชื่อว่าคงได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน

ในศึกครั้งนี้ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ทรงโปรดให้เกณฑ์ไพร่พลมอญพม่าถึง 300,000 คน ยกเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์ใน ปี พ.ศ. 2092 และประสบกับการต้นทานอย่างหนักที่เมืองกาญจนบุรี โดยทัพหงสาวดีต้องใช้เวลาถึงสามวันจึงตีเมืองได้ ซึ่งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ก็ได้สั่งให้ประหารชาวเมืองทั้งหมดไม่ว่าเด็กหรือ สตรีเป็นการสั่งสอนที่ชาวเมืองบังอาจต่อต้านทัพของพระองค์ จากนั้นทัพหงสาวดีก็เข้ายึดสุพรรณบุรีได้โดยง่ายก่อนจะเคลื่อนพลมายังกรุง ศรีอยุธยา เมืองหลวงของอาณาจักรอยุธยา

พระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์อยุธยาได้ทรงโปรดให้ตั้งค่ายใหญ่สี่ค่ายเพื่อป้องกันเมืองหลวง จากนั้นได้เสด็จพร้อมพระสุริโยทัยซึ่งเป็นพระมเหสี ยกทัพหลวงไปหยั่งเชิงข้าศึกที่ทุ่งมะขามหย่อง จนเกิดการปะทะเข้ากับทัพหน้าของหงสาวดีที่บัญชาการโดยตะโดธรรมราชา ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแปร จนทำให้พระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์

หลังการปะทะกันที่ ทุ่งมะขามหย่อง ทัพอยุธยาก็ไม่ได้ยกออกมารบกับหงสาวดีอีก หากแต่ใช้เรือบรรทุกปืนใหญ่มาระดมยิงค่ายพม่ารามัญแทบจะทุกวัน สังหารไพร่พลของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ล้มตายไปนับหมื่น ครั้นเมื่อทัพหงสาวดีระดมกำลังเข้าปล้นเมืองก็ถูกต้านทานจากทหารไทยจนต้อง บาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก

ในระหว่างที่ตั้งทัพ ล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ก็ทรงได้ข่าวมาว่า พระมหาธรรมราชา เจ้าผู้ครองเมืองพระพิษณุโลก พระราชบุตรเขยของพระมหาจักรพรรดิ ได้นำไพร่พลจากหัวเมืองฝ่ายเหนือกว่าสามหมื่นนายยกลงมาหมายตีกระหนาบทัพหง สาวดี ประกอบกับยามนั้นเสบียงอาหารของทัพหงสาวดีร่อยหรอลง ไพร่พลก็ป่วยเจ็บเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงจำต้องถอยทัพกลับ

เมื่อทรงทราบว่า ทัพพม่ากำลังถอยกลับไป พระมหาจักรพรรดิได้ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกเธอสองพระองค์คือ พระราเมศวรและพระมหินทร์ นำทัพไล่ติดตามเพื่อประสานกับทัพของพระมหาธรรมราชาตีกระหนาบทัพพม่า ทว่าทัพอยุธยากลับต้องกลศึกของบุเรงนอง แม่ทัพใหญ่หงสาวดี ทำให้พระราเมศวรและพระมหาธรรมราชาถูกจับได้ ฝ่ายอยุธยาจึงขอเจรจาสงบศึกและทั้งสองฝ่ายก็ยอมทำไมตรีต่อกัน จากนั้นจึงต่างเลิกทัพกลับไป

แม้จะได้ชัยชนะเหนือ ทัพอยุธยาที่ไล่ตามมา ทว่าสงครามครั้งนี้ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ก็ยังไม่อาจตีกรุงศรีอยุธยาไว้ในอำนาจได้ดังพระทัยหมาย ทำให้พระองค์โทมนัสผิดหวังกับศึกครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยหลังเสด็จกลับจากอยุธยาแล้ว พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้หันมาหมกหมุ่นอยู่แต่การเสวยน้ำจันท์ นอกจากนี้ยังทรงมีพระอารมณ์เกรี้ยวกราดและสั่งลงโทษข้าราชบริพารโดยปราศจาก ความผิดเป็นประจำ อีกทั้งไม่ใส่ใจออกว่าราชการ จนทำให้ความภักดีในหมู่ข้าราชบริพารในกรุงหงสาวดีซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญลด น้อยลง

ปี พ.ศ. 2093 สองปีหลังศึกอยุธยาผ่านไป สมิงทอราม อนุชาของพระเจ้าหงสาวดี ตากายุตปี ได้รวบรวมกำลังก่อกบฏที่เมาะตะมะ พระเจ้าตะเบงชเวตี้จึงทรงให้บุเรงนองนำทัพไปปราบ ครั้นเมื่อบุเรงนองยกทัพออกจากหงสาวดีไปแล้ว สมิงสอตุด มหาอำมาตย์ว่าการกรมวัง ได้วางแผนก่อกบฏโดยปล่อยข่าวว่ามีคนพบช้างเผือกอยู่ในราวป่านอกกรุงหงสาวดี ทำให้พระเจ้าตะเบงชเวตี้เกิดความสนพระทัยและเสด็จออกจากเมืองไปคล้องช้าง จากนั้น สมิงสอตุดก็ใช้โอกาสที่พระเจ้าตะเบงชเวตี้ประทับอยู่ในป่านำกำลังทหารมอญ เข้าล้อมพลับพลาและปลงพระชนม์พระองค์ด้วยดาบ

หลังจากพระเจ้าตะ เบงชเวตี้สิ้นพระชนม์แล้ว บรรดาเมืองขึ้นต่างๆทั้งแปรและอังวะ ก็ก่อกบฏตั้งตนเป็นอิสระ ส่วนทางกรุงหงสาวดีนั้น สมิงสอตุดได้นำกำลังเข้ายึดเมืองเอาไว้ แต่ก็เกิดขัดแย้งกับสมิงทอรามที่ยกทัพมาจากเมาะตะมะและถูกอีกฝ่ายหนึ่ง สังหาร จากนั้นสมิงทอรามก็ขึ้นครองราชสมบัติกรุงหงสาวดี ทว่าในปี พ.ศ. 2096  บุเรงนองที่นำทัพหลบไปซ่องสุมกำลังยังเมืองตองอูก็ได้ยกพลเข้าตีหัวเมือง ต่างๆที่แยกตัวเป็นอิสระได้ทั้งหมด ก่อนจะยกทัพมาตีกรุงหงสาวดีและปลงพระชนม์สมิงทอรามกลางสนามรบ หลังจากนั้นก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง

23 ธ.ค. 56 เวลา 00:02 4,258 1 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...