ย้อนดู “บัตรประชาชน” รุ่นแรกที่มีใช้ในประเทศไทย
บัตรประจำตัวประชาชน รุ่นที่1: มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับเป็น 4 ตอน คล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุดมีทั้งหมด 8 หน้า แต่ละตอนกว้าง 4 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว ตัวบัตรใช้ได้ทั้ง 2 ด้าน ด้านหน้า(ปกหน้า) จะมีรูปครุฑและคำว่า “บัตรประจำตัวประชาชน” พร้อมเลขทะเบียนที่ออกบัตร ด้านหลัง (ปกหลัง) เป็นคำเตือนสำหรับผู้ถือบัตร ให้ระลึกถึงหน้าถึงหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน อาทิเช่นต้องพกบัตรติดตัวและและแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เสมอ ต้องขอเปลี่ยนบัตรหมดอายุต้องแจ้งของแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในบัตรเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล หรือที่อยู่ เป็นต้น
ในแต่ละหน้าต่อมาจะมีการบอกลำดับเลขไว้ ดังนี้
หน้าที่ 1 ระบุข้อความว่า เลขทะเบียนที่ออกบัตร วันที่ออกบัตรออกให้ ณ ที่อำเภอ จังหวัด พร้อมปิดรูปถ่ายของผู้ถือบัตรขนาด 2 นิ้วและมีลายมือผู้ถือบัตรและลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา
หน้าที่ 2 เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตร ได้แก่ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล วันเดือน ปีเกิด อายุ ตำหนิแผลเป็น รูปพรรณเชื้อชาติ สัญชาติชื่อบิดา มารดา ชื่อภริยา หรือสามี
หน้าที่ 3 เป็นข้อมูลทางทะเบียนราษฏร ได้แก้ ที่เกิด บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดประเทศที่อยู่บ้านเลขที่ ถนนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดอาชีพ และมีตราประจำตำแหน่งพนักงานเจ้าหน้าที่
หน้าที่ 4-6 มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการของผู้ถือบัตร ลักษณะพื้นบัตร เป็นสีฟ้าอมเขียว มีลายเทพพนมตลอดใบ ด้านหน้าและด้านหลัง ในแต่ละหน้าจะมีรูปแผนที่ประเทศไทย และรูปเรือสุพรรณหงส์กับวัดอรุณราชวรารามเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางรูปประเทศไทย
บัตรประจำตัวประชาชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีอายุการใช้ 10 ปี เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ต้องทำคำร้องขอเปลี่ยนบัตรโดยเสียค่าธรรมเนียมไม่เกิน 25 สตางค์ ส่วนบุคคลซึ่งจะต้องมีบัตรตามกฏหมาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ จนถึง 70 ปี บริบูรณ์และกำหนดให้ยื่นคำร้อง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นต้องมีบัตรตามพระราชบัญญัตินี้พราะราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนพุทธศักราช 2505 กฏหมายที่บังคับให้คนไทยทั่วประเทศต้องมีบัตร