เมื่อมองโกลพิชิตยุโรป การพิชิตรัสเซีย

บรรดานักประวัติ ศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวกันว่า หากไม่นับจักรวรรดิอังกฤษในศตวรรษที่ 19 แล้ว จักรวรรดิมองโกลถือเป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดโดยครอบ คลุมดินแดนจากลุ่มน้ำดานูบ ในยุโรปตะวันออกไปจนจรดฝั่งทะเลเหลืองของจีน ปกคลุมอาณาเขตเกือบสี่สิบประเทศในปัจจุบัน เรื่องราวชัยชนะของพวกมองโกลมักถูกบันทึกไว้โดยชนชาติต่าง ๆ ที่เคยพ่ายศึกกับมองโกล และนับเป็นชัยชนะที่สร้างความน่าหวาดหวั่นต่อบรรดาอาณาจักรต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับมองโกลเป็นอันมาก และในยุคนี้เองที่ชาวยุโรปได้มีโอกาสพบการรุกรานจากชาวมองโกลเป็นครั้งแรก

หลังการสวรรคตของเจ งกีสข่าน จอมทัพผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล โอรสองค์ที่สามของพระองค์ นามว่า โอกาไต ผู้เป็นรัชทายาท ขึ้นดำรงตำแหน่ง กาข่าน (Khakan) หรือจอมข่าน

ในปี ค.ศ. 1230 กาข่านโอกาไตได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดนในเอเชียกลางหลังจากที่ดินแดน แห่งนี้เคยถูกเจงกีสข่านโจมตีอย่างยับเยินมาแล้ว กองทัพมองโกลเข้ายึดครองเขตเอเชียกลางและขยายดินแดนจนครอบคลุมถึงตุรกี ยูเครน อาร์เมเนีย และอาร์เซอไบจาน จากนั้นในเวลาเดียวกัน พระองค์ได้ส่งกองทัพมองโกลอีกสายหนึ่งเข้าโจมตีอาณาเขตที่เหลือของราชวงศ์จิ น ซึ่งเคยแตกพ่ายจากการโจมตีในสมัยของเจงกีสข่านและถอยลงไปตั้งมั่นที่เมืองไค ฟง กองทัพมองโกลโค่นราชวงศ์จินลงได้ในปี ค.ศ.1233  จากความสำเร็จในชัยชนะ ทำให้สภาคูรัลไต (ที่ประชุมใหญ่) ของจักรวรรดิมองโกล ลงความเห็นให้มีการขยายอาณาเขตเพิ่มขึ้น โดยส่งกองทัพโจมตีราชวงศ์ซ้องซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน พร้อมกับนั้นก็ ส่งกองทัพอีกสายหนึ่งเพื่อบุกเบิกดินแดนทางตะวันตก ซึ่งกองทัพสายนี้เองที่ได้สร้างตำนานการรบที่น่าหวาดกลัวที่สุดไว้ในหน้า ประวัติศาสตร์ยุโรป

ย้อนกลับไปในในสมัย ของเจงกีสข่าน หลังพิชิตจักรวรรดิคอเรซ ของชาวคิวา (Khiwa) แล้ว แม่ทัพเอกสองคนของเจงกีสข่าน คือ สุโบไต กับ เจอเป ได้นำกองทัพจำนวน 20,000 นาย เข้าไปสำรวจดินแดนรอบทะเลสาบแคสเปียน กองทัพมองโกลสามารถเอาชนะกองทัพของชนเผ่าต่าง ๆ ตามเส้นทางที่ผ่านได้ทุกกองทัพและรุกเข้าไปถึงแม่น้ำคัลคา (Kalka) ในรัสเซีย และในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1223 กองทัพมองโกลได้ทำลายล้างกองทัพจำนวน 80,000 คน ของพันธมิตรเจ้าชายรัสเซีย 11 พระองค์ที่ยกมารับมือพวกมองโกลที่ริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าชายหกพระองค์ถูกจับเป็นเชลย ในการศึกครั้งนั้นยังทำให้ชนเผ่าคิปชักและเผ่าเร่ร่อนอื่น ๆ อีกหลายเผ่ายอมอยู่ใต้อำนาจมองโกลอีกด้วย ความเหี้ยมหาญของชาวมองโกลได้สร้างความสะพรึงกลัวไปทั่ว มีบันทึกของพระรูปหนึ่งใน นอฟโกรอด เขียนไว้ว่า “อยู่ ๆ ก็มีชนเผ่าที่ไม่มีใครรู้จัก บุกเข้ามาโจมตีปล้นฆ่าผู้คนอย่างโหดเหี้ยมและจากไป” และนั่นเป็นครั้งแรกที่ชาวรัสเซียได้รู้จักกับกองทัพมองโกล

แม่ทัพสุโบไต

จนกระทั่งต่อมา ในปี ค.ศ. 1235 กองทัพมองโกลอันประกอบด้วยทหารม้าอาวุธเบาและอาวุธหนักราว 60,000 นาย รวมทั้งทหารช่างและทหารปืนใหญ่จากจีน ก็เคลื่อนทัพออกจากมองโกเลีย โดยมีตาร์ข่านสุโบไต อดีตขุนศึกคู่ใจเจงกีสข่านเป็นแม่ทัพร่วมกับบาตูข่าน นักประศาสตร์เชื่อว่า การศึกครั้งนี้ทำเพื่อขยายดินแดนและสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักรของบาตู ข่านที่รับมอบมาจากพระบิดาจูชิ โอรสองค์โตของเจงกีสข่าน เนื่องจากอาณาจักรของบาตูข่านมีพรมแดนที่ไม่แน่ชัด

เป้าหมายแรกของกองทัพ สายตะวันตก คือ วอลก้าบัลเกเรีย ในปี ค.ศ. 1236 กองทัพมองโกลภายใต้การนำของข่านบาตู และแม่ทัพสุโบไต ได้เคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำวอลก้าที่กลายเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว ก่อนจะเข้าล้อมเมืองหลวงของอาณาจักรบุลกา พวกมองโกลใช้เครื่องยิงหินทำลายกำแพงเมืองลงและบุกยึดเมืองได้สำเร็จ ก่อนจะปล้นฆ่าชาวเมืองอย่างทารุณและเผาเมืองจนราบเรียบ หลังจากนั้นก็ได้เคลื่อนทัพเข้ายึดเมืองบอลก้า (Bolghar), บิลา (Billar), เชาร์ (Suar), คูกาทอร์ (Cukataw) รวมทั้งเมืองอื่น ๆ ในวอลก้าบัลเกเรีย

หลังจากทำลายวอลก้า บัลเกเรียแล้ว กองทัพมองโกลก็เคลื่อนพลมาถึงเรียซาน คณะผู้ปกครองเรียซานได้ออกมาเจรจาขอให้ทางมองโกลละเว้นการโจมตี ทางมองโกลยื่นข้อเสนอให้ทางเรียซานส่งมอบหนึ่งในสิบของทุกสิ่งรวมทั้งเด็ก และผู้หญิง ทางเรียซานปฏิเสธ กองทัพมองโกลจึงเข้าโจมตีทันที หลังการระดมยิงด้วยเครื่องยิงหินและลูกระเบิด เรียซานก็แตก ทันทีที่เข้าเมืองได้ ทหารมองโกลเข้าไปปล้น ฆ่า ข่มขืน ชาวเมืองอย่างทารุณ

หลังจากนั้นกองทัพมอง โกลก็เคลื่อนพลเข้าสู่ดินแดนรัสเซีย ในเวลานั้นรัสเซียไม่ได้รวมเป็นอาณาจักร หากมีเมืองต่าง ๆ หลายเมืองแต่ละเมืองเป็นอิสระและปกครองโดยเจ้าชาย นอกจากนอฟโกรอดที่รอดพ้นการโจมตีของทัพมองโกลแล้ว  เมืองต่าง ๆ ในรัสเซีย เช่น กาซา, โวอี (Woe), โคเซลค์ (Kozelsk) และอีกหลายเมือง ล้วนถูกทหารมองโกลเข้าโจมตีและบุกยึดไว้ได้  ที่โคเซลค์ นั้น หลังจากต้านทานการโจมตีของทหารมองโกลนานถึงเจ็ดสัปดาห์ ทหารมองโกลก็เข้าเมืองได้  ชาวเมืองทั้งหมดถูกสังหารหมู่อย่างทารุณ  ต่อมาหลังจากเผามอสโกจนราบคาบ  ทัพมองโกลก็มุ่งหน้าเข้าโจมตีวลาดีมีร์ ซึ่งเป็นนครการค้าที่สำคัญของรัสเซียในตอนนั้น

เจ้าชายยูริ เจ้าผู้ครองนครถูกสังหารขณะเดินทางไปขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรของพระองค์ ชาวเมืองที่ปราศจากผู้นำไม่อาจต้านทานกองทัพข้าศึกไว้ได้นาน ทหารมองโกลจึงบุกเข้าเมืองได้สำเร็จและปล้นสะดม เผาบ้านเรือน เจ้าหญิงอากัฟยาพระชายาของเจ้าชายยูริ พร้อมทั้งพระโอรส พระธิดา และพระนัดดา ถูกทหารมองโกลเอาไฟสุมให้ออกจากที่ซ่อน แต่ทุกพระองค์ไม่ยอมออกมา จึงสำลักควันสิ้นพระชนม์

ท้ายที่สุดก็เหลือ เพียงนครเคียฟเท่านั้น ในเวลานั้น เคียฟเป็นนครใหญ่ที่แข็งแกร่งและได้ชื่อว่าเป็น “มารดาแห่งนครทั้งปวงของรัสเซีย“  อันที่จริงแล้ว ทัพมองโกลพยายามไม่ทำลายนครแห่งนี้  เพราะเห็นว่า เคียฟ เป็นนครที่รุ่งเรืองมากนครหนึ่งของยุโรปตะวันออกจึงตั้งใจจะเก็บไว้  ฝ่ายมองโกลได้เกลี้ยกล่อมให้ชาวเมืองยอมจำนน ในเวลานั้นเจ้าชายมิคาอิล เจ้าผู้ครองนครเคียฟก็ทรงรู้ดีว่า นครของพระองค์คงไม่อาจต้านทานแสนยานุภาพของมองโกลได้ ทว่าด้วยการชักจูงของบรรดาขุนนางของพระองค์ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยต่อต้าน ทัพมองโกล จนกระทั่งในที่สุดเมื่อทหารมองโกลยึดเมืองนี้ได้  ก็เหลือสิ่งก่อสร้างสำคัญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่รอดพ้นจากการ ทำลายล้างของทหารมองโกล นั่นก็คือ วิหารเซนต์โซเฟีย

วิหารเซนต์โซเฟีย

16 ธ.ค. 56 เวลา 10:22 2,364 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...