นับแต่ ปลายราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา ทหารรัสเซียมักยกกำลังเข้ามาในแถบลุ่มน้ำเฮยหลงเจียงทางด้านชายแดนภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของจีนหลายครั้ง ซึ่งทุกครั้งทหารเหล่านี้ก็จะปล้นฆ่าผู้คนและข่มขืนผู้หญิงอย่างเหี้ยมโหด ทารุณโดยไม่มีผู้ใดขัดขวางได้ ยังผลให้ผู้คนแถบนั้นเดือดร้อนและทนทุกข์กับการคุกคามของเหล่าโจรต่างชาติ เสมอ
ครั้นมาถึงยุคที่ ราชวงศ์ชิงได้ปกครองจีนการก่อกวนของทหารรัสเซียก็ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นโดย ครั้งหนึ่งกองทหารรัสเซียได้ยกกำลังรุกเข้ามาถึงบริเวณปากแม่น้ำเอิลและเข้า ยึดเมืองยัคซา (Yaksa) ซึ่งชาวรัสเซียเรียกว่าเมืองอัลบาซิน (Albazin) ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของแถบนั้นเป็นฐานที่มั่นจากนั้นก็ส่งกำลังออกขูดรีด บรรณาการจากชนพื้นเมืองในแถบนั้นซึ่งหากเผ่าใดปฏิเสธพวกทหารรัสเซียก็จะเข้า โจมตีฆ่าฟันอย่างทารุณ
(เมืองยัคซา)
จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์ชิงทรงตัดสินพระทัยจะยุติปัญหาคาราคาซังนี้ โดยวางแผนที่จะส่งกองทัพไปขับไล่ทหารรัสเซียที่คุกคามชายแดนของจีนอยู่ซึ่ง ในการนี้พระองค์ได้ส่งข้าหลวงสองนายคือเผิงซุนและหลางทานออกเดินทางไปสืบ ลาดเลาของข้าศึกเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการทำสงครามโดยหลังจากรวบรวมข้อมูล และเตรียมการอยู่หลายเดือนในปี ค.ศ. 1685 จักรพรรดิคังซีก็ทรงมีพระบัญชาให้ส่งกองทหารจำนวนสี่พันนายโดยให้เผิงซุน เป็นแม่ทัพและหลางทานเป็นรองแม่ทัพออกเดินทางไปสมทบกับกองทหารจำนวนหนึ่งพัน ห้าร้อยนายที่ควบคุมโดยนายพลซาบุสซึ่งตั้งมั่นอยู่แถบลุ่มน้ำเฮยหลงเจียง เข้าโจมตีเมืองยัคซา
(จักรพรรดิคังซี)
หลังจากกองทัพชิงเดิน ทางมาถึงยังบริเวณปากแม่น้ำเอิลก็ได้เข้าปิดล้อมเมืองยัคซาทันทีเพื่อไม่ให้ ฝ่ายรัสเซียตั้งตัวได้โดยในเวลานั้นที่เมืองยัคซามีทหารรัสเซียประจำการอยู่ ราวแปดร้อยนายและเมื่อถูกปิดล้อมพวกรัสเซียก็ได้แต่ตั้งมั่นอยู่ในเมือง เพื่อรอกำลังเสริมที่จะมาช่วยซึ่งหลังจากนั้นอีกยี่สิบวันกองหนุนของฝ่ายรัส เซียก็ยกกำลังล่องแพมาตามลำน้ำทว่าถูกกองทหารชิงที่ดักรออยู่เข้าโจมตีจนแตก พ่ายกลับไปจากนั้นกองทัพชิงก็เปิดฉากโจมตีป้อมปราการของฝ่ายรัสเซีย
(ทหารชิงเข้าตีเมือง)
กองทัพชิงเริ่มการโจม ตีด้วยการระดมยิงปืนใหญ่เข้าใส่เมืองยักษะอย่างต่อเนื่องตลอดคืนทำให้ฝ่าย รัสเซียตกอยู่ในความหวาดหวั่นและเสียขวัญจนเมื่อถึงเวลาเช้ามืดทหารชิงจำนวน หนึ่งก็อาศัยช่วงที่ข้าศึกกำลังอ่อนล้าลอบเข้าประชิดกำแพงเมืองซึ่งสร้าง ขึ้นจากไม้ซุงจากนั้นก็เอาฟืนและหญ้าแห้งที่ทุกคนนำติดตัวมาวางสุมไว้ติดกับ กำแพงเมืองและก่อนที่ฝ่ายรัสเซียจะรู้ว่าทัพชิงกำลังจะทำอะไรปืนใหญ่ของต้า ชิงก็ระดมยิงไปยังฟ่อนหญ้าและกองฟืนเหล่านั้นจนติดไฟลุกไหม้ตลอดแนวกำแพงจาก นั้นเพลิงก็ได้ลุกลามเข้าไปในเมืองจนฝ่ายรัสเซียเกิดโกลาหลไปทั่วขณะเดียว กันเผิงซุนก็สั่งให้ทหารบุกเข้าตีเมืองอย่างดุเดือดสังหารข้าศึกเป็นจำนวน มากและไม่นานเมืองยัคซาก็ตกเป็นของกองทัพชิง
หลังจากตีเมืองได้ แล้วฝ่ายต้าชิงได้ปล่อยเชลยชาวรัสเซียที่ถูกจับได้ทั้งหมดกลับไปและรื้อ ทำลายป้อมปราการของเมืองลงเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่นต่อไปได้อีก
อย่าง ไรก็ตาม แม้ว่าจักรพรรดิคังซีจะทรงใช้นโยบายผ่อนปรนกับฝ่ายรัสเซียเพื่อไม่ให้ความ ขัดแย้งต้องยืดเยื้อทว่าฝ่ายรัสเซียกลับไม่เลิกล้มแผนการที่จะคุกคามชายแดน ของจีนโดยได้ส่งกองทหารเข้ามาโจมตีชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนอีก ครั้งโดยสังหารทหารและพลเรือนของต้าชิงไปเป็นอันมากทั้งยังส่งกองทหารแปด ร้อยนายโดยการนำของ อเล็กไซ โทลบูซิน (Aleksei Tolbuzin) มาสร้างเมืองยัคซาขึ้นใหม่ยังบริเวณซากของเมืองเดิม ทำให้จักรพรรดิคังซีทรงพิโรธกับเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นอันมากจึงทรงมีพระ บัญชาให้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับรัสเซียอีกครั้ง
(คอสแซค)
ปี ค.ศ. 1686 กองทัพชิงเข้าโจมตีเมืองยัคซาอย่างดุเดือดทว่าฝ่ายรัสเซียปักหลักต่อต้าน อย่างเข้มแข็งทหารชิงจึงขุดสนามเพลาะรอบเมืองและก่อป้อมตั้งปืนใหญ่ระดมยิง เข้าไปในเมืองอย่างต่อเนื่องพร้อมกันนั้นก็ส่งกองเรือเข้าปิดล้อมเส้นทางน้ำ เพื่อโอบล้อมเมืองอีกชั้นหนึ่ง
การปิดล้อมและระดมยิง ด้วยปืนใหญ่ของฝ่ายต้าชิงทำให้ทหารรัสเซียในเมืองบาดเจ็บล้มตายลงทุกวันขณะ ที่กองหนุนของรัสเซียที่ยกมาช่วยก็ไม่อาจตีฝ่าแนวรบของกองทัพชิงเข้าไปได้
การศึก ยืดเยื้อจนถึงปีรุ่งขึ้น โดยโทลบูซิน แม่ทัพรัสเซียได้เสียชีวิตจากลูกกระสุนปืนใหญ่ของฝ่ายชิง จากนั้นกองทหารรัสเซียที่เหลืออยู่ในเมืองยักษะก็ยอมจำนนและเมื่อถึงปีค.ศ. 1689 พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียก็ส่งทูตมาเจรจาสงบศึกกับทางราชวงศ์ชิงถึงกรุงเป่ย จิงโดยฝ่ายรัสเซียยินยอมรับข้อเสนอของจีนในการเจรจาเรื่องปัญหาพรมแดนของ ทั้งสองอาณาจักร
จักรพร รดิคังซียอมตกลงสงบศึกกับรัสเซียและส่งขุนนางจากราชสำนักไปยังเมืองเนอชินส์ (Nerchinsk) ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนของสองฝ่ายเพื่อร่วมกับตัวแทนของฝ่ายรัสเซียทำสนธิ สัญญากันอย่างเป็นทางการ โดยสนธิสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายกระทำร่วมกันนี้ถูกเรียกว่าสนธิสัญญาเนอชินส์ (Nerchinsk Treaty) (หรือ สนธิสัญญานีบุชในภาษาแมนจู) และนับแต่นั้นมาพรมแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนก็กลับคืนสู่ความสงบ สันติอีกครั้งหนึ่ง