เกียร์ออโต้ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี

 

 

 

 

 

ผู้ผลิตรถแทบทุกค่าย ต่างพากันใส่เกียร์อัตโนมัติไว้ให้เป็นทางเลือกของลูกค้า ที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น ทำให้การขับขี่มีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากเท้าซ้ายไม่ต้องคอยเหยียบครัชให้วุ่นวายอีกต่อไป  เรามาดูวิธีการขับขี่เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อเกียร์และกระเป๋าของท่านกันดีกว่าครับ

 



1)การขับรถเกียร์ออโต้โดยทั่วๆไป ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแบบนักแข่งรถ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบคันเร่งเบรค ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรค

2) สำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มขับรถ พยายามเบรคด้วยเท้าขวาเท่านั้น และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง(P)หรือ(N)ก็ตาม และเหยียบเบรคทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง( N ) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจครับ รถหยุดนิ่ง เหยียบเบรคก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ครับ

3) ถ้าท่านเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง (R) หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง (R) ไปเป็นตำแหน่งเดินหน้า (D) ควรให้รถหยุดสนิทให้เรียบร้อยก่อน หลายท่านขับแบบใจร้อนและผิดวิธี รถยังคงเคลื่อนที่อยู่ก็รีบเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น อย่าลืมว่า ค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในรถยนต์บางรุ่นมีราคาสูงมาก

4) ขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง (N)  เช่นเห็นไฟแดงข้างหน้าแต่ยังอีกไกล กลัวว่าจะไม่ประหยัดน้ำมัน ท่านจึงเข้าเกียร์ในตำแหน่ง (N) และปล่อยให้รถไหลไปจนถึงไฟแดง รถแทบทุกรุ่นในยุคปัจจุบันใช้ระบบหัวฉีดควบคุด้วยสมองกลที่ทันสมัย การจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ  ถ้าท่านยกเท้าออกจากคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดทันที เซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อจะรายงานกล่องสมองกลที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ให้หยุดทำการจ่ายน้ำมันทันที ไม่มีความจำเป็นที่ต้องปลดเกียร์ว่าง (N) แต่อย่างใด และยังเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียรืของท่านอีกด้วย เนื่องจากรถยนต์ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง(D) จะมีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา

แต่ปั้มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์ อยู่ในตำแหน่ง (N) เมื่อไม่มีแรงดันที่พอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ของท่านร้อน และเกิดการสึกหรอเสียหายตามมา และด้วยสาเหตุนี้เองเวลารถที่ใช้เกียร์ออโต้เสียและจำเป็นต้องลากไปอู่จึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง หรือถ้าหาน้ำมันเกียร์มาเติมไม่ได้ ควรยกให้ล้อที่ใช้ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้นถนนเนื่องจากระบบปั้มน้ำมัน เพาว์เวอร์ของระบบเกียร์อัตโนมัติหยุดทำงาน ไม่แนะนำให้ถอดเพลาสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลังเพระยุ่งยากและเสียเวลามากครับ ปัจจุบันนี้มีรถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออนสามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลัง สะดวกสบายและปลอดภัยต่อเกียร์อัตโนมัติและรถยนต์ราคาแพงของท่านครับ

5) การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังเนื่องจากตำแหน่ง 2 จะมีอัตตราทดเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องการทำให้ท่านเจ้าของรถใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิด มากๆเช่นทางขึ้นเนินที่ค่อนข้างชัน หรือต้องการการหน่วงความเร็วของรถเอาไว้เช่นในขณะที่ขับรถลงเนินเขา(ENGINE BRAKE) หรือวิ่งบนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชันมากๆ ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ท่านขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหาย และอาจลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาลมากระทำที่ล้อ ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ครับ

6) ไม่ควรขับลากเกียร์ โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลที่ควบคุมเกียร์จะทำการสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตาม ความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลา บางท่านรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองใน ขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพียงเพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่งแต่จะมีผลทำ ให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง

7) ไม่ขับแบบเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำเอง(คิกดาวน์)บ่อยๆ  การขับในตำแหน่ง (D)ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะทำการคำนวนค่าของแรงต่างๆและปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เกียร์ตามความเร็วของรถในขณะนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว การกดคันเร่งเพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำหรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ไม่ควรทำบ่อยครั้ง หรือทำเท่าที่จำเป็นในการเร่งแซงให้พ้นเท่านั้น ถ้าท่านทำบ่อยๆ ผ้าคลัทช์ของเกียร์จะทำงานหนักและสึกหรอเร็วมากขึ้นครับ

8) ควรมีสายพ่วงแบตตารี่ติดท้ายรถไว้ตลอดเวลา เนื่องจากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำแล้วกระตุ กสตารท์ให้ติดเครื่องยนต์ได้เหมือนรถยนต์เกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตารท์ ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเข็นด้วยแรงคนเป็นไปได้ยาก และยังเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย ควรตรวจสอบแบตตารี่ให้มีไฟพอเพียงต่อการสตารท์ทุกครั้งครับ

9) น้ำมันเกียร์อัตโนมัติหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถ ท่านให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางทีแนะนำ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติใดไม่ต้องการการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้ งานของรถตามที่มีหลายๆบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โฆษณาชวนเชื่อให้รถยนต์ของตนดูทน ทานและแข็งแรงตามความเป็นจริงจากสภาพการจราจร อุณภูมิ และสภาพการขับขี่ เกียร์อัตโนมัติทุกยี่ห้อยังต้องการการดูแลแปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะ ทางที่ใช้ครับ

10) ตำแหน่งในเกียร์อัตโมติ
P)PARKING-เป็นตำแหน่งเกียร์ที่ใช้จอดในลักษณะเป็นที่เป็นทางไม่จอดขวางทางรถคันอื่นแล้วใส่ตำแหน่งเกียร์นี้ไว้
หรือจอดในทางที่มีลักษณะลาดชัน และใช้ในตำแหน่งสตารท์เครื่องยนต์

R) REVERSE-เป็นตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง เหยียบเบรคทุกครั้งที่จะเข้าเกียร์ในตำแหน่งนี้  

N) NEUTRAL-เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการตัดกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งลงมาสู่เกียร์ และใช้เป็นตำแหน่งสตารท์เครื่องยนต์

D) DRIVE-เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้าและใช้ในการขับขี่ตามปกติ
โดยตำแหน่งเกียร์จะปรับเปลี่ยนเองตามคำสั่งของสมองกลที่ควบคุม
ยกเว้นรถยนต์บางรุ่นที่มีสวิทช์ปรับเปลี่ยนระบบเกียร์และผู้ใช้เปิดสวิทช์เพื่อใช้งานในการปรับตำแหน่งเกียร์ด้วยตัวเอง

2) เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้า แต่จะมีอยู่แค่ 1 และเกียร์ 2 อยู่ในตำแหน่งนี้
ใช้เพื่อขับขึ้นลงทางที่มีเนินสูงชัน ทางที่คดเคี้ยวไปมา ที่ไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้

1) LOW-เกียร์ในตำแหน่งนี้ มีเพียงเกียร์ 1 เท่านั้น ใช้สำหรับงานหนักที่ต้องการกำลัง หรือรถติดหล่ม หรือทางขึ้น ลงเขาที่ชันมาก

ขอให้สนุกกับการขับรถเกียร์อัตโนมัติทุกท่านครับ

ที่มา: http://men.mthai.com/car/car-tips/1605.html
Credit: http://women.postjung.com/726661.html
7 ธ.ค. 56 เวลา 18:19 1,423 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...