สามมหาศาสตราวุธแห่งสมเด็จพระนเรศวร

สมเด็จพระนเรศวร มหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ปวงชนชาวไทยรู้จักกันมากที่สุด เรื่องราวการรบเพื่อสถาปนาความมั่นคงและเอกราชของอาณาจักรศรีอโยธยาได้ถูก บันทึกและเล่าขานสืบมาจนกลายเป็นตำนานที่คนรุ่นหลังไม่เคยลืม และไม่เฉพาะแต่วีรกรรมของพระองค์และเหล่าขุนศึกเท่านั้นที่ได้ถูกบันทึกไว้ ในหน้าประวัติศาสตร์ หากยังรวมถึงเรื่องราวของศาสตราวุธคู่พระทัยทั้งสามของพระองค์ด้วย

 

พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง

เรื่อง ราวของมหาศาสตราวุธชิ้นนี้ เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2127 อันเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพของอโยธยาจากกรุงหงสาวดี ในครั้งนั้น หลังจากพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรได้ประกาศอิสรภาพและกวาดต้อนราษฏรไทยมอญกลับไปยังกรุงอโยธยา พระองค์ จึงจัดทัพให้ พระสุรกรรมา แม่ทัพคนสำคัญคุมกองหน้า ส่วนพระมหาอุปราชาเองทรงเป็นกองหลวงยกติดตามกองทัพอโยธยามา กองหน้าของหงสาวดีตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง

ในขณะ ที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายได้ยิงปืนต่อสู้กันที่ริมแม่น้ำ ทว่าแม่สะโตงนั้นกว้างนัก จึงไม่มีกระสุนของฝ่ายใดทำอันตรายอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในเวลานั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้พระแสงปืนคาบชุดยาวเก้าคืบ ยิง ถูกพระสุรกรรมาแม่ทัพหน้าหงสาวดีตายบนคอช้าง กองทัพมอญพม่า เห็นแม่ทัพของตนตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบความก็เกิดคร้ามเกรง จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี และพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ ได้นามปรากฏต่อมาว่า “พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง”

พระแสงดาบคาบค่าย


สำหรับ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องศาสตราวุธชิ้นนี้ เกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2129 โดยในปีดังกล่าว พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ประชุมกองทัพจำนวน 250,000 คน ยกทัพมาตีกรุงศรีอโยธยาเพื่อแก้มือที่ทัพของพญาพสิมและทัพของพระเจ้า เชียงใหม่เคยพ่ายแพ้ไปเมื่อครั้งก่อน ๆ

ในเวลา ที่ทัพหงสาวดียกมาตีพระนครนั้น เป็นช่วงที่ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชรยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่ กำลังเกี่ยวข้าวยังทุ่งชายเคือง ครั้นกองทัพหน้าของหงสาวดีที่พระมหาอุปราชคุมพลยกมาถึง ก็ ให้ทัพม้าเข้าตีค่ายเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะอโยธยาไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึกเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นพระองค์และสมเด็จพระเอกาทศรถจึงเสด็จยกพลไปตีทัพพระมหาอุปราชาเพื่อ ชิงค่ายกลับคืน ซึ่งผลปรากฏว่าทรง ยึดค่ายคืนมาได้ จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร ทว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชา พระบิดาของพระองค์ได้ทรงขอชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชรเอาไว้

ในศึก หงสาวดีครั้งนี้ ทัพพม่าหมายมั่นจะตีกรุงศรีอโยุธยาให้ได้ และได้ตั้งค่ายล้อมพระนครเป็นหลายแห่ง ทว่าฝ่ายอโยธยานอกจากจะตั้งมั่นรักษาพระนครไว้ได้อย่างเข้มแข็งแข็งแล้ว สมเด็จพระนเรศวรยังเสด็จออกปล้นค่ายพม่าเป็นหลายครั้ง และมีครั้งหนึ่งที่ทรงตีค่ายหน้า ของข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระนเรศวรจึงรุกไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี โดยทรงเสด็จลงจากม้าแล้วคาบพระแสงดาบนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ได้ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาจนได้รับบาดเจ็บ จึงทรงเสด็จกลับพระนคร และจากเหตุการณ์ในครั้งนี้เอง พระแสงดาบนั้นจึงมีนามว่า “พระแสงดาบคาบค่าย”

ซึ่ง จากความกล้าหาญของพระองค์ในครั้งนี้ ทำให้พระเจ้าหงสาวดีรับสั่งว่า หากพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ให้จงได้ ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายสักเพียงใดเท่าตามา จากนั้นจึงทรงวางแผนให้ ทหารเอก นามว่า ลักไวทำมู นำทหารฝีมือดีจำนวน 10,000 ไป ดักซุ่มรอไว้ ครั้นเมื่อพระนเรศวรทรงออกมาปล้นค่ายหลวงอีก ลักไวทำมูจึงส่งกำลังส่วนน้อยเข้าล่อให้พระองค์นำกองหน้าไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ลักไวทำมูซุ่มทัพใหญ่รออยู่ จากนั้นจึงนำไพร่พลเข้ามาล้อมจับพระองค์ ทว่าสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้ พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตาย จากนั้นได้ทรงต่อสู้กับข้าศึกที่รุมล้อมอยู่ เป็นเวลานานร่วมชั่วโมง จนทัพหลวงของอโยธยาตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ ต่อมาหลังจากล้อมพระนครอโยธยาเป็นเลาหลายเดือนกองทัพหงสาวดีก็บอบช้ำจากการสู้รบทั้งเสบียงเริ่มขาดแคลนจนสุดท้ายต้องถอยทัพกลับไป

พระแสงของ้าว เจ้าพระยาแสนพลพ่าย


หลังจาก สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ได้ไม่ถึงปี ครั้นถึง ปี พ.ศ. 2135 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน ยกมาตีกรุงศรีอโยธยาอีกครั้งเพื่อแก้มือที่พ่ายศึกไปเมื่อครั้งก่อน ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรนั้น เมื่อทรงทราบข่าวศึกแล้ว จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทองและตั้งค่ายหลวงที่บริเวณหนองสาหร่าย

เช้า ของวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเครื่องพิชัยยุทธ โดยสมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร  ใน วันนั้นทัพหงสาและอโยธยาเข้าปะทะกันจนเกิดโกลาหล  ในระหว่างการรบ ช้างทรงทั้งสองที่กำลังตกน้ำมันได้วิ่งเตลิดจนเข้าไปกลางทัพหงสาวดี โดยมีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงคบาท (ผู้รักษาเท้าช้างทั้งสี่) เท่านั้นที่ติดตามไปทัน

สมเด็จ พระนเรศวรได้ทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่า แม่ทัพหงสาวดี จึงทราบว่าช้างทรงของพระองค์ได้ถลำเข้ามาจนตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของพระนเรศวร จึง ทรงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามพระมหาอุปราชาด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า “เจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว”

เมื่อพระมหาอุปราชา ทรงได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพจนเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด โดยพระมาลานั้นได้ชื่อในเวลาต่อมา พระมาลาเบี่ยง

จากนั้นเจ้าพระยาไชยา นุภาพได้รวมกำลังดันพลายพัทธกอจนเสียหลักล่าถอยและได้งัดพลายพัทธกอจนสองขา หน้ายกขึ้น สมเด็จพระนเรศวรก็ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา ขาด สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโร พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชาตายคาคอช้างเช่นกัน

ฝ่าย เหล่าทหารหงสาวดีเห็นดังนั้น จึงใช้ปืนระดมยิงใส่ ทำให้นายมหานุภาพ ควาญช้างสมเด็จพระนเรศวรและหมื่นภักดีศวร กลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถต้องกระสุนสิ้นชีวิต ส่วนสมเด็จพระนเรศวรและพระเอากาทศรถนั้นทรงแคล้วคลาดปลอดภัย จนกระทั่งทัพหลวงฝ่ายอโยธยาตามมาช่วยทันและไล่ฆ่าฟันทัพหงสาวดีจนแตกพ่าย ยับเยิน จากนั้นจึงรับทั้งสอง พระองค์กลับพระนคร ส่วนหงสาวดีก็ถอยทัพกลับไป โดยนับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะ เวลาอีกยาวนาน

และพระแสงของ้าวที่ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ทำยุทธหัตถีในครั้งนี้ ก็ได้รับชื่อในเวลาต่อมาว่า “พระแสงของ้าว เจ้าพระยาแสนพลพ่าย” ส่วน เจ้าพระยาไชยานุภาพ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรนั้นได้เลื่อนยศเป็น เจ้าพระยาปราบหงสา

16 ธ.ค. 56 เวลา 10:27 11,618 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...