ส้วมสาธารณะแห่งยุคดึกดำบรรพ์

 

 

 

 

 

นักบรรพชีวินวิทยาค้นพบฟอสซิลอุจจาระขนาดใหญ่หลายพันก้อนที่ฝังอยู่รวมกันใต้ดินในอาร์เจนตินา

          นับเป็นการค้นพบ "ส้วมสาธารณะ" ที่เก่าแก่ที่สุดย้อนไปถึงยุคก่อนประวัติติศาสตร์ อายุถึง 240 ล้านปี ซึ่งเป็นสถานที่ที่สัตว์เลื้อยคลานกินพืชขนาดใหญ่ ใช้ขับถ่ายร่วมกัน

          การค้นพบนี้นอกจากจะทำให้เราทราบถึงอาหารการกินของสัตว์ในยุคดึกดำบรรพ์แล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของสัตว์พฤติกรรมในการขับถ่ายเป็นที่เป็นทางร่วมกันด้วย ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ยังพบในสัตว์ปัจจุบันเช่น ม้า ช้าง สมเสร็จ รวมถึงมนุษย์ด้วย

          การขับถ่ายอุจจาระรวมกันไว้ที่เดียวไม่เพียงทำให้ฝูงสัตว์สามารถประกาศอาณาเขตของตน แต่ยังมีข้อดีในเรื่องของการลดการแพร่ระบาดของปรสิตและเชื่อโรคต่างๆ ที่อยู่ในทางเดินอาหารไปยังตัวอื่นๆ

          ฟอสซิลอุจจาระมีรูปร่างหลากหลายบางก้อนผอมยาว บางก้อนเป็นทรงไข่ บ้างก้อนมีขนาดกว้างถึง 4 เซนติเมตร ถึงหนักหลายกิโลกรัม

          เจ้าขออุจจาระนี้คือ Dinodontosaurus หรือ  dicynodont สัตว์เลื้อยคลานกินพืช เมื่อโตเต็มที่ขนาดลำตัวยาวประมาณ 2.5 เมตร หนักมากกว่า 1 ตัน รูปร่างคล้ายแรดในปัจจุบัน มีชีวิตอยู่ในยุคไตรแอสสิกร่วมสมัยกับไดโนเสาร์

          ทีมวิจัยขุดพบส้วมสาธารณะนี้ถึง 8 หลุม กระจายกันอยู่ในบริเวณแหล่งขุดฟอสซิล Chañares Formation ในจังหวัด La Rioja ของอาร์เจนตินา คิดเป็นพื้นที่รวมประมาณ 900 ตารางเมตร แต่ละหลุมเต็มไปด้วยฟอสซิลอุจจาระหนาแน่ถึง 94 ก้อนต่อตารางเมตร

 

          ที่จริงฟอสซิลอุจจาระจากยุคดึกดำบรรพ์ไม่ใช่ของแปลกใหม่นัก ก่อนหน้านั้ก็มีการขุดพบอยู่บ้าง แต่ฟอสซิลอุจจาระที่รวมอยู่ด้วยกันมากขนาดนี้หาได้ยากยิ่ง เพราะอุจจาระย่อยสลายได้ง่ายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว โชคดีที่ลาวาจากภูเขาไฟช่วยเก็บรักษาอุจจาระเหล่านี้ไว้เป็นอย่างดีจึงสามารถเหลือรอดผ่านกาลเวลามาได้นับล้านปี

          การวิเคราะห์ด้วยเครื่อง CT แสดงให้เห็นองค์ประกอบในเนื้อฟอสซิลอุจาระที่กลายเป็นหิน มีทั้งไม้เนื้อแข็ง (a-b) ใบไม้ (c) รวมทั้งสปอร์ของพืชที่คล้ายกับมอสและเฟิร์น  (d-g) เผยให้เห็นพฤติกรรมการกินอาหารของ dicynodont และความหลายหลายของพืชในยุคนั้นๆ 

          "อุจจาระแต่ละก้อนเปรียบเสมือน ภาพถ่ายของระบบนิเวศน์ในยุคดึกดำบรรพ์" ผู้ค้นพบฟอสซิลอุจจาระนี้กล่าว

ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นชิ้นส่วนที่เข้ามาเติม ช่วยให้เราเห็นภาพประวัติศาสตร์อันยาวนานก่อนที่มนุษย์จะเกดขึ้นบนโลกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ที่มา: http://www.nature.com/srep/2013/131128/srep03348/full/srep03348.html 
http://www.vcharkarn.com/varticle/58399
Credit: http://board.postjung.com/729165.html
15 ธ.ค. 56 เวลา 22:22 2,087 1 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...