ธนบัตรชำรุด...จะทำอย่างไรดี!??

หลักเกณฑ์และวิธีการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด

จริงอยู่ว่าเงินทองนั้นเป็นของนอกกายตายไปก็ไม่สามารถเอาติดตัวไปได้แต่จะมีสักกี่คนที่ปฏิเสธว่า...ชีวิตนี้อยู่ได้โดยไม่ต้องใช้เงินเลย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันจะทำอะไรก็ต้องใช้เงินทั้งนั้น เพราะเงินสามารถซื้อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เมื่อเงินถูกใช้ในทุกขณะของการดำเนินชีวิต มีการเปลี่ยนมือหลายครั้งหลายหนอาจทำให้สภาพของเงินเปลี่ยนแปลงไปได้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเงินในรูปของ “ธนบัตร” นั่นเอง

 

 

สภาพของธนบัตรที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น เช่น  เปรอะเปื้อน สีซีดจาง หรือเปื่อยขาดจนบางส่วนหลุดหายไป หรือในบางกรณีที่เก็บรักษาธนบัตรอย่างไม่เหมาะสมอาจถูกสัตว์หรือแมลง เช่น หนู ปลวก กัดแทะจนเนื้อธนบัตรเสียหายกลายเป็นธนบัตรชำรุดไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตามปกติ ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 18 กำหนดไว้ว่า ธนบัตรชำรุดไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และได้จำแนกลักษณะของธนบัตรชำรุดเป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้

 

 

1. ธนบัตรครึ่งฉบับ คือ ธนบัตรที่ถูกแยกตรงกลางหรือใกล้กับกลางเป็นสองส่วนตามยืนเท่านั้น

 

 

2. ธนบัตรต่อท่อนผิด คือ ธนบัตรที่มีส่วนของธนบัตรฉบับอื่นมาต่อเข้าเป็นฉบับเดียวกัน

 

 

3. ธนบัตรขาดวิ่น คือ ธนบัตรที่มีส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายไป

 

 

4.ธนบัตรลบเลือน คือ ธนบัตรที่มีเหตุทำให้อ่านข้อความหรือตัวเลขไม่ได้ความ

 

 

หลักเกณฑ์และวิธีการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดไว้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ.2501 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงกำหนดดังนี้

 

 

ผู้ใดประสงค์ขอแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุด ให้ทำเป็นคำร้องตามแบบ ยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเจ้าหน้าที่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมอบหมาย โดยแนบธนบัตรชำรุดไปพร้อมกับคำร้องด้วย และให้รับแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดตามข้อจำกัดและหลักเกณฑ์ดังนี้

 

 

- ธนบัตรครึ่งฉบับ ให้รับแลกเปลี่ยนแต่ละครึ่งฉบับเพียงครึ่งราคาของราคาเต็มของธนบัตรนั้น

 

 

- ธนบัตรต่อท่อนผิด ถ้าไม่เกินสองท่อน แต่ละท่อนเป็นธนบัตรแบบและชนิดราคาเดียวกัน ให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

 

 

- ธนบัตรขาดวิ่น ให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อเห็นได้ประจักษ์ว่าส่วนที่เหลืออยู่มีมากกว่าครึ่งฉบับให้รับแลกเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

 

 

- ธนบัตรลบเลือน ธนบัตรลบเลือนให้รับแลกเปลี่ยนเฉพาะเมื่อการลบเลือนนั้น ไม่ถึงทำให้ไม่รู้ได้ว่าเป็นธนบัตรแท้จริงโดยให้รับเปลี่ยนเต็มราคาของธนบัตรนั้น

 

 

อีกทั้งการแลกเปลี่ยนธนบัตรชำรุดนั้นเจ้าของธนบัตรดังกล่าวสามารถนำมาแลกได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น ดังนั้น หากสำรวจดูในกระเป๋าแล้วพบว่ามีธนบัตรชำรุดอยู่ ก็อย่าลืมนำไปแลกเพราะไม่อย่างนั้นธนบัตรในมือของท่านก็ไม่ต่างกับกระดาษแผ่นหนึ่งซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้นั่นเอง

 

 

 

 

 

 

นางสาวศรัณย์ภัทร เตจ๊ะ

สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/58267.html
10 ธ.ค. 56 เวลา 09:08 1,250 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...