สงครามแห่งซัลซู ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของโกคูรยอ

ในยุคราชวงศ์สุยข องจีน ปี ค.ศ. 604 องค์ชายหยางกว่างได้ลอบปลงพระชนม์ สุยเหวินตี้ ปฐมจักรพรรดิของต้าสุย ซึ่เป็นพระบิดาของพระองค์ จากนั้นจึงขึ้นครองราชย์ โดยได้รับพระสมัญญานามว่า สุยหยางตี้

พระองค์ทรงมีพระทัย โหดเหี้ยมอำมหิตและลุ่มหลงสุรานารี โดยทรงขูดรีดภาษีทั้งยังเกณฑ์แรงงานราษฏรอย่างหนักหน่วงเพื่อมาตอบสนองความ ประสงค์ในการเสพสุขอันไม่สิ้นสุดของพระองค์

(จักรพรรดิ สุยหยางตี้)

หลังจากครองราชย์ได้ ไม่นาน สุยหยางตี้ทรงโปรดให้ย้ายราชธานีจากนครฉางอานมายังลกเอี๋ยง ทั้งยังมีบัญชาให้สร้างพระราชวังอันมโหฬารเป็นที่ประทับ ซึ่งในการครั้งนี้ ได้มีการเกณฑ์แรงงานกว่าสามล้านคนและใช้พระราชทรัพย์จำนวนมหาศาล อีกทั้งยังมีราษฎรล้มตายจากการทำงานไปนับแสนคน

จากนั้นในปีที่สอง หลังขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้มีพระบัญชาให้ขุดคลองมหึมายาวถึงสองพันกิโลเมตร จากเหนือลงสู่ภาคใต้ของจีน โดยมีพระประสงค์ที่จะเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของอาณาจักรทั้งยังมีพระประสงค์จะใช้ คลองยักษ์นี้ สำหรับการเสด็จประพาสทางเรือจากเหนือลงใต้ด้วย ซึ่งพระองค์ต้องการให้คลองนี้สำเร็จโดยเร็วจึงให้เกณฑ์แรงงานหลายล้านคนไม่ เว้นแม้แต่สตรี และมีราษฎรหลายแสนคนต้องล้มตายด้วยความตรากตรำจากการขุดคลองยักษ์สาย นี้ ซึ่งแม้ว่า คลองสายนี้จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของจีนนับแต่ยุคนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ทว่าการที่สุยหยางตี้มีพระบัญชาให้เร่งขุดคลองดังกล่าวให้เสร็จในเร็ววัน ส่งผลให้มีราษฎรหลายล้านคนที่ถูกเกณฑ์มาต้องล้มตายไปหลายแสนคนด้วยความลำบาก ตรากตรำ ยังความทุกข์ให้กับราษฎรมากมายเหลือที่จะเอ่ย

(คลองยักษ์ในปัจจุบัน)

แม้จะหมกมุ่นอยู่กับ การเสพสุข แต่สุยหยางตี้ก็ยังทรงมีความทะเยอทะยานที่จะได้ชื่อว่า เป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ และเพื่อการนี้ พระองค์จึงทรงมีพระบัญชาให้ส่งทัพลงใต้ไปโจมตีอาณาจักรไดเวียตและจามปา ซึ่งแม้จะกำราบทั้งสองอาณาจักรให้ยอมส่งบรรณาการต่อราชวงศ์สุยได้ แต่การส่งทัพเข้าทำศึกในเขตป่าเขาทางภาคใต้ก็ทำให้ทหารนับแสนต้องล้มตาย เพราะโรคภัยไข้เจ็บ และเมื่อปราบดินแดนทางใต้ได้แล้ว สุยหยางตี้ก็ทรงวางแผนที่จะยึดครองคาบสมุทรเกาหลีเป็นอันดับต่อไป

ในเวลานั้นเกาหลีถูก แบ่งออกเป็นสามอาณาจักร คือ โกคูรยอ ซิลลา และแพคเจ โดยดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทรเกาหลีนั้น อยู่ใต้อำนาจของโกคูรยอ ทั้งนี้ในอดีตที่ผ่านมา นับแต่ยุคราชวงศ์ฮั่น จักรวรรดิจีนทำสงครามกับโกคูรยอหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยเอาชนะได้เลย ซึ่งเมื่อครั้งที่สุยเหวินตี้ พระราชบิดาของสุยหยางตี้ยังครองราชย์อยู่นั้น พระองค์ก็เคยส่งองค์ชาย หยางเลี่ยงโอรสของพระองค์เป็นแม่ทัพใหญ่ โดยมี เสนาบดีเกาจ่ง และ แม่ทัพซูหลัวโห เป็นผู้ช่วย นำกองทัพอันมีไพร่พล 300,000 นาย ไปทำศึกกับโกคูรยอ ซึ่งในศึกครั้งนั้น กองทัพสุยต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวนของคาบสมุทรเกาหลีทำให้ไพร่พล อ่อนแอ ทั้งยังถูกทัพโกคูรยอที่มีกำลังพลเพียง 50,000 นายซุ่มโจมตีหลายครั้ง จนต้องถอนทัพกลับมาด้วยความพ่ายแพ้

สุยหยางตี้ ปรารถนาจะสร้างชื่อเสียงให้กับพระองค์ด้วยชัยชนะเหนือโกคูรยอ จึงมีพระบัญชาให้เกณฑ์ไพร่พลจำนวนมหาศาลเพื่อทำสงครามครั้งนี้ โดยมีทหารมากถึง 1,150,000 คน ซึ่งเมื่อรวมกับแรงงานสนับสนุนในการรบทั้งหมดแล้วก็มีจำนวนเกือบ 3,000,000 คน ซึ่งนับเป็นการเกณฑ์คนไปทำศึกครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในหน้าประวัติศาสตร์ของจีน

ปี ค.ศ. 612 หลังจากตรียมการอยู่หนึ่งปี สุยหยางตี้ก็เสด็จนำทัพมหึมานี้บุกโกคูรยอ ในเวลานั้น กษัตริย์เยียงยังแห่งโกคูรยอ ทรงถอนกำลังออกจากแนวป้องกันเดิมที่วางไว้เมื่อครั้งทำศึกกับทัพสุยในปี ค.ศ. 598 เนื่องจากทรงเห็น แนวป้องกันเดิมไม่เหมาะกับการตั้งรับกองทัพมหึมาขนาดนี้ จึงทรงให้กองทัพโกคูรยอถอยข้ามแม่น้ำเหลียวที่กำลังเป็นน้ำแข็ง ซึ่งนับเป็นโชคดีของฝ่ายโกคูรยอ เนื่องจากหลังจากที่ทหารโกคูรยอข้ามมาแล้ว น้ำในแม่น้ำเหลียวก็ละลาย

เมื่อสุยหยางตี้ยกทัพ มาถึง และพบว่า น้ำแข็งได้ละลายแล้ว จึงสั่งให้สร้างสะพานสามอันเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ ซึ่งแม้ว่าในระหว่างที่สร้างสะพานนั้น ทัพสุยจะถูกทหารโกคูรยอลอบโจมตีหลายครั้ง จนสูญเสียไพร่พลไปจำนวนมาก แต่สะพานทั้งสามก็เสร็จและทัพสุยก็เคลื่อนข้าม แม่น้ำเข้าล้อมเมืองต่าง ๆ ของโกคูรยอ

(กองทหารม้าต้าสุยปะทะกองทหารม้าโกคูรยอ)

สุยหยางตี้มีคำสั่ง แก่เหล่าแม่ทัพของพระองค์ว่า ห้ามแม่ทัพคนใดตัดสินใจในการรบโดยพลการ แต่ต้องส่งม้าเร็วมาแจ้งแก่พระองค์เพื่อขอพระวินิจฉัยก่อน ซึ่งการออกคำสั่งเช่นนี้ ส่งผลเสียต่อการกำหนดกลยุทธ์ของฝ่ายต้าสุยจนล่าช้าไม่ทันต่อสถานการณ์ที่ เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเวลาได้ผ่านไปถึงห้าเดือนและสูญเสียไพร่พลไปเป็นอันมาก ก็ปรากฏว่า ทัพสุยยังไม่สามารถตีเมืองของโกคูรยอได้เลยแม้แต่เมืองเดียว สุยหยางตี้จึง ตัดสินพระทัยเปลี่ยนแผนใหม่ โดยแบ่งทัพส่วนหนึ่งล้อมเมืองเหล่านั้นเอาไว้เพื่อตรึงกำลังฝ่ายข้าศึก จากนั้นจึงส่งกำลังหลักอันประกอบด้วยทหารบก 305,000 นายและทหารเรือ 200,000 นายยกพลมุ่งสู่นครพยองยัง เมืองหลวงของโกคูรยอ

กองทัพเรือสุยมาถึง ปากอ่าวของแม่น้ำแดดงก่อนหน้ากองทัพบก กษัตริย์เยียงยังทรงให้ทัพเรือเข้าโจมตีแต่ต้องล่าถอยกลับมาเนื่องจากมี กำลังน้อยกว่า ไล่หูหนี่ แม่ทัพเรือต้าสุยจึงนำทหาร 100,000 นายไล่ติดตามถึงเมืองพยองยัง  ทว่าถูกฝ่ายโกคูรยอซุ่มโจมตีจนเสียหายอย่างหนัก เหลือไพร่พลรอดกลับมาไม่กี่พันคน ไล่หูหนี่ จึงให้ทหารที่เหลืออีก 100,000 นาย ยั้งทัพรอจนกว่าทัพบกจะมาถึงเพื่อรวมกำลังกันเข้าล้อม กรุงพยองยัง

ขณะนั้นเองทางด้านทัพ บก 305,000 นาย ของต้าสุยที่นำโดย แม่ทัพ หยีจงเหวิน และ อี่เหวินซู่ ก็กำลังมีปัญหา เนื่องจากการที่กองเสบียงของต้าสุยมักถูกซุ่มโจมตีบ่อยๆ สุยหยางตี้จึงให้แก้ปัญหาด้วยการสั่งให้ทหารทุกคนนำเสบียงของคนและอาหารของ ม้าติดตัวไปด้วย ทำให้ทหารแต่ละคนมีสัมภาระติดตามมากและเดินทัพได้อย่างล่า ช้า

(แม่ทัพ อุลจี มุนด็อค)

กษัตริย์เยียงยังให้ แม่ทัพ อุลจีมุนด็อค นำทัพมารับศึก เขาได้วางแผนล่อหลอกให้ทัพสุยไล่ติดตามจนข้าศึกอ่อนกำลังลงและเมื่อทราบว่า ทัพสุยกำลังจะหมดเสบียง อุลจีมุนด็อคก็แสร้งส่งทูตไปเจรจาโดยกล่าวว่า ฝ่ายโกคูรยอยินดียอมจำนน หากฝ่ายสุยจะยกเลิกแผนการล้อมพยองยัง

ซึ่งเมื่อแม่ทัพหยีจง เหวินและอี่เหวินซู่ได้ทราบดังนั้น ก็เห็นว่านี่เป็นโอกาสอันดีที่จะถอยทัพ เพราะทั้งสองรู้ดีว่า เวลานี้ กองทัพของตนอ่อนล้าเกินกว่าจะปิดล้อมพยองยังแล้ว ทั้งคู่จึงรับข้อเสนอของฝ่ายโกคูรยอและถอยทัพกลับ

เมื่อทัพสุยเคลื่อนพล มาถึงแม่น้ำซัลซู ก็พบว่าน้ำในแม่น้ำตื้นเขินจึงเคลื่อนทัพข้ามไป ทว่าสิ่งที่พวกเขาไม่ทราบก็คือ ก่อนหน้าที่ทัพสุยจะมาถึงนั้น แม่ทัพอุลจีมุนด็อคได้สั่งให้สร้างทำนบไว้ยังต้นน้ำแล้ว และเมื่อทหารสุยเคลื่อนกำลังข้ามแม่น้ำ การโจมตีก็เริ่มขึ้นทันที โดยฝ่ายโกคูรยอได้พังทำนบทำให้มวลน้ำพุ่งเข้าท่วมทัพสุย ทหารนับหมื่นหายไปกับสายน้ำ จากนั้น ทัพโกคูรยอก็บุกเข้าตีอย่างดุเดือด จนกองทัพสุยแตกพ่ายยับเยิน จากทหารกว่าสามแสน เหลือรอดไปเพียง สองพันกว่าคนเท่านั้น

(สงครามที่แม่น้ำซัลซู)

แม้จะเสียไพร่พลไป เกือบครึ่งแต่สุยหยางตี้ก็ยังคงทำศึกต่อจนถึงปี ค.ศ. 613 ทว่าได้เกิดกบฏในอาณาจักรสุย จึงต้องระงับการรบกับโกคูรยอและหันไปทำศึกปราบกบฏแทน ต่อมาใน ปีค.ศ. 614 หลังปราบกบฏได้แล้ว สุยหยางตี้ได้นำทัพไปทำสงครามกับโกคูรยออีกครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่อง จากถูกซุ่มโจมตีตัดเส้นทางเสบียงจนไม่อาจรุกคืบหน้าได้ ในระหว่างนั้น กษัตริย์เยียงยังทรงเห็นเป็นโอกาสที่จะสงบศึก จึงยื่นข้อเสนอสันติภาพกับฝ่ายสุยรวมทั้งยังส่งตัวนายทัพฝ่ายกบฏที่หนีเข้า มาในโกคูรยอให้กับต้าสุยด้วย จักรพรรดิสุยหยางตี้ทรงยอมรับข้อเสนอของอีกฝ่าย เนื่องจากอย่างน้อยก็ยังทรงได้ชื่อว่าทำให้ข้าศึกเป็นฝ่ายยอมเจรจาก่อนได้ จากนั้นพระองค์จึงยกทัพกลับ

(แม่น้ำซัลซู)

อย่างไรก็ตาม การทำศึกที่ยืดเยื้อในเกาหลีรวมทั้งการขูดรีดราษฎรในช่วงก่อนหน้านั้น ได้ส่งผลให้ราชวงศ์สุยอ่อนแอลง จนนำไปสู่ความวุ่นวายในจักรวรรดิและในปีที่พระองค์สงบศึกกับโกคูรยอนั้นเอง ก็ได้เกิดกบฏขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งจากฝีมือของเหล่าขุนศึกที่ทะเยอทะยานและบรรดาชาวนาที่อดทนต่อการกดขี่ ไม่ไหวอีกต่อไป เหตุการณ์ได้ร้ายแรงจนถึงขั้นที่ทัพกบฏบุกเข้าเข้ายึดเมืองหลวงได้

ส่วนสุุยหยางตี้ต้อง เสด็จลี้ภัยไปที่หยางโจว จากนั้นในปี ค.ศ. 618 สุยหยางตี้ก็ถูกเหล่าขุนนางที่ทรยศจับปลงพระชนม์ด้วยการแขวนคอและราชวงศ์สุ ยก็ถึงกาลล่มสลาย ต้องล้มเลิกแผนการยึดครองคาบสมุทรเกาหลี ต่อมาในปี ค.ศ. 618 สุยหยางตี้ก็ถูกปลงพระชนม์และราชวงศ์สุยก็ล่มสลาย

23 ธ.ค. 56 เวลา 00:00 2,031 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...