อิสฟาฮาน ครึ่งหนึ่งของโลก และมากกว่านั้น

อิสฟาฮาน, อิหร่าน

ถ้าสมาชิก Travel MThai ได้ติดตามเรื่องการท่องเที่ยวแถบตะวันออกกลางและเปอร์เซีย อาจจะเคยได้ยินคำขวัญภาษาฟารซีที่กล่าวว่า “เอสฟาฮาน เนสเฟ จาฮัน”… “ อิสฟาฮาน คือ ครึ่งหนึ่งของโลก ” มันเป็นคำบรรยายที่มีเสน่ห์ที่เป็นลักษณะพิเศษที่ทำให้มองเห็นภาพความนับถือ ตัวเองอย่างเหลือล้นของชาวเปอร์เซีย ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจเลยที่ ชาวอิสฟาฮาน จะมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งกับเมืองของพวกเขา

ปัจจุบัน อิสฟาฮาน เป็นเมือง ใหญ่อันดับที่สามของอิหร่าน มีประชากรมากกว่าสองล้านคน แก่นแท้ของที่นี่ คือ เพชรเลอค่าของศิลปะอิสลาม สถาปัตยกรรม การวางแผน และเนื้อหาของวัฒนธรรมเปอร์เซีย ที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกโลก กระเบื้องสีน้ำเงินเทอร์คอยส์ที่สวยงามจากมรดกของราชวงศ์เซลจุค และซาฟาวิด มาจนถึงสะพานสง่างามข้ามแม่น้ำซายันเดห์ ไปยัง จัตุรัสอิมาม (Imam Square) อันตระการตา อาจทำให้นักท่องเที่ยวหลงรักอิสฟาฮาน และตกเป็นทาสความงามของเมืองนี้ได้อย่างง่ายดาย

แม่น้ำซายันเดห์ รูด ที่ทอดผ่านเมือง อิสฟาฮาน ถูกประดับประดาด้วยสะพานหลายแห่ง ที่เก่าแก่ที่สุด คือ สะพานชาห์เรสตาน (Shahrestan) จากศตวรรษที่ 12 ที่ทอดตัวไปทางตะวันออก เราได้เห็นสะพาน ซี-โอ-เซห์ โพล (Si-o-Seh Pol) หรือสะพาน 33 ซุ้มประตู สะพานชูบิ (Chubi) และสะพานคาจู (Khaju) สะพานเหล่านี้น่าจะมองเห็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะแสงไฟฉายให้เห็นอิฐและซุ้มประตูที่เป็นระเบียบได้อย่างน่าชม ข้างบนและเบื้องล่างของสะพานในสวนสาธารณะข้างทาง ชาวอิสฟาฮาน เป็นกลุ่มๆ กำลังมีความสุขกับการปิกนิก หรือเดินเล่นท่ามกลางอากาศยามเย็นที่สดชื่นของฤดูใบไม้ร่วง

สถาปัตยกรรมของ อิสฟาฮาน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่น่าตื่นตา ตื่นใจ และ มัสยิด ที่มีอยู่มากมายรอให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หนึ่งในมัสยิดที่สวยที่สุดในโลก มัสญิดอิมาม มั่งคั่งไปด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาสีน้ำเงินหลากหลายและสัดส่วนที่งด งามอย่างน่าทึ่ง บางคนอาจใช้เวลาอยู่ที่มัสยิดหลังนี้ได้เป็นชั่วโมงๆ เพื่ออ่านตัวอักษรที่ประดับประดา และดื่มด่ำกับกระเบื้องเคลือบดินเผาเหล่านี้ จากรูปทรงเรขาคณิตไปจนถึงลักษณะแบบอาหรับที่อยู่ในพื้นผิวสีน้ำเงินของท้อง ฟ้าที่ร่มเย็นเหล่านี้ ขีดคั่นเล็กน้อยด้วยสีเหลือจากกระเบื้อง เมื่อผ่านประตูทางเข้าเข้าไปแล้ว คุณจะพบว่าบริเวณมัสยิดทั้งหมดหันไปทางขวา เพราะตามปกติแล้วทิศทางของมัสยิดนั้นหันไปทางมักกะฮ์ หรือเมกกะ ประตูใหญ่ด้านหน้าที่สง่างามด้วยหินย้อยนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1611 และใช้เวลาอีก 18 ปี ก่อนที่ส่วนอื่นทั้งหมดของมัสยิดจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์

ผ่านไปทางด้านใต้ เราเข้าไปยังห้องโถงหลัก เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ที่มีเพดานสองชั้นบนโดม โดยเพดานด้านในวัดตามแนวเฉียงได้ 36.3 เมตร และหลังคาด้านนอกสูงถึง 51 เมตรลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของช่องว่างนี้ คือ เสียงสะท้อน มัคคุเทศก์ได้สาธิตให้ดูด้วยการเคาะหินสีน้ำที่ตั้งอยู่ตรงกลางห้อง เรานับเสียงสะท้อนได้ประมาณ 12 ครั้ง แต่ปรากฏว่าสามารถวัดได้มากกว่านั้นด้วยเครื่องมือที่ถูกต้อง (หนังสือแนะนำบอกว่า 49 ครั้ง)

มิฮ์รอบ หรือ ชุมทิศ ที่เว้าเข้าไปมีหน้าต่างเล็กๆ ลึกลับข้างบน ตอนนี้ถูกปิดไว้ เหตุผลคือ ด้วยจัตุรัสที่มีมุมแตกต่างจากมัสยิด จึงมีความกังวลว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อนของทิศกิบลัต (คือ ชุมทิศ ที่ชาวมุสลิมหันหน้าไปยามนมาซและขอดุอาอ์ นั่นคือ กะอฺบะหฺ ในนครเมกกะ ซาอุดิอาระเบีย) ที่ถูกต้อง สถาปนิกฝันว่า เปิดหน้าต่างข้างบนมิฮ์รอบแล้วจะเห็นกิบลัตได้

ตกเย็นนักท่องเที่ยวสามารถลองเข้าพักเข้าพักที่ โรงแรมอับบาซี ที่มีประวัติศาสตร์ว่า กองคาราวานได้สร้างมันขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 18 ระหว่างสมัยการปกครองของชาห์ สุลต่าน ฮุซเซน (ค.ศ.1694-1723)

ด้วยที่ตั้งใจกลางเมือง อิสฟาฮาน เคียงข้างกับ เชฮาร์ บัค (Chehar Bagh) อัญมณีทางสถาปัตยกรรม และความแตกต่างของโรงแรมแห่งนี้ เป็นจุดหมายปลายทางของตัวมันเอง ด้วยสิ่งที่พึงพอใจของโรงแรมระดับโลก รวมทั้ง พิพิธภัณฑ์อัลกุรอาน ตรงกลางคือ ลานที่เต็มไปด้วยดอกไม้ ต้นพลับและต้นควินซ์ และสระน้ำกับน้ำพุ นั่งพักในโอเอซิสแห่งนี้ มองดูโดมสีน้ำเงินเทอร์คอยส์ของ มัสญิดเมเดอร์-อี ชา (Madar-e Shah) และฟังเสียงน้ำพุ อากาศเย็นยามค่ำคืนของฤดูใบไม้ร่วงไม่ได้ขัดขวางนักท่องเที่ยว ทั้งชาวอิหร่านและชาวต่างชาติ จากการทานอาหารค่ำกลางแจ้งในลานแห่งนี้ และค่ำวันหนึ่งเราทานอาหารค่ำน่าจดจำด้วย “อาช”(Aash) ซุปโบราณที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ภายใต้ดวงดาว และร้านค้าทุกประเภทอยู่ภายในบริเวณใกล้ๆ กับโรงแรม ตั้งแต่ศิลปินเล็กๆ ไปจนถึงร้านหนังสือ เสื้อผ้า รองเท้า หรือไอศกรีมโบราณ

จัตุรัสอิมาม จัตุรัสเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลก (รองจากเทียนอันเหมินในจีน) แห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเรียกว่า นักชี จาฮาน หรือ “แผนที่โลก” และต่อมาชื่อ จัตุรัสชาห์ จัตุรัสรูปทรงสี่เปลี่ยมที่งดงามแห่งนี้ หรือมัยดาน เป็นที่เดินสวนสนามให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ได้ชมจากระเบียง พระราชวังอาลี กอปู (Ali Qapu) ปัจจุบันนี้ถูกปรับเป็นสวนหย่อมที่มีการติดตั้งสระน้ำและน้ำพุมากมายในภาย หลัง โดยมี ปาห์เลวี เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของหลายครอบครัว ซึ่งบางคนอาจนั่งรถม้าที่รอผู้มาอุดหนุน เพื่อชื่นชมบรรยากาศที่มีกลิ่นของม้า

ทิวทัศน์จากระเบียงของ พระราชวังอาลี กอปู แห่ง ศตวรรษที่ 16 แห่งนี้งดงามอลังการ ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาห์ อับบาสที่ 1 คิดอะไรในใจเมื่อครั้งที่เขาสร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้น ด้วยการตั้งชื่อของอิมามอาลี ผู้เป็นวีรบุรุษของกษัตริย์องค์นี้ ตำหนักหลวงแห่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็นประตูถาวรของจัตุรัส เมื่อมองข้ามไปยัง จัตรัสอิมาม ที่กว้างใหญ่ในวันที่สดใสอบอุ่น เราสามารถเกิดภาพขึ้นในใจ ถึงการเดินสวนสนามที่น่าตื่นเต้นจนฝุ่นตลบที่เกิด ขึ้นในมัยดาน

นักท่องเที่ยวที่เดินทางไป อิหร่าน ควรหาจังหวะที่จะรวม อิสฟาฮาน อยู่ในกำหนดการเดินทางของตนเองไว้ด้วย และต้องแน่ใจว่าจะได้ไปที่ มัสยิดจุมมาห์ และ บาซาร์-อี บอซอร์ก หลังจากการเดินทางในครั้งนี้ ต้องเห็นด้วยกับคำกล่าวอ้างถึงความสำคัญของเมืองที่ว่า อิสฟาฮาน เป็น ครึ่งหนึ่งของโลกใบนี้ นั้นเป็นการยืนยันให้แก่ตัวเองของประชาชนที่นี่ที่ภาคภูมิใจชาตินิยม และนักท่องเที่ยวเองก็ความรู้สึกเช่นนั้นเหมือนกัน ทุกสิ่งทุกอย่างจากสถาปัตยกรรมที่น่าทึ่ง ตั้งแต่รายละเอียดปลีกย่อยที่สุด ยังคงสมบูรณ์จนปลุกความรู้สึกแห่งความภูมิฐานที่วิญญาณของมนุษย์จะถวิลหา..

 
View Larger Map

เมือง อิสฟาฮาน ประเทศอิหร่าน

ข้อมูลและภาพ : emel.com / publicthaionline.com / worldfortravel.com / iranreview.org
เรียบเรียงโดย Travel MThai


ที่มา: http://travel.mthai.com/world-travel/63780.html
Credit: http://board.postjung.com/730456.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...