10 อันดับ สุดยอดนักรบในประวัติศาสตร์

อันดับ 10

 

 

Richard I (ลิชาร์ดใจสิงห์)

พระ เจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (8 กันยายน พ.ศ. 1700 – 6 เมษายน พ.ศ. 1742) ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษระหว่างปี พ.ศ. 1732 ถึง พ.ศ. 1742 มักจะถูกเรียกพระนามว่า ริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lionheart) เนื่องจากในสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นวีรบุรุษในหมู่ชาวชนบท และในวรรณกรรมก็มักจะกล่าวถึงพระองค์ในแง่นั้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงมีพระชนม์ชีพตรงกับต้นสมัยอาณาจักรเชียงแสน หรือก่อนสถาปนา อาณาจักรสุโขทัยประมาณ 100 ปี ริชาร์ดใจสิงห์เป็นโอรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายองค์ที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษดังนั้นจึงไม่เคยคิดเลยว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ทรงเป็นโอรสคนโปรดของพระมารดา คือพระนางเอเลเนอร์ แห่งอากีแตน ผู้มีเชื้อสายฝรั่งเศสและเป็นหนึ่งในสตรีผู้มั่งคั่งที่สุดในยุโรปสมัยยุค กลาง ริชาร์ดเป็นโอรสองค์เล็กร่วมพระมารดาเดียวกันกับมารี เดอ ชองปาญจ์ และ อเล็กซิส แห่งฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นพระอนุชาของวิลเลียม เค้าท์แห่งปัวติเยร์ เฮนรี ยุวกษัตริย์ และ มาทิลดา แห่งอังกฤษ เป็นพระเชษฐาของจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี เลโอนอรา แห่งอากิเตน โจอาน ปลองตานเนต์ และ จอห์น แห่งอังกฤษ แม้ว่าจะประสูติที่พระราชวังโบมอนต์ เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ไม่นานต่อมา พระองค์ได้ถือเอาฝรั่งเศสเป็นประเทศบ้านเกิด เมื่อพระมารดาและพระบิดาแยกทางกันอย่างเป็นทางการ พระองค์ได้อยู่ในการดูแลของพระมารดา และได้รับการแต่งตั้งจากพระนางให้เป็นดัชชีแห่งแคว้นอากิเตนในปีค.ศ. 1168 และแห่งแคว้น ปัวติเยร์ในปีค.ศ. 1172 อันเป็นรางวัลปลอบใจให้เนื่องจากเฮนรียุวกษัตริย์พระเชษฐาได้รับการแต่งตั้ง เป็นมกุฏราชกุมารในระยะเวลาพร้อมๆกัน ริชาร์ดและจอฟฟรีที่ 2 ดยุคแห่งบริททานี พระเชษฐาได้เรียนรู้ที่จะปกป้องมรดกของตนเองตั้งแต่วัยรุ่น พระองค์เป็นผู้มีการศึกษาดี สามารถแห่งบทกวีเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปรว็องซ์ พระองค์ยังทรงมีรูปร่างหน้าตาดี ผมสีทอง ตาสีฟ้า สูงประมาณหกฟุตสี่นิ้ว (193 เซนติเมตร) โดดเด่นในกิจกรรมทางการทหาร และความสามารถทางการเมือง และการทหารต้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญและเด็ดเดี่ยว และสามารถควบคุมบุคคลชั้นสูงที่ไม่มีผู้ปกครองได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่นเดียวกับโอรสอีกสองพระองค์ของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ริชาร์ดไม่ค่อยนับถือพระบิดา เท่าใดนัก อีกทั้งยังขาดวิสัยทัศน์ และความรับผิดชอบ ในปีค.ศ. 1170 เฮนรียุวกษัตริย์ ได้ขึ้นครองราชบังลังก์อังกฤษและทรงพระนามว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 3 นักประวัติศาสตร์จะเรียกพระองค์ว่า “เฮนรียุวกษัตริย์” เพื่อไม่ให้สับสนกับกษัตริย์องค์ต่อมาที่ เป็นหลานของพระองค์และทรงพระนามว่าเฮนรีเช่นกัน

 

อันดับ 9

 

 

Spartacus

สปา ร์ตาคุส (ประมาณ พ.ศ.423-473 หรือเท่า 120-70 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นชื่อของทาสชาวธเรส (Thrace) ที่ถูกขายให้เป็นนักต่อสู้กับสิงโต (แกลดิเอเตอร์) อยู่ในอาณาจักรโรมันโบราณ สปาร์ตาคุสเป็นผู้นำการลุกฮือของทาสที่เมืองคาร์ปัวน์ เมื่อ 73 ปีก่อนคริสตกาล และรวบรวมทาสชนชาติต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก ก่อการกบฏเอาชนะกองทัพโรมัน บุกขึ้นไปทางเหนือจนถึงดินแดนกอล ทางตอนเหนือของอิตาลี ต่อมากองทัพของพวกกบฏพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพโรมันซึ่งนำโดย มาร์คัส ลิสินัส คราสซุส ทาสที่ถูกจับได้ถูกนำไปตรึงบนไม้กางเขนเพื่อเป็นการประจาน ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง เรื่องราวของสปาร์ตาคุส ถูกนำมาสร้างเป็นบัลเลต์ ความยาว 3 องกฺ์ ประพันธ์ดนตรีโดย อะราม คาชาเตอร์ยัน แสดงครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 และนำ มาสร้างเป็นภาพยนตร์มหากาพย์ เมื่อ พ.ศ. 2503 กำกับโดย สแตนลีย์ คูบริก รับบทสปาร์ตาคุส โดย เคิร์ก ดักลาส

อันดับ 8

 

 

Saladin

ศอ ลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ หรือที่ชาวตะวันตกเรียกว่า ซาลาดิน มีชื่อภาษาอาหรับเต็มว่า ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบนุอัยยูบ บางครั้งก็ถูกเรียกว่า อัลมาลิก อัลนาศิร ศอลาฮุดดีน ยูซุฟ เกิดเมื่อ ค.ศ.1137 ในตำบลติกรีต (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1193 ที่เมืองดามัสคัส เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ปกครองมุสลิมผู้มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นสุลต่านมุสลิม ผู้ปกครองอียิปต์ ซีเรีย เยเมนและปาเลสไตน์และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อัยยูบีย์ ในสงครามต่อต้านการรุกรานของนักรบครูเสด ศอลาฮุดดี นประสบความสำเร็จในขั้นสุดท้ายด้วยการยึดเมืองเยรูซาเลมกลับคืนมาได้ในวัน ที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ซึ่งทำให้การยึดครองของพวกแฟรงค์เป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง ศอลาฮุดดีนเกิดในครอบครัวชาวเคิร์ด ในคืนที่เขาเกิด นัจญ์มุดดีน อัยยูบ พ่อ ของเขาได้รวมคนในครอบครัวเดินทางไปยังเมืองอาเล็ปโปเพื่อไปรับใช้อิมาดุดดีน ซางกี ผู้ปกครองชาวเติร์กที่มีอำนาจในซีเรียตอนเหนือ เขาเติบโตในเมืองบะอัลบักและดามัสคัส แต่ในตอนเริ่มแรกนั้นศอลาฮุดดีนให้ความสนใจในเรื่องของศาสนา มากกว่าการฝึกฝนทางทหาร เขาเริ่มต้นอาชีพอย่างเป็นทางการเมื่อได้เข้าไปเป็นเจ้าหน้าที่ของอะซัดดุด ดีน ชิรกูห์ ลุงของเขาซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของเจ้าชายนูรุดดีนลูกชายและทายาท ผู้สืบอำนาจต่อจากซางกี ศอลาฮุดดีนได้ ประสบการณ์ในการรบระหว่างการเดินทางออกศึกสามครั้งยังอียิปต์ภายใต้การนำของ ชิรกูห์เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกครูเสด เขาจึงมีนโยบายส่งเสริมให้มีการเติบโตและแพร่ขยายสถาบันต่าง ๆ ของมุสลิม เขาให้การอุปการะนักวิชาการและ นักเผยแผ่คำสอนอิสลาม ก่อตั้งวิทยาลัยและมัสญิดสำหรับคนเหล่านั้นและแนะนำให้บรรดานักวิชาการเขียน งานวิชาการออกมาโดยเฉพาะเรื่องการญิฮาด ฟื้นฟูขวัญกำลังใจและสร้างความเชื่อมั่นให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน ศอลาฮุดดีนประสบ ผลสำเร็จในการเปลี่ยนดุลอำนาจทางทหารให้เขาเป็นฝ่ายได้เปรียบ โดยการที่เขาสามารถรวบรวมและจัดระเบียบกองกำลังที่ไร้ระเบียบวินัยมากกว่า การที่จะใช้เทคนิคใหม่ ๆ ทางทหาร ในที่สุด เมื่อกำลังทหารของเขาพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับกอง ทัพครูเสด ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนก็สามารถทำลายกองทัพของพวกครูเสดได้ที่ฮัตตีนใกล้กับทะเลสาบไทเบ เรียในปาเลสไตน์ตอนเหนือ สงครามครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่พวกครูเสดอย่างหนัก จนกองทัพมุสลิมสามารถ เข้ายึดราชอาณาจักรเยรูซาเล็มได้เกือบทั้งหมด เมืองอัคเร, โตรอน, เบรุต, ไซดอน, นาซาเร็ธ, ซีซาเรีย นะบลุส, ญัฟฟาและอัสคาลอนได้ตกเป็นของมุสลิมภายในสามเดือน วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ศอลาฮุดดีนสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ พวกครูเสด เมื่อเมืองเยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองสำคัญต่อทั้งมุสลิมและคริสเตียนได้ยอมจำนน ต่อกองทัพของเขา หลังจากที่ตกอยู่ในมือของพวกแฟรงค์มาเป็นเวลา 88 ปี ชาวเมืองเยรูซาเลมได้รับการปฏิบัติจากกองทัพของศอลาฮุดดีนอย่างดีและมี อารยธรรม ผิดกับเมื่อตอนที่พวกแฟรงค์เข้ามายึดครองซึ่งทำให้ชาวเมืองต้องถูกสังหาร หมู่อย่างเหี้ยมโหดทารุณนับหมื่น ๆ คน หลังจากที่กรำศึกมาเป็นเวลานาน ในที่สุด ศอลาฮุดดีนก็มาถึงจุดสุดท้ายของชีวิต ในขณะที่ญาติพี่น้องของเขากำลังแย่ง ส่วนต่าง ๆ ของอาณาจักรกันอยู่นั้น เพื่อนของเขาก็พบว่า ผู้ปกครองที่เป็นนักรบอัจฉริยะและมีคุณธรรมในโลกมุสลิมผู้นี้ไม่ได้ทิ้งเงิน ทองไว้มากมายพอที่จะทำหลุมฝังศพให้สมศักดิ์ศรีได้ หลังจากนั้น ครอบครัวของศอลาฮุดดีนก็ยังปกครองอียิปต์ และแผ่นดินใกล้เคียงต่อไปอีกไม่นานและในที่สุดก็ถูกพวกมัมลูกเข้ามายึดอำนาจ ต่อใน ค.ศ. 1250

อันดับ 7

 

 

เจงกีส ข่าน

อันดับ ที่ 7 ได้แก่ เจงกีส ข่าน สมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน เจงกีส แปลว่า “เวิ้งสมุทร, มหาสมุทร” (ซึ่งเปรียบได้ว่า เจงกีส ข่าน มีความยิ่งใหญ่ ดั่งเวิ้งมหาสมุทรนั่นเอง) จักรพรรดินักรบชาวมองโกลผู้พิชิต ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกล เดิมมีพระ นามว่า เตมูจิน (Temüjin) ตามสถานที่เกิดริมฝั่งแม่น้ำโอนอน เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อพระชนมพรรษาเพียง 13 พรรษา และต้องดิ้นรนต่อสู้ขับเคี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ ที่เป็นอริอยู่หลายปี ปราบ “ไนมาน” เอามาเป็นเมืองขึ้น พิชิต “ตัน กัต” และยอมรับการจำนนของชาว “อุยกูร์เติร์ก” จักรวรรดิมองโกลประมาณ พ.ศ. 1800-1900 ในปี พ.ศ. 1749 เตมูจิน ได้ทรงเปลี่ยนพระนามมาเป็น เจงกีส ข่าน และจากปี พ.ศ. 1754 ด้วยการรบพุ่งหลายครั้ง สมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน สามารถยึดครองจีนตอนเหนือ จักรวรรดิคารา-จิไต (Kara-Chitai Empire) จักรวรรดิคาเรสม์ และดินแดนอื่นๆ อีกมากมาย นับถึงเวลาเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่านสวรรคต จักรวรรดิมองโกลได้แผ่ขยายตั้งแต่ทะเลดำไปจดมหาสมุทรแปซิฟิก โดยทั้งหมดเริ่มที่จีนตอนเหนือ หลังจากยึดปักกิ่งได้ สมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่านได้ส่งทูตไปยังเปอร์เซีย แต่ทางสุลต่านตัดหัวคนที่เขาส่งไป เจงกีส ข่านสั่งระดมพลไปบุกเปอร์เซีย เมืองทุกเมืองที่ต่อต้านจะถูกเผาทั้งเมือง หลังการยึดสมเด็จ พระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน ได้สั่งทหาร 10,000 คนบุกไปทางเหนือ โดยไม่ได้ถูกหยุดเลยจนถึงสุดขอบทะเลยังใกล้เคียงตะวันออกกลาง สมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน มีพระชนมชีพอยู่ตรงกับประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้น ครองราชย์และสถาปนากรุงสุโขทัย ปัจจุบัน พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการทหารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ของโลก หลังจากการจากไปของสมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน พระราชโอรสของพระองค์ได้นำทัพกลับไปที่ใกล้ตะวัน ออกกลาง แต่ในขณะที่จะเข้าเวียนนาข่านพระองค์ใหม่ก็สิ้นพระชนม์ ทำให้การปะทะกันไม่อาจเกิดขึ้น

อันดับ 6

 

 

Miyamoto Musashi

มิ ยะโมะโตะ มุซะชิ (ญี่ปุ่น: 宮本 武蔵 Miyamoto Musashi ?) เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2127 ที่เมืองฮะริมะ (Harima) เป็นซามูไร ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากคนหนึ่ง ว่ากันว่าเขาไม่เคยดวลแพ้ใครโดยการดวลที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการดวล กับ ซะซะกิ โคะจิโร และรวมถึงมีอยู่ครั้งหนึ่งมุซาชิเคยถูกลูกศิษย์ในสำนักของโยชิโอกะตามไล่ฆ่า เพราะมุซาชิได้สังหารเจ้าสำนักของโยชิโอกะตายถึง3คนและได้ฆ่าลูกศิษย์ของโย ชิโอกะที่ตามฆ่าไปถึง 70 กว่าคนภายในเวลาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน มิยะ โมะโตะ มุซะชิ เสียชีวิตในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2188 ในเมืองฮิโกะ (Higo) ด้วยวัย 61 ปี

อันดับ 5

 

 

Gaius Julius Caesar

จู เลียส ซีซาร์ (อังกฤษ: Julius Caesar) หรือ กายุส ยูลิอุส ไคซาร์ (ละติน: GAIVS IVLIVS CAESAR) เป็นรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เขาได้สถาปนาตนเองขึ้นปกครองกรุงโรม และได้ทำให้อาณาจักรโรมมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของชาวโลกมาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ จูเลียสได้สร้างชื่อซีซาร์อันยิ่งใหญ่นี้ขึ้น และเป็นต้นแบบของกษัตริย์โรมในสมัยต่อมาที่ใช้ชื่อซีซาร์นี้ถึงสิบสององค์ แม้คำว่า ชาห์ แห่งอิหร่าน ซาร์ แห่งรัสเซีย ไกเซอร์ แห่งเยอรมัน ล้วนแล้วแต่มีรากศัพท์มาจากคำว่าซีซาร์ทั้งสิ้น และ ได้สืบทอดคำเรียกเหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน

อันดับ 4

 

 

Hannibal Barca

ฮัน นิบาล บาร์กา (อังกฤษ: Hannibal Barca) (พ.ศ. 296-พ.ศ. 360) เป็นรัฐบุรษของชาวคาร์เทจ และเป็นแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในโลกยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยปราศจากความพ่ายแพ้เป็นเวลานานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์ และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่ แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมือง เหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของ ฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซา กุนโตในปี พ.ศ. 324 แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่ง ตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่ 2 ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจและสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอน เหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจากภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกา เหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจใน ยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่ 2 เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดย เมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ใน เลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่ง เมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส (ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่ เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของ โรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลงด้วย การดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา แม้ว่าจะไม่อาจเอา ชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเลย

อันดับ 3

 

 

Sun Tzu

ซุน วู (จีนตัวเต็ม: 孫武; จีนตัวย่อ: 孙武; พินอิน: Sūn Wǔ; ซุนอู่) หรือ ซุนจื่อ (จีนตัวเต็ม: 孫子; จีนตัวย่อ: 孙子; พินอิน: Sūn Zǐ; เวด-ไจลส์: Sun Tzu, แปลว่า “ปราชญ์แซ่ซุน”) เป็นผู้เขียนตำราพิชัยสงครามของซุนวู (ซุนจื่อปิงฝ่า – 孙子兵法) ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของประเทศจีน ปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง หลักการที่สำคัญเช่น รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

อันดับ 2

 

 

Leonidas I

เล โอไนดาสที่ 1 (อังกฤษ: Leonidas I) เป็นกษัตริย์ของชาวสปาร์ตัน ซึงนำกำลังทหารนักรบสปาร์ต้าจำนวนไม่มากนัก ไปต่อต้านกำลังทหารที่มีมากมายซึ่งมาจากจักรวรรดิเปอร์เซียที่ยกทัพมารุกราน นครรัฐกรีก

อันดับ 1

 

 

Alexander

เล็ก ซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิโดเนีย (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (อังกฤษ: Alexander III of Macedon หรือ Alexander the Great, กรีก: Μέγας Ἀλέξανδρος, Mégas Aléxandros) เป็น กษัตริย์กรีกจากแคว้นมาซิโดเนีย ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาซิโดเนีย เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้ง เดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก ฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สิ้นพระชนม์ในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลาย ศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่อง ลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าฟิลิปทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การ ปกครองของมาซิโดเนีย โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อฟิลิปสิ้นพระชนม์ อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยม ประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพ รุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบ คเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์ดาริอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด1 พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น “จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย” จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับ โดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม อเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ที่เมืองบาบิโลน ในปีที่ 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสิ้นพระชนม์ของอเล็กซานเดอร์ เกิด สงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาซิโดเนีย แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออก ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิ ไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่ กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานาย พลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการ เรียนการสอน2


 

13 ธ.ค. 56 เวลา 22:23 11,009 4 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...