สงครามเพโลปอนเนเชียน

สงครามครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างสองนครรัฐมหาอำนาจของดินแดนกรีกโบราณ คือ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาตาร์ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว นครรัฐเอเธนส์ มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุด และถือว่าเป็นมหาอำนาจทางทะเล ในขณะที่นครรัฐสปาตาร์นั้นมีกองทัพบกที่เกรียงไกรยิ่งกว่านครรัฐใด ๆ เมื่อ ครั้งที่พระเจ้าเซอร์เซสของเปอร์เซียยกทัพเข้ารุกรานดินแดนกรีก เอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ อีกหลายนครได้รวมตัวกันเป็นสมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos)โดยมีเอเธนส์เป็นผู้นำเพื่อสู้ศึก ซึ่งหลังจากสงครามครั้งนั้นสิ้นสุดลงโดยเปอร์เซียต้องล่าถอยกลับไปแล้ว สมาพันธ์ดังกล่าวก็ยังดำรงอยู่ โดยสมาชิกต้องส่งเงินบำรุงสมาพันธ์ไปยังเอเธนส์ ซึ่งเอเธนส์จะมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการใช้จ่ายเงินดังกล่าว

เรือไทรีม (trireme) ของเอเธนส์

การได้เป็นผู้นำสมา พันธ์เดลอส ทำให้อำนาจของเอเธนส์ในดินแดนกรีกเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอเธนส์ประสบความสำเร็จในการค้าทางทะลจนเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่ง ในขณะเดียวกัน สปาตาร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสงครามเปอร์เซีย ก็จับตามองเอเธนส์อย่างไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้นครทั้งสองมีการแข่งขันกันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเอเธนส์เป็นนครที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยซึ่งให้เสรีภาพกับประชาชนมา กกว่าสปาตาร์ที่ปกครองแบบเผด็จการทหาร ซึ่งหลังจากสงครามเปอร์เซียสิ้นสุดลง เอเธนส์ได้เผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตยไปยังรัฐอื่น ๆ สร้างความไม่พอใจให้กับสปาตาร์และนครรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการอีกหลายนคร อีกทั้งความรุ่งเรืองของเอเธนส์ยังทำให้นครรัฐเหล่านี้เกิดความริษยาอีกด้วย

เพื่อคานอำนาจกับเอ เธนส์ ทางสปาตาร์จึงได้ตั้งสมาพันธ์เพโลปอนเนเชียน (Confederacy of Peloponnesian) ขึ้น โดยมีตนเองเป็นผู้นำ และด้วยเหตุนี้ สปาตาร์จึงกลายเป็นมหาอำนาจทางบก ส่วนเอเธนส์กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลและการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายก็ทวีความ รุนแรงมากยิ่งขึ้น

(นักรบสปาตาร์)

จุดแตก หักของทั้งสองฝ่ายเริ่มขึ้นจากการที่นครคอรินธ์ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์เพ โลปอนเนเชียนเริ่มสร้างฐานการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแข่งกับนครเอเธนส์ จน ต่อมาในปีที่ 431 ก่อน ค.ศ. คอรินธ์ก็เกิดข้อพิพาทกับนครคอร์ซิราซึ่งอยู่ในสมาพันธ์เดลอส เอเธนส์ในฐานะผู้นำของสมาพันธ์จึงเข้ามาช่วยคอร์ซิรา ขณะที่คอรินธ์ขอความช่วยเหลือไปยังสปาตาร์ จนในที่สุดก็ลุกลามเป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับนครรัฐอื่นๆในสมาพันธ์เพ โลปอนเนเชียนซึ่งมีสปาตาร์เป็นผู้นำและสงครามครั้งนี้ก็ถูกเรียกว่า สงครามเพโลปอนเนเชียน

ในช่วงสิบปีแรกของ สงครามคือ ปีที่ 431 – 421 ก่อน ค.ศ. กำลังรบสำคัญของเอเธนส์คือกองทัพเรือ ส่วนสปาตาร์คือกองทัพบก ซึ่งในช่วงต้นของสงครามทั้งสองฝ่ายมีกำลังสูสีกัน ทว่าต่อมาเกิดโรคระบาดในเอเธนส์ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนหลายพันคน รวมทั้ง เพริคลีส ผู้นำคนสำคัญของเอเธนส์ ซึ่งผู้ที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งคนใหม่ไม่มีความสามารถเทียบเท่า ทำให้ภายในเอเธนส์เกิดแตกแยกเป็นสองพรรค คือ พรรคประชาธิปไตยที่มี คลีออน เป็นผู้นำ กับ พรรคอนุรักษ์นิยมที่มี นิสิแอส เป็นผู้นำ

(เพริคลีส)

พรรคประชาธิปไตยได้ ชัยในการรบที่สแปคทีเรียและจับเชลยชาวสปาตาร์ได้สามร้อยคน ทว่าต่อมา รบแพ้ที่แอมฟิโปลิสจึงทำให้พวกอนุรักษ์นิยมเข้ายึดอำนาจภายใน จากนั้น นิสิแอสจึงได้เจรจาสงบศึกกับสปาร์ตา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสงบศึกกันแล้ว สองฝ่ายก็ยังคงรบกันเป็นระยะ และในปีที่ 419 ก่อน ค.ศ. เอเธนส์ก็ร่วมกับนครรัฐอื่นๆทำสงครามกับสปาร์ตาที่แมนดิเนียและในปีต่อมา ฝ่ายสปาร์ตาก็ได้รับชัยชนะ

ในช่วง เวลานี้ เอเธนส์มีผู้นำ ชื่อ อัลสิเบียดีส ซึ่งเป็นคนฉลาดแต่เห็นแก่ตัวและไม่รักษาสัจจะ เขาเชื่อว่า ตราบเท่าที่สงครามยังคงอยู่ ตัวเขาก็จะยังได้ประโยชน์ ดังนั้นเขาจึงพยายามทุกอย่างที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้น เช่น การขยายอำนาจเข้าสู่ซิซิลีเพื่อเตรียมการปราบปรามนครไซราคิวส์ ซึ่งหากทำสำเร็จ เขาก็จะมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นด้วย การ กระทำดังนี้ ทำให้สปาร์ตาไม่พอใจเป็นอย่างมากและก่อให้เกิดสงครามครั้งใหม่ กองทัพเรือเอเธนส์ถูกโจมตีอย่างหนักที่ไซราคิวส์ เหล่าทหารถูกไล่ต้อนขึ้นบกและถูกบังคับให้เผาเรือของตน พวกแม่ทัพถูกจับและถูกสังหารเกือบหมด

(สงครามที่ไซราคิวส์)

ในปี ที่ 414 ก่อน ค.ศ. หลังการพ่ายแพ้ที่ไซราคิวส์ เอเธนส์ได้ส่งกองทัพไปโจมตีลาโคเนีย ทว่าถูกแม่ทัพไลแซนเดอร์ของสปาร์ตาเอาชนะได้ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้อัลสิเบียดีสต้องหมดอำนาจทางการเมือง ต่อมาทัพ สปาร์ตาก็มีชัยชนะในการรบอีกครั้งที่เอกอสโปตามี โดยสามารถทำลายทั้งทัพบกและทัพเรือของเอเธนส์ ทั้งจับเชลยได้ถึง 3,000 คน ทำให้นครเอเธนส์ต้องยอมแพ้อย่างสิ้นเชิง ในปีที่ 404 ก่อน ค.ศ.

การพ่ายแพ้ในสงครามเพ โลปอนเนเชียน ส่งผลให้เอเธนส์ถูกลดอำนาจลง กลายเป็นนครรัฐชั้นสอง ภายใต้อำนาจของสปาร์ตาและได้รับอนุญาตให้มีเรือรบได้เพียง 12 ลำเท่านั้น ส่วนการปกครองก็เปลี่ยนเป็นคณาธิปไตยโดยยอมให้สปาร์ตามาตั้งป้อมค่ายได้และ หากมีใครขัดขวางก็จะถูกขับไล่ออกจากเมือง ซึ่งแม้ว่าในภายหลัง เอเธนส์จะขับไล่อำนาจของสปาร์ตาออกไปได้และกลับมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อีกครั้ง แต่เอเธนส์ก็ไม่อาจกลับมารุ่งเรืองได้อีกเลยและสปาร์ตาก็กลายเป็นผู้นำของ นครรัฐกรีกทั้งปวงโดยเด็ดขาด

อย่าง ไรก็ตาม การเป็นผู้นำของสปาร์ตาดำรงอยู่เพียงระยะสั้น ๆ โดยสปาร์ตาได้เข้าไปยึดอำนาจในนครธีบส์ แต่ถูกต่อต้านและในปีที่ 371 ก่อน ค.ศ. ธีบส์ก็เอาชนะกองทัพสปาร์ตาได้ที่เลอคตรา จากนั้นสปาร์ตายังต้องมาทำสงครามกับเปอร์เซียเพื่อช่วยเหลือนครกรีกในเอเชีย ไมเนอร์ซึ่งแม้จะเอาชนะทัพเปอร์เซียได้ แต่ก็ถูกกลอุบายของเปอร์เซียที่ใช้แผนสร้างความวุ่นวายภายใน จนทำให้สปาร์ตาต้องตกที่นั่งลำบากและจำยอมยกดินแดนกรีกในเอเชียไมเนอร์ให้ เปอร์เซียไปในปีที่ 387 ก่อน ค.ศ. เพื่อยุติศึก

ความพ่ายแพ้ดังกล่าว ทำให้สปาร์ตาเสื่อมอำนาจลง จนถึงปีที่ 362 ก่อน ค.ศ. สปาร์ตาได้ทำสงครามกับธีบส์อีกครั้งที่มันติเนและพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้สปาร์ตาสูญเสียอำนาจให้แก่ธีบส์ ทว่าธีบส์เองก็รักษาความเป็นผู้นำเอาไว้ได้ไม่นาน และสุดท้าย นครรัฐต่าง ๆ ของกรีกก็เข้าสู่ภาวะวุ่นวายและอ่อนแอลง จนถูกพวกมาสิโดเนียจากดินแดนทางเหนือเข้ามายึดครองในที่สุด

14 ธ.ค. 56 เวลา 06:05 3,235 1 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...